กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยรุ่นวัยใส ใส่ใจป้องกันยาเสพติดและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

สภาเด็กและเยาวชนตำบลลำใหม่

1. นายนัจมีย์ บาโละ
2. นางสาวซูฟีลลา ยามา
3. นางสาวนูรซีลา ดอหา
4. นางสาวตีสมีน อาลี
5. นายซูฮัยมี ดอเลาะแล

ณ ห้องประชุม อบต.ลำใหม่ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เยาวชนหรือวัยรุ่นซึ่งอยู่ในช่วงวัยเรียน เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม เป็นช่วงรอยต่อของความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ แต่ด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้เยาวชนเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบที่ชัดเจน โดยเฉพาะปัญหาด้านพฤติกรรมเนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบลองผิดลองถูกให้ความสำคัญกับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ ปัญหาพฤติกรรมที่สำคัญของวัยรุ่น คือ ปัญหาการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา การมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งมักส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมาหลายด้าน เช่น ส่งผลต่อเรื่องการเรียน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โรคติดต่อ อาชญากรรม การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นจุดเริ่มต้นในการรวมกลุ่ม ของวัยรุ่นที่จะนำไปสู่การมั่วสุมเสพสารเสพติดและการมีเพศสัมพันธ์ จะเห็นได้จากการมีเยาวชนเป็นนักสูบหน้าใหม่ 54.7 คนต่อวัน มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการดื่มสุรา 3.5 เท่า ใช้ยาเสพติด 17.0 เท่า และมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 3.7 เท่า (ที่มา http://www.nationtv.tv) ประกอบกับข้อมูลสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบว่า โรคหนองใน และโรคซิฟิลิส พบมากที่สุดในอยู่ในช่วงอายุ 15 – 24 ปี ซึ่งผู้ป่วยอยู่ในช่วงวัยเรียน วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึง การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
สภาเด็กและเยาวชนตำบลลำใหม่ได้ตระหนักถึงการป้องกันปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบ จึงได้จัด “โครงการวัยรุ่นวัยใส ใส่ใจป้องกันยาเสพติด และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการป้องกันตนเอง มีพฤติกรรมที่ ปลอดภัยจากยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการป้องกันตนเองที่ปลอดภัยจากยาเสพติด และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการป้องกันตนเองที่ปลอดภัยจากยาเสพติด และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เด็กและเยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดี

0.00
3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการคิดแก้ปัญหายาเสพติด และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการคิดแก้ปัญหายาเสพติด และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/04/2021

กำหนดเสร็จ : 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การบรรยายให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1. การบรรยายให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย อบรมให้ความรู้แก่เยาวชน - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ยาเสพติดกับวัยรุ่นในปัจจุบัน - เรื่องประเภทของยาเสพติด และโทษของยาเสพติด และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากยาเสพติด และการแก้ปัญหายาเสพติดในสังคม (จำนวน  3  ชั่วโมง)

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 บาท × 40 คน เป็นเงิน 800 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท × 40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท × 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
  4. ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,050 บาท
  5. ค่าวัสดุในการฝึกอบรม เป็นเงิน 2,800 บาท รวมเป็นเงิน 8,450 บาท

-  เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ   ทางเพศสัมพันธ์ - ตอบข้อซักถาม
- สรุปและประเมินผลกิจกรรม (จำนวน 2 ชั่วโมง)

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 บาท × 40 คน เป็นเงิน 800 บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท × 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,450.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการป้องกันตนเองที่ปลอดภัย จากยาเสพติด และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2. เด็กและเยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดี
3. เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการคิดแก้ปัญหายาเสพติด และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


>