กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชน ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแปด

ม.8บ้านหนองสาหร่าย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคหวัด

 

15.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคอุจจาระร่วง

 

18.00

ประเทศกำลังเผชิญอยู่กับความเจริญในด้านต่างๆทำให้ประชาชนเกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตในทุกด้าน เช่น การอุปโภค บริโภคสินค้า และวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้การแข่งขันกันอย่างมากในเรื่องของการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภค เพราะผู้ประกอบการจะใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ได้ขายสินค้าเป็นจำนวนมากและมีต้นทุนต่ำปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน พบว่าผู้ประกอบการมีความรู้ไม่เพียงพอในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมขาดข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการมีแนวโน้มฝ่าฝืนหรือละเลยข้อกฎหมายและบางส่วนยังไม่มีความรู้ในเรื่องของข้อกฎหมายต่างๆและในส่วนอาหารปลอดภัย อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อนการบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุก และสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ผู้คนในสังคมต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด การใช้ชีวิตของผู้คนดำเนินไปอย่างเร่งรีบและให้ความสำคัญกับความสะดวกจนบางครั้งลืมมองถึงอันตรายที่อยู่รอบตัว การให้ความสำคัญกับความสะดวก ประหยัดเวลาจนกระทั่งละเลยความใส่ใจ เรื่องพิษภัยที่อยู่รอบตัว ที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ กล่องโฟมบรรจุอาหารซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองชีวิตที่เร่งรีบได้อย่างลงตัว จนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีอันตรายที่แฝงมากับกล่องโฟมที่บรรจุอาหาร นอกจากโรคภัยไข้ เจ็บแล้ว ปัจจุบันจากการบริโภคอาหารและสินค้าต่างๆของมนุษย์ ก่อให้เกิดขยะขึ้นมากมาย โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์บรรจุอาหารที่ผลิตจากพลาสติก ย่อยสลายยากส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในอนาคต เกิดปัญหาขยะล้นชุมชน ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ ทางทะเล และอื่นๆตามมา จึงส่งเสริมให้ลดการใช้พลาสติกประเภท single use เช่น หลอดดูด แก้วใส่เครื่องดื่ม ถุงหูหิ้ว ถุงพลาสติก เป็นต้น และส่งเสริมสนับสนุนใช้วัสดุ หรือภาชนะที่ทำจากธรรมชาติหรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแปด ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร การพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการ สร้างความตะหนักถึงความสำคัญความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ และเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน สามารถตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคหวัด

ร้อยละของประชาชนทีมีการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคหวัด

15.00 10.00
2 เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคอุจจาระร่วง

ร้อยละของประชาชนทีมีการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคอุจจาระร่วง

18.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการแผงสอยจำหน่ายอาหารในชุมชน และโรงเรียน 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 17/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียน
-Pre-test ก่อนการให้ความรู้ - Post-test หลังการให้ความรู้ โดยมีค่าใช้จ่าย - ค่าวิทยากร 600 บ.x 6 ชม.=3600บาท - ค่าอาหารกลางวัน 60บ.x20คน= 1200 บาท - ค่าอาหารว่าง 25บ.x20คน x2มื้อ=1000 บาท - ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย= 600 บาท - ค่าแบบประเมินก่อนและหลังให้ความรู้/วัสดุ 60บ. X 20 คน = 1200 บาท - ค่าผ้ากันเปื้อนกับหมวกคลุมผม 200บาท X 20 คน = 4000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2564 ถึง 19 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียน มีความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชน -Pre-test ก่อนการให้ความรู้ 2/- Post-test หลังการให้ความรู้ มีค่าใช้จ่ายในการอบรม ดังนี้ -ค่าวิทยากร 600 บาทx6 ชม.=3,600 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 60 บาทx 60 คน =3,600 บาท -ค่าอาหารว่าง25บาทx 60 คน x2มื้อ =3,000 บาท -ค่าแบบประเมินก่อนและหลังให้ความรู้/ค่าวัสดุ 60บาท X 60 คน = 3600 บาท -ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กรกฎาคม 2564 ถึง 23 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการร้านขายของชำ มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจประเมินแผงจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียน ให้ผ่านตามมาตรฐานที่กำหนด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินแผงจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียน ให้ผ่านตามมาตรฐานที่กำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจประเมินแผงจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียน ให้ผ่านตามมาตรฐานที่กำหนด โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเหมาจ่าย วันละ 200 บาท *5วัน เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าอาหารว่าง จำนวน 10 คน คนละ 25 บาท จำนวน 5 วัน เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2564 ถึง 6 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผงจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียนผ่านมาตรฐานร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-ผู้ประกอบการแผงลอยในชุมชน และผู้ปรุงอาหารในโรงเรียนมีความรู้ในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารมากขึ้น
-ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับประชาชน สามารถลดปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่


>