กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ "ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงเรียนตาดีกานูรูลฮูดา พงลูกา

1.นายพาอิดอคา
2.นางสาวนาปีซะห์เจ๊ะอาลี
3.นางสาวนาซีฟะห์ดีแม
4.นางสาวอามีเน๊าะแยแย
5.นางสาวนูรไลลาดอคา

โรงเรียนตาดีกานูรูลฮูดา บ้านพงลูกา หมู่ 3 ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา 95120

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน
โรคซึมเศร้าไม่ได้เกิดแค่ในวัยรุ่น และวัยทำงาน แม้แต่วัยเด็กที่เป็นช่วงวัยแห่งความสนุกนาน ก็สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
ในประเทศสหรัฐอเมริกามีเด็กเล็กที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึงร้อยละ 2-3 ซึ่งนับว่าอยู่ในจำนวนที่ค่อนข้างมาก โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก มีสาเหตุหลายอย่าง เช่น เกิดจากสภาพแวดล้อม สภาพร่างกายและการกลั่นแกล้ง ซึ่งส่งกระทบอย่างมากต่อสุขภาพจิตใจ จะเป็นการลำบากในการดูแลรักษา เพราะเด็กๆมักจะไม่เข้าใจภาวะความเป็นโรคของตัวเอง ทำให้มีสุขภาวะจิตย่ำแย่ จนทำให้เกิดความเครียดและมีปัญหาในการดำเนินชีวิต ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของนักเรียน สามารถรับมือและป้องกันตนให้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้า อันส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข เราจึงจัดโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า” ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

นักเรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

60.00 0.00
2 2.เพื่อป้องกันนักเรียนให้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้า

นักเรียนห่างไกลจากโรคซึมเศร้า

60.00 0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของนักเรียนในโรงเรียนตาดีกา

นักเรียนในโรงเรียนตาดีกามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

60.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 25/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นการให้วิทยากรที่มีความรู้เฉพาะด้าน อย่าง จิตแพทย์ มาให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน
เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า รวมถึงบอกวิธีการรับมือเมื่อเราต้องเผชิญกับโรคนั้น โดยมีเด็กนักเรียนชั้นที่ 1-6
เป็นผู้เข้าร่วมการอบรม รวมทั้งหมด 60 คน

งบประมาณที่ใช้ในโครงการ ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บ. เป็นเงิน 1,800 บ. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บ. เป็นเงิน 3,000 บ. ค่าอาหารว่างจำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บ. เป็นเงิน 3,000 บ. ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2*2.4 จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 800 บ.

รวม 8,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2564 ถึง 4 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.นักเรียนในโรงเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า สามารถรับมือและป้องกัน เพื่อห่างไกลจากโรคนี้
2.นักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดี ที่จะส่งผลให้การดำเนินชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน เต็มไปด้วยความสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมฐานการเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมฐานการเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นกิจกรรมภาคสนามที่ให้นักเรียนลงฐานเป็นกลุ่ม ด้วยการให้นักเรียนเล่นกิจกรรมฐานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี ด้วยการทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ลดความเครียดและสนุก เพื่อป้องกันให้นักเรียนห่างไกลโรคซึมเศร้า สามารถรับมือกับโรคได้อย่างไร้กังวล

งบประมาณที่ใช้ในโครงการ -ค่าปากกาจำนวน 2 กล่องๆละ 200 บ. เป็นเงิน 400 บ. -ค่าปากกาลบคำผิดจำนวน 60 แท่งๆละ 20บ. เป็นเงิน 1,200 บ. -ค่าไม้บรรทัดจำนวน 60 แท่งๆละ 10บ. เป็นเงิน 600 บ. -ค่าสีน้ำจำนวน 2 กล่องๆละ 200 บ. เป็นเงิน 400 บ. -ค่าพู่กัน 1 แพ็ค (12 ด้าม)เป็นเงิน 220 บ. -ค่าแฟ้มสอดจำนวน 10 แพ็คๆละ 40 บ. เป็นเงิน 400 บ. -ค่าสมุดจำนวน 10 โหลๆละ 50 บ.เป็นเงิน 500 บ. -ค่ากระดาษสติ๊กเกอร์ใสขนาด A4 1 แพ็ค เป็นเงิน 200 บ. -ค่ากระดาษ A4 จำนวน 4 รีมๆละ 120 บ. เป็นเงิน 480 บ. -ค่าฟิวเจอร์บอร์ดขนาด 65*122 cm
จำนวน 10 แผ่นๆละ 60 บ. เป็นเงิน 600 บ.

รวมเป็นเงิน5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2564 ถึง 4 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ        1.นักเรียนในโรงเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า สามารถรับมือและป้องกัน เพื่อห่างไกลจากโรคนี้
       2.นักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดี ที่จะส่งผลให้การดำเนินชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน เต็มไปด้วยความสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนในโรงเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า สามารถรับมือและป้องกัน เพื่อห่างไกลจากโรคนี้
2.นักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดี ที่จะส่งผลให้การดำเนินชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน เต็มไปด้วยความสุข


>