กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย รพสต.บ้านสามแยก ต.กายูคละ อ.แว้ง ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

รพ.สต.บ้านสามแยก

นางโซเฟีย ยามา
นางสาวสลาลี รอดเสน เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน เบอร์ติดต่อ 064-5623170

เขตพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 4,5,6,7 ต.กายูคละ อ.แว้ง จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก ปีงบประมาณ 2563เจ้าหน้าที่ได้ตรวจเกษตรกร ทั้งหมด 50 ราย พบสารเคมีในร่างกายจำนวน 13 ราย พบร้อยละ 26 ซึ่งยังเป็นปัญหาที่ต้องมีการแก้ไข จึงเห็นสมควรให้มีการอบรมและติดตามคัดกรองสารเคมีในเกษตรต่อไป

26.00

ปัจจุบันสารเคมีป้องกันแดละกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) เข้ามามีบทบาท และใช้ในด้านการเกษตรอย่างกว้างขวางและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์อย่างชัดเจนคือ ข้อมูลปริมาณการนำเข้าสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลของกรมวิชากาเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2540-2553 มีการนำเข้าสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมากถึง 120,000 ตัน โดยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีการใช้มากที่สุด ได้แก่ สารกำจัดศัตรูวัชพืช ร้อยละ 74 สารกำจัดแมลง ร้อยละ 14 สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ร้อยละ 9 และอื่นๆ ร้อยละ 3 แนวโน้มการน้ำสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมาใช้ยังคงมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าสารเคมีดังกล่าวจะมีหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการแสดงถึงความเป็นพิษต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน และทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับและสัมผัสได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีโดยตรง หรือกลุ่มผู้บริโภคพืชผักที่มีสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพืชผักจำนวนมาก การแก้ไขปัญหาและการควบคุมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เพื่อคุ้มครองสุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค เป็นบทบาทที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการลดปริมาณการใช้ และการเฝ้าระวังการได้รับพิษจากสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เป็นสิ่งสำคัญที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลไปให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ส่วนใหญ่มีผลต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งจากข้อมูลปริมาณการนำเข้าและการตรวจพบสารตกค้างในพืชผักดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับสัมผัสสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่มีแนวโน้มความเสี่ยงรุนแรงมากขึ้น ในแต่ละปีมีการรายงานผู้ป่วยและเสียชีวิตจากการได้รับพิษจากสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจ (intentional injuries) และไม่ตั้งใจ (unintentional injuries) อย่างต่อเนื่องทุกๆปี
ดังนั้น หน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก ตำบลกายูคละ ได้ดำเนินงานคลินิกสุขภาพเกษตรกรมาเนื่องจากเห็นถึงความเสี่ยงที่เกษตรกรและผู้บริโภคจะได้รับและส่งผลต่อสุขภาพ ในปีนี้จึงได้จัดทำโครงการขึ้น เพื่อเฝ้าระวังและให้กลุ่มเกษตรกรรวมถึงผู้บริโภคได้รับทราบความเสี่ยงของตนเอง รวมไปถึงมีความรู้ในการป้องกันตนเอง เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขได้ และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข สามารถเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้และเฝ้าระวังได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร

ร้อยละ 80 ของเกษตรกรและผู้บริโภคที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้

120.00 1.00
2 เพื่อให้เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่มีความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร

ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ ผ่านการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร

120.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุข เรื่องความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อการดูแลสุขภาพและการจัดการปัญหาของเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุข เรื่องความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อการดูแลสุขภาพและการจัดการปัญหาของเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุข เรื่องความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อการดูแลสุขภาพและการจัดการปัญหาของเกษตรกร มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 120 คนๆละ 50 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
  3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 120 คนๆละ 40 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
  4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  5. ป้ายโครงการขนาด 1.2*2.4 เมตร เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายผ่านการอบรมร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง
2. เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพของเกษตรกร
3. เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง


>