กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันสูง ในคลินิกโรคเรื้อรังใน รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันสูง ในคลินิกโรคเรื้อรังใน รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญ และนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา อีกทั้งมีผลกระทบต่อผู้ป่วยเองและผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค คือ "กรรมพันธ์ุ" และ "สิ่งแวดล้อม" ในส่วน

ของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานได้ จากผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวาน รวมไปถึงป้องกันดรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ จากข้อมูลอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง อำเภอวังวิเศษจังหวัดตรัง ปี 2563 พบว่า ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 176 ราย ได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดทั้งหมด แต่พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 50 ราย ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ในอนาคต การรักษาโรคเบาหวานโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตศสูง โดยได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 2.กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควบคุมค่าระดับความดันโลหิต น้อยกว่า 140/90

2.กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควบคุมค่าระดับความดันโลหิต น้อยกว่า 140/90 มากกว่าร้อยละ 40

0.00
2 3. เพื่อให้กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

1.ผู้เข้ารับการอบรมทดสอบ Post-Test ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80

0.00

1.กลุ่มป่วยโรคเบาหวานมีค่าระดับน้ำตาล A1C น้อยกว่า 7
ตัวชี้วัดความสำเร็จ1.กลุ่มป่วยโรคเบาหวานมีค่าระดับน้ำตาล A1C น้อยกว่า 7 มากกว่าร้อยละ 40

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/03/2021

กำหนดเสร็จ 24/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 50 คน ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มป่วยด้วยโรคโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ภาคทฤษฎี 3 อ 2 ส จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 50 คน ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มป่วยด้วยโรคโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ภาคทฤษฎี 3 อ 2 ส จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน50 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน2,500บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 50 คน ๆละ 1 มื้อๆละ 6๐ บาท
เป็นเงิน3,000 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท
เป็นเงิน3,000บาท 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมเป็นเงิน 3,500 บาท
ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 4.1 ปากกา 50 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท 4.2 ถุงผ้าใส่เอกสาร 50 ชิ้นๆละ 60 เป็นเงิน 3,000 บาท 5.ไวนิล ขนาด1 x 3 เมตร เป็นเงิน 390 บาท 6.เอกสารความรู้ 50 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มีนาคม 2564 ถึง 24 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12890.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 50 คน ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มป่วยด้วยโรคโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ภาคปฏิบัติ จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 50 คน ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มป่วยด้วยโรคโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ภาคปฏิบัติ จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน  50 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ
  25 บาท เป็นเงิน  2,500  บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 50 คน ๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท
  เป็นเงิน  3,000 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน 3 คน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท
  เป็นเงิน  3,000  บาท                                          รวมเป็นเงิน  8,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มีนาคม 2564 ถึง 24 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ประชุมสรุปผลการติดตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 50 คน จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ประชุมสรุปผลการติดตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 50 คน จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่าง อสม. จำนวน 15 คนๆละ 3 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,125 บาท
2.ถุงผ้าใส่เอกสาร 15 ชิ้นๆละ 60 เป็นเงิน 900 บาท 3.ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มติดตาม สรุปผล 365 บาท 4.เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 6 เครื่องๆละ 3,000 บาท  เป็นเงิน 18,000 บาท                                         รวมเป็นเงิน 20,390 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มีนาคม 2564 ถึง 24 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20390.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,780.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีระดับค่าน้ำตาลและค่าความดันโลหิตสูงอยู่ในเกณฑ์
2. กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค


>