กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ

1.นางตอยยีบะห์ ลำเดาะ
2.นางอานีซะ บูงอแคะบอง
3.นางกามารีเยาะ เปาะเส็ง
4.นางฮามีดะ ดาละ
5.นางฮามีดะ ลือแบลูวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ และ พื้นที่รับผิดชอบของตำบลยะหา หมู่ที่ 4,5,7,8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์เป็นหนึ่งในบริการอนามัยแม่และเด็ก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอด องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภพอย่างน้อย 5 ครั้ง จากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และควรฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพื่อลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนและอัตราตายของมารดาและทารก การฝากครรภ์ช้ามีผลต่อสุขภาพแม่และเด็ก เนื่องจากการที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยง และการการดูแลตามมาตรฐานการฝากครรภ์ช้า จะส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ นอกจากนี้ในภาวะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อารมณ์ และ สังคม ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความไม่สุขสบายและมีความวิตกกังวลได้
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ เห็นความสำคัญของการที่ต้องจัดอบรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์โดยเร็ว เพื่อประเมินปัญหาและดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ดีมีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย รวมถึงให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธ์ให้เตรียมความพร้อมในการเป็นมารดาที่ดี สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาภายหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้มาฝากครรภ์เร็วที่สุด

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับตรวจครรภ์เร็วที่สุด

60.00 0.00
2 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์

60.00 0.00
3 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

60.00 0.00

1. เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้มาฝากครรภ์เร็วที่สุด
2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์
3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(1)วิธีดำเนินการ/รายละเอียดกิจกรรม 1.1) กิจกรรมค้นหาหญิงตั้งครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ไวก่อน 12 สัปดาห์ มีวิธีดำเนินการดังนี้ -รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในการฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ โดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในหมู่บ้าน
-เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการออกสำรวจค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ (พร้อมตรวจการตรวจตั้งครรภ์ด้วยชุดแผ่นทดสอบปัสสาวะ) เพื่อใช้ในการประเมินอายุครรภ์และได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์พร้อมให้คำแนะนำและทำใบนัดเพื่อไปรับสมุดสีชมพูและได้รับการตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอโดยเร็วที่สุด 1.2)จัดกิจกรรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่แก่หญิงตั้งครรภ์ โดยมีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้ - การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์/การเปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ - ด้านโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ - ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ - การเปลี่ยนแปลงระยะใกล้คลอด/อาการเจ็บครรภ์จริงเจ็บครรภ์เตือน - ความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 1.3)จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธ์ โดยมีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้ - การเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ - สัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการตั้งครรภ์ - ความสำคัญของการฝากครรภ์เร็ว - การวางแผนครอบครัว 1.4)กิจกรรมการเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง 5 โรค (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์ หัวใจและตกเลือดหลังคลอด)
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ หากพบว่ามีภาวะเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง ติดตาม ได้มีการเขียนใบส่งตัวแก่หญิงตั้งครรภ์เพื่อพบแพทย์ให้เร็วที่สุด - เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอสม. ออกเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและแจ้งหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงถึงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน ขออนุญาตดูรายละเอียดการฝากครรภ์จากสมุดบันทึกสุขภาพสีชมพู และหากพบความผิดปกติจากการเยี่ยมบ้านขอนำส่งตัวหญิงตั้งครรภ์พบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด - เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอสม. ออกเยี่ยมบ้านหญิงหลังคลอด เพื่อเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอดและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึง 2 ขวบ

(2)งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลยะหา จำนวน 23,800 บาทรายละเอียดดังนี้ 2.1) ค่าจัดกิจกรรมการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ - ค่าสื่อประชาสัมพันธ์แผ่นพับ จำนวน 200 ใบๆละ 5 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าวัสดุในการจัดอบรมเป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าชุดตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์ จำนวน 4 กล่องๆละ 450 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท 2.2) ค่าจัดกิจกรรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่แก่หญิงตั้งครรภ์ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 2.3) ค่าจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธ์ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์ จำนวน 40 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์ จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 2.4) ค่าวัสดุป้ายไวนิล ชื่อโครงการ จำนวน 1 ผืนๆละ 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท 2.5) ค่าวิทยากร 6 ชมๆ ละ 600 บาท * 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท รวมเงินทั้งสิ้น เป็นเงิน 23800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับตรวจครรภ์เร็วที่สุด
  2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์
  3. หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับตรวจครรภ์เร็วที่สุด
2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์
3. หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง


>