กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดโรคลดขยะนำขยะมาใช้ประโยชน์ ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

กลุ่มพลังมวลชนหมู่ที่ 4

1. นายดีสุวรรณศรี
2. นายพิทักษ์ รัตนะ
3. นายเวชโฉมอุภัย
4. นายอมร พรหมจันทร์
5. นางซ้อยศรีสุวรรณ์

หมู่ที่ 4 บ้านไอตีมุง ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ครัวเรือนมีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่

 

5.00
2 ครัวเรือนมีการกำจัดขยะอย่างถูกต้อง

 

5.00

บ้านหรือที่พักอาศัยถือเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นสถานที่ที่ประชาชนใช้ในการ อยู่อาศัย และทำกิจกรรมต่างๆ ของบุคคลในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตและสภาพของสังคมที่ เปลี่ยนแปลงไป การทำงานที่รีบเร่งแข่งกับเวลา ทำให้ประชาชนละเลยต่อสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว และ ไม่มีการจัดการดูแลที่พักอาศัยที่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องของการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานในครัวเรือน เช่น ความ สะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การปรุง-ประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ น้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดและเพียงพอ การจัดการมูลฝอย น้ำเสีย รวมทั้งสัตว์และแมลงพาหะ นำโรค หรือละเลยการสร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ก็อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหารที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ ไวรัสตับอักเสบ โรคไข้เลือดออก เป็นต้น โรคต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการจัดการด้านการสุขาภิบาลที่พักอาศัย การสุขาภิบาลสิ่งแวดแวดล้อม และการปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องและเหมาะสมการมีสุขภาพดี เป็นเป้าหมายสูงสุดของมวลมนุษยชาติซึ่งหากประเทศชาติใดประชาชนมีสุขภาพดี ย่อมส่งผลให้ประเทศนั้นมีความเจริญมั่นคง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจการปกครองเทคโนโลยีและความเป็นผู้นำของโลกการที่ประชาชนมีสุขภาพที่ดีจึงมีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในด้านต่างๆ ความเจ็บป่วยของประชาชนในปัจจุบันแบ่งออกเป็นป่วยด้วยโรคติดต่อ และป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาในพื้นที่บ้านไอตีมุง ประกอบด้วย โรคไข้เลือดออกโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุอุบัติภัย เป็นต้นโรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วยบุคคลเชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อมซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และ ของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิด ของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด ซึ่งจากปัญหาขยะดังกล่าว กลุ่มพลังมวลชนเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าซึ่งกิจกรรมที่สามารถมองเห็นได้เด่นชัดได้แก่การรณรงค์ให้คัดแยกขยะการเลือกและการวางแผนการจัดการขยะที่เหมาะสมการลดปริมาณขยะและการนำขยะรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่าถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาควบคู่กันไปด้วยอย่างไรก็ตามความสำเร็จของการคัดแยกขยะเพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่นี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของบุคคลที่มีผลพวงมาจากการให้การศึกษาอย่างถูกวิธีซึ่งกิจกรรมหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือและพร้อมใจกันฝึกฝนอย่างใส่ใจและเกิดประโยชน์โดยตรงและทันทีนั่นก็คือกิจกรรมขยะรีไซเคิล และเพื่อป้องกันไม่ให้ชาวบ้านไอตีมุงเกิดโรคจากขยะมูลฝอย จึงต้องมีการจัดการแหล่งขยะที่ถูกสุขลักษณะเพื่อการป้องกันโรค โดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนัก ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เกิดแนวที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและเข้าใจคุณค่าของสิ่งต่างๆ ว่าวัสดุบางประเภทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายครั้งหรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้

ปริมาณการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น

5.00 5.00
2 2. ได้แนวทางและรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของท้องถิ่นอย่างยั้งยืน

จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขั้น

10.00 7.00
3 3. การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจากภูมิปัญญาของบุคลากรหน่วยงานและองค์กรในท้องถิ่น

ส่วนราชการต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ให้ความสำคัญ

5.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมและฝึกปฏิบัติ การกำจัดขยะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมและฝึกปฏิบัติ การกำจัดขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะ การคัดแยกขยะ 2.ฝึกปฏิบัติการนำขยะนำกลับมาใช้ใหม่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10170.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ทำให้ประชาชนในพื้นที่สุขภาพดีขึ้น
๒. ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพจิตดี
๓. ลดความเสี่ยงจากโรคที่มียุงเป็นพาหะ
๔. ลดจำนวนขยะในชุมชน


>