กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ 3 อ.(อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) พิชิตโรคภัย ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

กลุ่มจิตอาสา สายธารทิพย์สู่ชุมชน

- นางพรทิพย์ พละสินธุ์ ประธานกลุ่มจิตอาสาสายธารทิพย์สู่ชุมชน
- นางจุฑามาศ สุวรรณเจริญน
- นางสาวณิชชานันท์ นวลแก้ว
- นางอุดมรัตน์ หมุยจินดา

ในเขตเทศบาลเมืองคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

25.26
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

36.04
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

55.20
4 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

 

30.40
5 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

34.22

ปัจจัยหลายอย่างในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เวลา การทำงาน สังคม การใช้ชีวิตประจำวันที่อยู่กับเทคโนโลยีที่ทันสมัยในโลกปัจจุบันทำให้คนเรามีสุขภาพที่แย่ลง สวนทางกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว คนส่วนใหญ่ให้เวลากับการดูทีวี เล่นไลน์ เล่นเกมส์ ฯลฯ ไม่ดูแลตัวเองเท่าที่ควร จนทำให้เกิดโรคต่างๆมากมาย เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคความดันโลหิตสูง นิ้วล็อค ปวดเมื่อย นอนไม่หลับ ไมเกรน เครียด ฯลฯ ทั้งนี้เราแบ่งเวลาให้กับร่างกายของเราไม่ถูกต้อง ถึงเวลาทานอาหารไม่ได้ทาน ถึงเวลาผักผ่อนไม่ได้ผักผ่อน ไม่มีเวลาออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ จนเกิดอาการป่วยต่างๆ ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ เกิดภาวะเครียด ฯลฯ ดังนั้น กลุ่มจิตอาสา สายธารทิพย์สู่ชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันดูแลสุขภาพซึ่งกันและกัน รวมถึงคนในชุมชนรวมกลุ่มที่จะรวมตัวกันดูแลสุขภาพให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น จึงได้จัดทำ “โครงการ 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) พิชิตโรคภัย ประจำปี 2564” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้มีสุขภาพที่ดีด้วยการสร้างเสริมไม่ใช่รอซ่อม ทาง กลุ่มจิตอาสา สายธารทิพย์สู่ชุมชน จึงทำโครงการของบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

55.20 70.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลงลด

25.26 10.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

36.04 15.00
4 เพื่อลด จำนวนผู้สูงอายุที่ติดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม  ลดลง

30.40 15.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

34.22 65.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน เจ้าหน้าที่ รพสต เจ้าหน้าที่เทศบาล อสม 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รพ.สต.คลองแห แกนนำสุขภาพ อสม. และผู้แทนชุมชน กรรมการกลุ่มจิตอาสา สายธารทิพย์สู้ชุมชน เพื่อเตรียมการอบรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รพ.สต.คลองแห แกนนำสุขภาพ อสม. และผู้แทนชุมชน กรรมการกลุ่มจิตอาสา สายธารทิพย์สู้ชุมชน เพื่อเตรียมการอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ประชุมเตรีมงานวางแผนทำกิจกรรม โดยมีเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รพ.สต.คลองแห แกนนำสุขภาพ อสม. และผู้แทนชุมชน กรรมการกลุ่มจิตอาสา สายธารทิพย์สู้ชุมชน เพื่อเตรียมการอบรม
2 แบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบในการทำกิจกรรม3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย)

งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะทำงาน 15 คน x 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 เมษายน 2564 ถึง 6 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 เกิดขั้นตอนการประชุมเตรียมงาน และเกิดความมีส่วนร่วมในงค์กร และภาคีเครือข่าย

2 คณะทำงานแต่ละคนมีหน้ารับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม

3 เกิดแผนก่อนการทำกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการ 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) พิชิตโรคภัย ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) พิชิตโรคภัย ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์โครงการ 3 อ. อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ในพื้นที่โดยใช้เสียงตามสายของชุมชน ประชาสัมพันธ์ ในวันพระ และใช้ไวนิลติดในวัดคลองแห

งบประมาณ

1 ค่าไวนิล ประชาสัมพันธ์ 2x2.5 x 120 บาท 600 บาท

2 ค่าถ่ายเอกสารใบสมัคร 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 เมษายน 2564 ถึง 16 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 เกิดการประชาสัมพันธ์โครงการ 3 อ. อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกายในพื้นที่
2 มีผู้สนใจและสมัครเข้า่ร่วมกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) พิชิตโรคภัย ประจำปี 2562 ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) พิชิตโรคภัย ประจำปี 2562 ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องผู้สูงอายุกับการอยู่ในสังคม
    -สมาธิกับสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ -การสื่อสารกับผู้สูงอายุ

  • อบรมเชิงปฎิบัติการ ศักยภาพและคุณค่าในผู้สูงอายุ
    -ศักยภาพของผู้สูงอายุกับการนำมาใช้ประโยชน์ -ภูมิปัญาท้องถิ่นกับผู้สูงอายุ

  • ระดมความคิด ความต้องการและวางแผนจะดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรม

    • สรุป/ปิดการอบรม

งบประมาณ

1 วิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่่องผู้สูงอายุกับการอยู่ในสังคม
จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

2 วิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการศักยภาพและคุณค่าในผู้สูงอายุ จำนวน 3 คนละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 5400 บาท

3 ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ/ผู้ดำเนินการจำนวน 100 คน x 1 วันx 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 6000 บาท

4 ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ/ผู้ดำเนินการจำนวน 100 คน x 1 วันๆ X2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5000 บาท

5 ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2564 ถึง 23 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องผู้สูงอายุกับการอยู่ในสังคม

    • สมาธิกับสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
    • การสื่อสารกับผู้สูงอายุ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่อง "ศักยภาพและคุณค่าในผู้สูงอายุ"

    • ศักยภาพของผู้สูงอายุกับการนำมาใช้ประโยชน์
    • ภูมิปัญาท้องถิ่นกับผู้สูงอายุ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19200.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) พิชิตโรคภัย ประจำปี 25624 ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) พิชิตโรคภัย ประจำปี 25624 ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์ทางเลือกกับผู้สูงอายุ

กลุ่มที่ 1 มณีเวชกับผู้สูงอายุ

กลุ่มที่ 2 แพทย์แผนไทยกับผู้สูงอายุ

  • อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารสุขภาพจิตใจในวัยผู้สูงอายุ

กลุ่มที่ 1 การฝึกจิตใจโดยใช้หลักศาสนา

กลุ่มที่ 2 การประเมินและทดสอบสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ

  • ระดมความคิด ความต้องการและวางแผนจะดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรม

    • สรุป/ปิดการอบรม

งบประมาณ

1 วิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการการแพทย์ทางเลือกกับผู้สูงอายุ จำนวน 4 คน x 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

2 วิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารสุขภาพจิตใจในวัยผู้สูงอายุ จำนวน 1 คน x 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท

3 ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ/ผู้ดำเนินการจำนวน 100 คน x 1 วันๆละ 60 บาท เป็นเงิน 6000 บาท

4 ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ/ผู้ดำเนินการจำนวน 100 คน x 1 วันๆ X2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5000 บาท

5 ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2564 ถึง 28 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการแพทย์ทางเลือกกับผู้สูงอายุ มณีเวชกับผู้สูงอายุ แพทย์แผนไทยกับผู้สูงอายุ การบริหารสุขภาพจิตใจในวัยผู้สูงอายุ การฝึกจิตใจโดยใช้หลักศาสนาการประเมินและทดสอบสุขภาพจิตในผู้สูงอายุและสามารถนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • เกิดการวางแผนในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17400.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรม 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) พิชิตโรคภัย ประจำปี 25624 ครั้งที่ 3

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) พิชิตโรคภัย ประจำปี 25624 ครั้งที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง อาหารดีมีประโยชน์ แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม

กลุ่ม 1 เมนูสุขภาพ ตามหลักภูมิปัญญาไทย

กลุ่ม 2 เมนูชีวจิตพิชิตโรค

กลุ่ม 3 น้ำคือชีวิต ดื่มสมุนไพรป้องกันโรค

กลุ่ม 4 น้ำปั่นเพื่อสุขภาพ

  • อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ออกำลังกาย ลดพุงลดโรค

  • ระดมความคิด ความต้องการและวางแผนจะดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรม

    • สรุป/ปิดการอบรม

งบประมาณ

1 วิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติอาหารดีมีประโยชน์
จำนวน 4 คน x 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

2 วิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ ออกำลังกาย ลดพุงลดโรค
จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1800 บาท

3 ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ/ผู้ดำเนินการจำนวน 100 คนx 1 มื้อx 1 วันๆละ 60 บาท เป็นเงิน 6000 บาท

4 ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ/ผู้ดำเนินการจำนวน 100 คน x 1 วันๆ X2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5000 บาท

5ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1000 บาท

6 เมนูสาธิตอาหารเพื่อสุขภาพตามฐาน ๆ ละ2000 บาทเป็นเงิน 8000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มิถุนายน 2564 ถึง 18 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่อง อาหารดีมีประโยชน์ และ ออกำลังกาย ลดพุงลดโรค สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26600.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยงและลงให้ความรู้ผู่ป่วยติดบ้านติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยงและลงให้ความรู้ผู่ป่วยติดบ้านติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามเยี่ยมบ้านผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยงและลงให้ความรู้ผู่ป่วยติดบ้านติดเตียง
  • แผ่นพับการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ แผ่นละ 5 บาท จำนวน 500 แผ่น เป็นเงิน 2500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2564 ถึง 27 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำความรูัไปเผยแพร่ผู้อื่น ได้ และสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ มีกำลังใจในการดูแลสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 7 ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามประเมินผล จากผู้เข้าร่วมประชุมโดยมีแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม และรายงานผลการดำเนินการ
  • ประชุมสรุปผลคืนข้อมูลและวิเคราะห์วางแผนแก้ไขสำหรับการดำเนินกิจกรรมโครงการในปีต่อไป

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 20 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสาร 1000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 8 สรุปโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เกิดรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 68,475.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้มีความรู้และเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
2. ประชาชนได้รับรู้ถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
3. ประชาชนได้ปรับเปลี่ยนตัวเอง และให้เวลากับตัวเองในเรื่อง 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) ที่ถูกต้องมากขึ้น
4. ประชาชนมีสุขภาพดีแข็งแรงโดยเริ่มจากตัวเองเป็นหลัก


>