กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ ม 7 ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ ม 7 ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลกรงปินัง

1นางสาวมารีแย สะอะโทร 0640468281
2.นางสาวสารีหพ๊ะหะยีมอ โทร 0899771947
3.นางสาวฮาสนะห์เลาะยะผาโทร 0862865726

ม. 7 กรงปินัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

10.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

15.00

จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย พบว่าความชุกของผู้มีระดับน้ำตาลในเลือด ผิดปกติ และโรคเบาหวานในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มของความชุกจะไม่เพิ่มขึ้นมาก แต่พบว่าผู้ป่วยทั้งเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มที่จะมีภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น ทั้งภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดสมอง ภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดหัวใจ และภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อน ทางไตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากสาเหตุจากระยะเวลาในการเจ็บป่วย ที่นานขึ้นแล้ว การเข้าถึงบริการ และคุณภาพการบริการก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพ จากการวินิจฉัยที่ถูกต้องทันเวลา และให้การรักษาส่งต่อที่เหมาะสม และปัจจัยเสียงที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นปัจจัยหลักร่วมต่อการเกิดโรคเรื้อรังคือ การสูบบุหรี่ การบริโภคแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหาร ผักและผลไม้ไม่เพียงพอ บริโภคไขมันและโซเดียมเกิน ภาวะอ้วน และการเคลื่อนไหวออกกำลังกายไม่เพียงพอ
สำหรับสาเหตุของความดันโลหิตสูงนั้นยังไม่ทราบ สาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์และพฤติกรรม การใช้ชีวิตของผู้ป่วย นั่นคือ ทานอาหารไม่มีคุณภาพ มันๆ ทอดๆ เค็ม ขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ น้ำหนักเกิน สูบ บุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เครียด อายุมากขึ้น ฯลฯ ความดันโลหิต สูงไม่แสดงอาการเช่นเดียวกับเบาหวาน แต่ที่พบทั่วไปคือ ปวด ศีรษะบริเวณท้ายทอย ส่วนใหญ่จะเป็นในช่วงเช้า นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ใจสั่น เหนื่อยง่าย เลือดกำเดาออก ปัสสาวะเป็นเลือด ตาพร่า มัว เป็นต้น แม้ความดันโลหิตสูงจะดูเหมือนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ โรคร้ายแรงอื่น ๆ มากกว่าเป็นตัวโรคเสียเอง ผู้ป่วยและ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงจึงควรดูแลสุขภาพตัวเอง ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมความ ดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ข้อควรปฏิบัติจึงได้แก่ (1) การ บริโภคอาหารที่มีคุณภาพและรักษาน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารมัน ทอด รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ที่สำคัญคือ งดอาหารเค็ม (2) บริหารความเครียด พักผ่อน ให้เพียงพอ (3) ออกกำลังกายอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ (4) งดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ และดื่ม แอลกอฮอล์ (5) ในกรณีผู้ป่วยที่ต้องกินยาลดความดัน เนื่องจากความดันโลหิตสูงไม่สามารถรักษาให้หายได้ เพียงใช้ ยาควบคุมอาการ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อน ทางหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ ดังนั้น จึงควรพบแพทย์อย่าง สม่ำเสมอ และไม่ควรงดยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ รับมืออย่างไรกับภัยเงียบ ทั้งเบาหวานและความดันสูงโลหิตต่างเป็นภาวะผิดปกติ เรื้อรัง รักษาไม่หาย ที่ส่งผลสะเทือนต่อการทำงานของอวัยวะ อื่นๆ อย่างเงียบงัน แม้จะมีการประกาศให้วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น วันความดันโลหิตสูงโลก และวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น วันเบาหวานโลก แล้วก็ตาม เสียงป่าวร้องให้ ระวังภัยทั้งสองปัจจัยเสี่ยง ก็ยังคงดูเหมือนเป็นเสียงเตือนแว่วๆ ในหมู่ประชาชนคนไทย ความเคลื่อนไหวล่าสุดคือ กระทรวง สาธารณสุขในฐานะเจ้าภาพ ได้จัดให้มีโครงการรณรงค์คัดกรอง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงฯ ทำการตรวจสุขภาพเชิงรุกให้กับ ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อคัดกรองหาโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90จําแนก เป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เพื่อสร้างกระแสตื่นตัวให้ประชาชนทราบ ภาวะสุขภาพและปัจจัยเสี่ยง ส่งผลถึงการตัดสินใจปฏิบัติการ ลดปัจจัยเสี่ยงที่เหมาะสมและต่อเนื่อง15 อย่างไรก็ดี ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ “ฆาตกร” เงียบทั้ง สองชนิดหมดความหมายคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ ชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน ให้สมดุล สอดคล้องกับวิถีชีวิต สมัยใหม่อย่างไม่เป็นภัยกับร่างกาย โดยการใส่ใจเลือกบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การใส่ใจ ดูแลระดับความตึงเครียดทางอารมณ์และจิตใจ และหาก ร่างกายมีความผิดปกติ ต้องเอาใจใส่และเท่าทันต่อสัญญาณ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากนั้นรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับ คำแนะนำในการรักษาอย่างทันท่วงที เพียงเท่านี้ ชีวิตเราก็ คงจะเดินคนละเส้นทางกับ “ฆาตกร” เงียบทั้งสอง
ดังนั้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกรงปินัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยหลัก 3อ 2 ส จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ ม.7ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2564 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดอ้วน ป้องกันโรค ด้วยหลัก 3 อ 2 สเน้นออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร ที่ถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งเป็นแบบอย่างในการออกกำลังกายแก่ประชาชน ตลอดจนเป็นผู้มีสุขภาพอนามัยที่ดีร่างกายและจิตใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

10.00 8.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

15.00 10.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เขารวมอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ร่วมกันประชุมวางแผนคณะทำงานทีจัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
1.ร่วมกันประชุมวางแผนคณะทำงานทีจัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมกันประชุมวางแผน นื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ -แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนปฎัติงานกิจกรรมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันโรคด้วยหลัก ด้วยหลัก 3อ.2ส.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันโรคด้วยหลัก ด้วยหลัก 3อ.2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันโรคด้วยหลัก ด้วยหลัก 3อ.2ส.
งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน × 20 บาท × 2 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน × 75 บาท × 1 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน 7,500 บาท - ค่าสมมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน x 300 บาท x 6 ชั่วโมง x 1 วันเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยมีความรู้ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันโรคด้วยหลัก ด้วยหลัก 3อ.2ส.ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การประเมินสุขภาพและการการดูสุขภาพเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การประเมินสุขภาพและการการดูสุขภาพเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การประเมินสุขภาพและการการดูสุขภาพเบื้องต้น งบประมาณ จำนวน 100 คน × 20 บาท × 2 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน × 75 บาท × 1 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 7,500 บาท - ค่าสมมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน x 300 บาท x 6 ชั่วโมง x 1 วันเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
2.อัตราป่วยรายใหม่โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ลดลงจากปี 2563

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
2. อัตราป่วยรายใหม่โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ลดลงจากปี 2563


>