กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดโรคลดขยะนำขยะมาใช้ประโยชน์ ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L2532-02-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มพลังมวลชนหมู่ที่ 4
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 10,170.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มพลังมวลชนหมู่ที่ 4
พี่เลี้ยงโครงการ บ้านไอตีมุง ม.4 ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส
พื้นที่ดำเนินการ บ้านไอตีมุง ม.4 ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ครัวเรือนมีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
5.00
2 ครัวเรือนมีการกำจัดขยะอย่างถูกต้อง
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านหรือที่พักอาศัยถือเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นสถานที่ที่ประชาชนใช้ในการ อยู่อาศัย และทำกิจกรรมต่างๆ ของบุคคลในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตและสภาพของสังคมที่ เปลี่ยนแปลงไป การทำงานที่รีบเร่งแข่งกับเวลา ทำให้ประชาชนละเลยต่อสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว และ ไม่มีการจัดการดูแลที่พักอาศัยที่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องของการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานในครัวเรือน เช่น ความ สะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การปรุง-ประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ น้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดและเพียงพอ การจัดการมูลฝอย น้ำเสีย รวมทั้งสัตว์และแมลงพาหะ นำโรค หรือละเลยการสร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ก็อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหารที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ ไวรัสตับอักเสบ โรคไข้เลือดออก เป็นต้น โรคต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการจัดการด้านการสุขาภิบาลที่พักอาศัย การสุขาภิบาลสิ่งแวดแวดล้อม และการปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องและเหมาะสมการมีสุขภาพดี เป็นเป้าหมายสูงสุดของมวลมนุษยชาติซึ่งหากประเทศชาติใดประชาชนมีสุขภาพดี ย่อมส่งผลให้ประเทศนั้นมีความเจริญมั่นคง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจการปกครองเทคโนโลยีและความเป็นผู้นำของโลกการที่ประชาชนมีสุขภาพที่ดีจึงมีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในด้านต่างๆ ความเจ็บป่วยของประชาชนในปัจจุบันแบ่งออกเป็นป่วยด้วยโรคติดต่อ และป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาในพื้นที่บ้านไอตีมุง ประกอบด้วย โรคไข้เลือดออกโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุอุบัติภัย เป็นต้นโรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วยบุคคลเชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อมซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และ ของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิด ของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด ซึ่งจากปัญหาขยะดังกล่าว กลุ่มพลังมวลชนเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าซึ่งกิจกรรมที่สามารถมองเห็นได้เด่นชัดได้แก่การรณรงค์ให้คัดแยกขยะการเลือกและการวางแผนการจัดการขยะที่เหมาะสมการลดปริมาณขยะและการนำขยะรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่าถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาควบคู่กันไปด้วยอย่างไรก็ตามความสำเร็จของการคัดแยกขยะเพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่นี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของบุคคลที่มีผลพวงมาจากการให้การศึกษาอย่างถูกวิธีซึ่งกิจกรรมหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือและพร้อมใจกันฝึกฝนอย่างใส่ใจและเกิดประโยชน์โดยตรงและทันทีนั่นก็คือกิจกรรมขยะรีไซเคิล และเพื่อป้องกันไม่ให้ชาวบ้านไอตีมุงเกิดโรคจากขยะมูลฝอย จึงต้องมีการจัดการแหล่งขยะที่ถูกสุขลักษณะเพื่อการป้องกันโรค โดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนัก ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เกิดแนวที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและเข้าใจคุณค่าของสิ่งต่างๆ ว่าวัสดุบางประเภทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายครั้งหรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้

ปริมาณการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น

5.00 5.00
2 2. ได้แนวทางและรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของท้องถิ่นอย่างยั้งยืน

จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขั้น

10.00 7.00
3 3. การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจากภูมิปัญญาของบุคลากรหน่วยงานและองค์กรในท้องถิ่น

ส่วนราชการต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ให้ความสำคัญ

5.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,170.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ส.ค. 64 อบรมและฝึกปฏิบัติ การกำจัดขยะ 0 10,170.00 -

1.เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 2.ปรึกษาหารือสมาชิกกลุ่มแม่บ้านและประชาชนในหมู่บ้าน 3.จัดทำแผนการดำเนินการและประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง 4.ดำเนินโครงการ 4.1 กิจกรรมที่ 1 -อบรมให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะ การคัดแยกขยะ             -ฝึกปฏิบัติการนำขยะมาใช้ประโยขน์ เช่น ไม้กวาด กล่องเก็บของ เป็นต้น 4.2 กิจกรรมที่ 2 -ออกณรงค์การลดจำนวนขยะ/เก็บคัดแยกขยะ/การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพื้นที่บริเวณสองข้างทาง 5.ดำเนินการเก็บขยะและดายหญ้าภายในหมู่บ้าน 6.ติดตาม ประเมินผล และรายงานการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทำให้ประชาชนในพื้นที่สุขภาพดีขึ้น ๒. ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพจิตดี ๓. ลดความเสี่ยงจากโรคที่มียุงเป็นพาหะ ๔. ลดจำนวนขยะในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 13:56 น.