กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปากปิงสดใส ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านปากปิง

1. นางสอฝีย๊ะ มู่เก็ม
2. นางสาวสุดารัตน์ เด็นเก
3. นางอารีวรรณ หลงสลำ
4. นางสาวนิตยา ง๊ะสมัน
5. นายนพดล ดาเร๊ะหมีน

โรงเรียนบ้านปากปิง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การศึกษากับสุขภาพอนามัยของผู้เรียนเป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไปโรงเรียนเป็นสถาบันหนึ่งของสังคม มีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้ว การส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพของเด็ก สามารถทำให้เด็กดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย

ปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิงจากสถิติการมาเรียนของนักเรียนจำนวน 82 คน ที่ผ่านมาพบว่านักเรียนร้อยละ 30ขาดเรียนเนื่องจากการเจ็บป่วย เช่น เป็นไข้ ไข้หวัด ท้องเสียซึ่งการเจ็บป่วยเกิดจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนและการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและสติปัญญาซึ่งสาเหตุที่ทำให้นักเรียนเจ็บป่วยเนื่องจากพฤติกรรมของนักเรียน เช่น เล่นน้ำสกปรก ไม่ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร พักผ่อนไม่เพียงพอ และไม่ใส่ใจเรื่องสุขภาพการแก้ไขการเจ็บป่วยของนักเรียนต้องอาศัยการทำงานแบบบูรณาการกับหลายภาคส่วน ทั้งโรงเรียน ครอบครัว และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้การปฏิบัติงานในการดูแลการเจ็บป่วยของนักเรียนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

โรงเรียนบ้านปากปิง มีความตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพของนักเรียน ได้จัดทำโครงการปากปิง สดใสใส่ใจสุขภาพเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วย โดยการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองจากการเจ็บป่วย เมื่อเป็นไข้ ไข้หวัด ท้องเสีย จัดตั้งแกนนำอสม.น้อยในโรงเรียนจัดตั้งคลินิกสุขภาพภายในโรงเรียน เฝ้าระวังสถานการณ์การเจ็บป่วยของนักเรียน ควบคุมป้องกันปฐมพยาบาลเบื้องต้นและส่งต่อให้ทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และโรคภัยใกล้ตัว

นักเรียน ผู้ปกครอง และครู ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยใกล้ตัว

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและอัตราการเจ็บป่วยของนักเรียนลดลง
  1. นักเรียนที่เจ็บป่วย ได้รับการดูแล และส่งต่อได้ทันท่วงที ร้อยละ 100
  2. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น และอัตราการเจ็บป่วยลดลง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 82
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคลากรทางการศึกษา 5
ผู้ปกครอง 82

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยใกล้ตัว

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยใกล้ตัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.1.1 ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยใกล้ตัว

1.1.2 จัดตั้งแกนนำอสม.น้อยในโรงเรียน จำนวน 10 คน เพื่อช่วยเหลือดูแลเด็ก


เป้าหมาย

  • นักเรียนตั้งแต่ อนุบาล 2 – ป.6จำนวน82คน

  • ผู้ปกครองจำนวน82คน

  • ครูจำนวน5คน


    งบประมาณ

  • ค่าเช่าเต็นท์พร้อมโต๊ะ เก้าอี้ เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับนักเรียนผู้ปกครองและครูจำนวน169คนคนละ 2 มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน8,450บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครองและครู จำนวน87คน คนละ 1 มื้อๆละ 65บาท เป็นเงิน5,655บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน3,000บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.5 x 3.0 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน675บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม(ปากกา สมุด แฟ้มเอกสาร เป็นต้น) เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าจัดทำป้าย อสม.น้อย ในโรงเรียน จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 24,280 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24280.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกายภายในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการออกกำลังกายภายในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

2.1.1 ส่งเสริมให้นักเรียนออกกำลังกาย โดยใช้เพลงสูตรคูณประกอบท่าทาง ในการออกกำลังกาย ทุกวัน วันละ 30 นาที

2.1.2 ฝึกฝนการเล่นกีฬา ฟุตบอล วอลเลย์บอล แบตมินตัน ตะกร้อ เป็นต้น

2.1.3 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายภาพให้กับนักเรียน เช่นรดน้ำต้นไม้ พืชผักสวนครัว และปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เป็นต้น

เป้าหมาย

  • นักเรียนตั้งแต่ อนุบาล 2 – ป.6จำนวน82คน

งบประมาณ

  • ค่าลำโพงเคลื่อนที่ จำนวน 1 เครื่องๆละ 10,000 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
  • ตะกร้อ จำนวน 4 ลูกๆละ 280 บาท เป็นเงิน 1,120 บาท
  • ฟุตบอล จำนวน 4 ลูกๆละ 1,250 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • วอลเลย์บอล จำนวน 4 ลูกๆละ 1,050 บาทเป็นเงิน 4,200 บาท
  • จอบ จำนวน 10 ด้ามๆละ 250 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • มีดพร้า จำนวน 2 ด้ามๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • บัวรดน้ำ จำนวน 10 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  • พันธ์ผัก 12 ถุงๆละ 25 บาท เป็นเงิน 300 บาท
  • ปุ๋ยคอก 12 กระสอบๆละ 60 บาท เป็นเงิน 720 บาท
  • หน้าดิน ขนาดรถหกล้อ จำนวน 1 คันๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

รวมเป็นเงิน 26,340 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26340.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินสุขภาพนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินสุขภาพนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

3.1.1 จัดทำแบบบันทึกสุขภาพของนักเรียน ตั้งแต่ชั้น อนุบาล 2 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม

3.1.2 คัดเลือกนักเรียนตัวอย่างที่มีสุขภาพดี ห้องเรียนละ 1 คน และจัดทำเกียรติบัตรมอบแก่นักเรียนตัวอย่าง

เป้าหมาย

  • นักเรียนตั้งแต่ อนุบาล 2 – ป.6จำนวน82คน

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำแบบบันทึกสุขภาพของนักเรียน จำนวน 82 เล่มๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,640 บาท
  • ค่าจัดทำเกียรติบัตร เป็นเงิน 500 บาท

รวมเป็นเงิน 2,140 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2140.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม เฝ้าระวัง สุขภาพของนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม เฝ้าระวัง สุขภาพของนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

4.1.1 สื่อสารปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยของนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบและช่วยกันดูแล

4.1.2 กรณีที่นักเรียนที่นักเรียนเจ็บป่วย แจ้งให้ผู้ปกครองทราบและส่งต่อเข้ารับการรักษา

เป้าหมาย

  • นักเรียนตั้งแต่ ชั้น อนุบาล 2 – ป.6จำนวน 82 คน

งบประมาณ

  • ไม่ขอใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลและนำเสนอโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลและนำเสนอโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

5.1.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

5.1.2 จัดทำรายงานผลโครงการ เสนอกองทุนฯตำบล อย่างน้อย 2 เล่ม

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,760.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
2. นักเรียนมีสุขภาพดีขึ้น และอัตราการเจ็บป่วยของนักเรียนลดลง


>