กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนักเรียนโรงเรียนบ้านอุไร ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านอุไร

1. นายเกรียงศักดิ์แดวากมผู้ประสานงานคนที่ ๑ เบอร์โทร 0-8013-96597
2. นายสนันท์ มณีโส๊ะ ผู้ประสานงานคนที่ ๒ เบอร์โทร 0-8729-28386
3. นางสุวิมลจิตเที่ยง ผู้ประสานงานคนที่ 3 เบอร์โทร 0-8169-83611
4. นางสุภาพรสันหลี
5. นายอับดุลวาหาบ รายา

โรงเรียนบ้านอุไร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านสุขภาพของเด็กวัยเรียนในปัจจุบัน มีความแตกต่างจากปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียนในอดีต ทั้งนี้อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากสภาพสังคม วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์ ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นงานอนามัยโรงเรียน จึงเป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ สร้างให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องสุขภาพ เป็นการลดปัญหาสุขภาพ ส่งผลบวกต่อการเรียน ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือและการประสานงานจากทุกฝ่ายทั้งครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน
จากการสำรวจสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านอุไร จำนวน 69 คน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 30.43 แยกเป็นนักเรียนที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (ผอม) จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 14.49 นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ (อ้วน) จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 15.94 รองลงมา พบว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านอุไรมีปัญหาการออกกำลังกาย ซึ่งนักเรียนที่ออกกำลังกายน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 59.42 และนักเรียนที่ออกกำลังกายมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง/สัปดาห์ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 40.58 จากปัญหาการออกกำลังกายของนักเรียนสาเหตุเนื่องมาจากการขาดอุปกรณ์ในการส่งเสริมออกกำลังกาย ตลอดจนการขาดความพร้อมของพื้นที่ในการออกกำลังกาย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านอุไรให้มีภาวะโภชนาการที่ดีและมีการออกกำลังที่เหมาะสมตามวัย

จากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านอุไรได้ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำ โครงการนักเรียนโรงเรียนบ้านอุไร ใส่ใจสุขภาพ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพของนักเรียนในการดูแลสุขภาพของตนเองส่งผลต่อสุขภาพที่ดีทั้ง 4 ด้าน ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านภาวะโภชนาการของนักเรียนในการดูแลสุขภาพของตนเอง
  1. ร้อยละ 80 ของครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก
0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งเสริมการออกกำลังกายของนักเรียน
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ในการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

  2. นักเรียนร้อยละ 100 ได้ออกกำลังกายมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง/สัปดาห์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 69
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคลากรทางการศึกษา 10
ผู้ปกครอง 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/03/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการให้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการให้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.1 ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก แก่ ครู ผู้ปกครอง แม่ครัว

1.2 จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็กแต่ละกลุ่ม

เป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน 69 คน

  • ผู้ปกครอง จำนวน 50 คน

  • บุคลากรทางการศึกษา (ครู/แม่ครัว)จำนวน 10 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 129 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 6,450 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 129 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 8,385บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 3.0 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 675 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารจัดทำคู่มือเมนูอาหาร จำนวน 119 เล่มๆละ 30 บาทเป็นเงิน 3,570 บาท

รวมเป็นเงิน21,480บาท

  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ในการสาธิตทำอาหาร

เมนูสลัดผัก

  • ผักกาดหอม 2 กิโลกรัมๆละ 30 บาท เป็นเงิน 60 บาท
  • แครอท 1 กิโลกรัมๆละ 25 บาท เป็นเงิน 25 นาท
  • มะเขือเทศ 1 กิโลกรัมๆละ 50 บาท เป็นเงิน 50 บาท
  • ข้าวโพด 1 กิโลกรัมๆละ 30 บาท เป็นเงิน 30 บาท
  • แตงกวา 1 กิโลกรัมๆละ 30 บาท เป็นเงิน 30 บาท
  • หอมใหญ่ 1 กิโลกรัมๆละ 25 บาท เป็นเงิน 25 บาท
  • ไข่ไก่ 1 แผงๆละ 110 บาทเป็นเงิน 110 บาท
  • อกไก่2 กิโลกรัมๆละ 75 บาทเป็นเงิน 150 บาท
  • ส่วนผสมน้ำสลัด เป็นเงิน 200 บาท

รวมเป็นเงิน680 บาท

เมนูน้ำปั่นผักผลไม้รวมเพื่อสุขภาพ

  • ส้ม 3 กิโลกรัมๆละ 40 บาท เป็นเงิน 120 บาท
  • แอปเปิลเขียว 3 แพคๆละ 50 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  • แอปเปิลแดง 20 ลูกๆละ 5 บาท เป็นเงิน 100 บาท
  • แตงโม 5 กิโลกรัมๆละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท
  • มะเขือเทศ 1 กิโลกรัมๆละ 50 บาท เป็นเงิน 50 บาท
  • องุ่น 2 กิโลกรัมๆละ 60 บาท เป็นเงิน 120 บาท
  • สับปะรด 3 กิโลกรัมๆละ 20 บาทเป็นเงิน 60 บาท
  • มะนาว 1 กิโลกรัมๆละ 80 บาท เป็นเงิน 80 บาท
  • กีวี่5 แพคๆละ 40 บาทเป็นเงิน 200 บาท
  • กล้วยหอม 2 กิโลกรัมๆละ 40 บาท เป็นเงิน 80 บาท
  • สะระแหน่ 2 กำๆละ 10 บาท เป็นเงิน 20 บาท
  • น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัมๆละ 25 บาทเป็นเงิน 50 บาท
  • แก้วมังกร 2 กิโลกรัมๆละ 60 บาท เป็นเงิน 120 บาท
  • เกลือ 1 ห่อๆละ 5 บาท เป็นเงิน 5 บาท

รวมเป็นเงิน1,255บาท

รวมเป็นเงิน........23,415.........บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23415.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายให้แก่นักเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายให้แก่นักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.1 ให้ความรู้ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายให้แก่นักเรียน

เป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน 69 คน

  • บุคลากรทางการศึกษา (ครู/แม่ครัว) จำนวน 10 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 79 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,950 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 79 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 5,135บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 69 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 690 บาท

รวมเป็นเงิน 12,175 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องการออกกำลังกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12175.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการ การสร้างลานตัวหนอนเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ หนอนน้อยนับเลข, หนอนน้อยเรียนรู้เลข และตารางกระโดด 9 ช่อง

2.2 ส่งเสริมให้นักเรียนออกกำลังกายโดยการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล ตะกร้อ เป็นต้น

2.3 ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ให้นักเรียนรดน้ำต้นไม้ พืชผักสวนครัว และปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน

2.4 กิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนออกกำลังกายโดยกีฬาพื้นบ้าน เช่น การวิ่งสามขา เกมอุ้มแตง ชักกะเย่อ เดินกะลาเป็นต้น

เป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน 69 คน

งบประมาณ

ตารางกระโดด 9 ช่อง

  • ตาราง 9 ช่อง แบบโฟม ราคา 150 บาท จำนวน 40 แผ่น รวมเป็นเงิน 6,000 บาท

ค่าอุปกรณ์กีฬา

  • ลูกฟุตบอล 5 ลูก ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
  • ลูกวอลเลย์บอล 5 ลูก ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
  • ลูกตะกร้อ 5 ลูก ๆ ละ 320 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
  • ตาข่ายวอลเลย์บอล 1 อัน ๆ ละ 640 บาท เป็นเงิน 640 บาท
  • ตาข่ายเซปักตะกร้อ 1 อัน ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท

รวมเป็นเงิน 6,340 บาท

ค่าวัสดุ/อุปกรณ์

  • จอบ 5 ด้าม ราคาด้ามละ 220 บาท เป็นเงิน 1,100บาท
  • พลั่ว 2 ด้าม ราคา ด้ามละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
  • บัวรดน้ำ 5 อัน ราคาอันละ 80 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • คราด 3 ด้าม ราคาด้ามละ 170 บาท เป็นเงิน 510 บาท
  • กรรไกรตัดกิ่ง 2 อัน ราคาอันละ 250บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • บุ้งกี่ 5 อัน ราคาอันละ 60 บาท เป็นเงิน 300 บาท
  • ช้อนปลูก15 อัน ราคาอันละ 20 บาท เป็นเงิน 300 บาท
  • ส้อมพรวน 15 อัน ราคาอันละ 20 บาท เป็นเงิน300 บาท
  • รวมเมล็ดพืชและต้นกล้า เป็นเงิน 500 บาท

    รวมเป็นเงิน4,210 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16550.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม/เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม/เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

3.1 เยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง จำนวน 2 ครั้ง

3.2 ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

3.3 นักเรียนที่ยังคงมีปัญหาโภชนาการเกิน และต่ำ แจ้งผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่ถูกต้องโดยวิธีการมีส่วนร่วมโดยสหวิชาชีพ

เป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน69คน

  • ค่าถ่ายเอกสารแบบติดตาม จำนวน 69 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 690 บาท

รวมเป็นเงิน 690 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีปัญหาโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
690.00

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

4.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

4.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,830.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการอย่างครอบคลุม
2. ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัวมีความรู้และเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
3. เด็กที่มีปัญหาโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย
4. นักเรียนมีความรู้ในการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
5. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม


>