กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กปฐมวัย ยิ้มสดใส ห่างไกลฟันผุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหา

คลินิกหมอครอบครัว

คลินิกหมอครอบครัว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กปฐมวัยสามารถเกิดได้ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นมาในช่องปาก อยู่ในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน เนื่องจากเคลือบฟันน้ำนมมีความหนาน้อยกว่าเคลือบฟันถาวรครึ่งหนึ่ง จึงเกิดฟันผุได้ง่ายกว่ามาก หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาฟันผุ คือ การเลี้ยงดูของครอบครัว เช่น การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนม การรับประทานขนมตามใจชอบและไม่ยอมแปรงฟัน อีกทั้งผู้ปกครองหลายคนยังมีความเชื่อผิด ๆ ว่า ฟันน้ำนมไม่จำเป็นต้องดูแลก็ได้ เดี๋ยวก็มีฟันถาวรขึ้นมาแทนที่ จึงไม่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเท่าที่ควร ยังขาดการเข้าถึง เข้าใจ และนำข้อมูลด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากมาใช้ให้เป็นประโยชน์ มีหลายการศึกษาที่ระบุว่า ความแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy) ของผู้ปกครอง สัมพันธ์กับสภาวะฟันผุในเด็กเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ปกครองที่มีความแตกฉานด้านสุขภาพในระดับดี เด็กจะไม่มีฟันผุเกิดขึ้น นอกจากนี้ ฟันน้ำนมยังมีหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ให้ความสวยงาม สร้างความมั่นใจให้เด็ก รวมถึงความประทับใจแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย และสำคัญ คือ ช่วยกันที่ไว้สำหรับฟันถาวรที่กำลังจะขึ้นในอนาคต ดังนั้น หากมีการผุหรือสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด จะทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จึงส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กได้
จากการสำรวจสภาวะช่องปากของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลยะหา ปีงบประมาณ 2562 พบว่า มีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 84.84 สอดคล้องกับข้อมูลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งพบว่ากว่าร้อยละ ๕๐ ของเด็กไทยจะมีฟันผุก่อนเข้าเรียนในชั้นอนุบาล และยังพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีคราบจุลินทรีย์สะสมบริเวณคอฟัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแปรงฟันไม่สะอาดหรือผู้ปกครองไม่ได้แปรงฟันให้ก่อนมาโรงเรียน จากข้อมูลดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่า ปัญหายังอยู่ในระดับที่สูงมาก
โดยสรุป ปัญหาฟันน้ำนมผุเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งด้านชีวภาพและด้านสังคมสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยหลังนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่ามีผลต่อการเกิดฟันผุค่อนข้างมาก งานทันตสาธารณสุขได้ตระหนักและเล็งเห็นว่า ปัญหาฟันน้ำนมผุเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อีกทั้งควรมีการกระตุ้นให้ผู้ปกครองเกิดการพัฒนา การเรียนรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมของตนเองซึ่งเป็นด่านแรกที่มีความสำคัญในการเฝ้าระวัง ปลูกฝัง กวดขัน ให้เด็กเกิดทักษะและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง อันจะส่งผลให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย จึงเห็นควรให้จัดโครงการดังกล่าวนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย
2เพื่อยกระดับความแตกฉานด้านสุขภาพของผู้ปกครอง ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อการเฝ้าระวังการเกิดฟันผุในเด็กปฐมวัย
3เพื่อป้องกันและหยุดยั้งการเกิดฟันผุในเด็กปฐมวัย
4เพื่อสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและครูต่อการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเด็กปฐมวัย ยิ้มสดใส ห่างไกลฟันผุ

ชื่อกิจกรรม
โครงการเด็กปฐมวัย ยิ้มสดใส ห่างไกลฟันผุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ 1    จัดประชุมครูและผู้ปกครองเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจกรรม 2    จัดโปรแกรมการพัฒนาความแตกฉานด้านสุขภาพให้แก่ผู้ปกครอง โดยเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย เฉพาะประเด็นที่สำคัญที่สุดไม่เกิน 3 ประเด็น เช่น วิธีการแปรงฟัน การเลือกประเภทของอาหารที่ควรให้เด็ก รับประทาน เป็นต้น โดยโปรแกรมดังกล่าวนี้จะใช้วิธีการและเทคนิคต่างๆ เพื่อทำให้ผู้ปกครองเกิดความรู้ความเข้าใจได้ดีขึ้นและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
3    เคลือบฟลูออไรด์วานิชให้เด็กเพื่อป้องกันและหยุดยั้งการเกิดฟันผุในฟันน้ำนม ๔  ส่งเสริมและกระตุ้นให้ครูมีส่วนร่วมกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก โดยสอน        วิธีการตรวจฟันและต้องมีการบันทึกผลทุกวันในสมุดที่เตรียมไว้ ๕  ทันตบุคลากรติดตามผลการบันทึกสภาวะช่องปากของเด็ก สัปดาห์ละ ๒ วัน และมีการสุ่มตรวจคราบจุลินทรีย์ในเด็กร่วมด้วย เพื่อประเมินประสิทธิผลของการดำเนินโครงการ    5. ระยะเวลาดำเนินงาน          พฤษภาคม พ.ศ. 2564 – สิงหาคม พ.ศ. 2564 ๖. สถานที่          ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ๗. งบประมาณ            รายละเอียดของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มีดังนี้ 7.1   ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมการพัฒนาความแตกฉานด้านสุขภาพ จำนวน 35 คน x ๘๐ บาท  เป็นเงิน 2,800 บาท 7.2  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมกิจกรรมตาม
      โปรแกรมการพัฒนาความแตกฉานด้านสุขภาพ จำนวน 35 คน x ๒๕ บาท เป็นเงิน 875 บาท 7.3  ค่าสมุดสะสมสติ๊กเกอร์เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 35 เล่ม
  x 40  บาท  เป็นเงิน 1,400 บาท 7.4  ค่าชุดสติ๊กเกอร์สำหรับติดในสมุดบันทึกสภาวะช่องปากของเด็ก จำนวน 35 แผ่น x 50 บาท  เป็นเงิน 1,750 บาท 7.5  ค่าแปรงสีฟันและยาสีฟัน จำนวน 35 ชุด x 60 บาท เป็นเงิน 2,100บาท 7.6  ค่าแก้วน้ำพลาสติกสำหรับเด็กนักเรียนใช้บ้วนน้ำหลังจากแปรงฟัน จำนวน 35 ชิ้น   x 10 บาท  เป็นเงิน 350  บาท 7.7  ค่าโมเดลสอนแปรงฟัน จำนวน 2 ชุด ชุดละ 7,000 บาท                              เป็นเงิน  14,000 บาท 7.8  ค่าจัดทำสื่อให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันในเด็กนักเรียน จำนวน 1 ชุด  ชุดละ  2,000 บาท  เป็นเงิน 2,000  บาท 7.9  ค่าจัดทำที่เก็บแปรงสีฟันและยาสีฟัน 1 ชุด เป็นเงิน 1,000 บาท
                   รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,275 บาท  (สองหมื่นหกพันสองร้อยเจ็ดห้าบาทถ้วน)                                                                  (ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26275.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,275.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลยะหา มีอัตราการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมลดลง
2. ผู้ปกครองมีระดับความแตกฉานด้านสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้
3. ครูเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น
1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลยะหา มีอัตราการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมลดลง
2. ผู้ปกครองมีระดับความแตกฉานด้านสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้
3. ครูเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น


>