กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ดง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรสุขภาพดี ชีวีสดใส ไร้สารเคมีตกค้าง หมูที่ 1และ 3 ตำบลแม่ดง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ดง

รพ.สต.บ้านยะหอ

1.นางอานีซะห์บินสะอิ นักวิชาการชำนาญการ โทร.092-5814044

หมู่ที่1และหมู่ที่ 3 ตำบลแม่ดง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

5.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

 

2.00

อำเภอแว้ง เป็นอำเภอหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพารา ทำนา ทำไร่ข้าวโพด ทำสวนปลูกพืชผัก ผลกระทบจาการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง จากผลการคัดกรองภาวะเสี่ยงในเกษตรกรที่ใช้สารเคมีในปี 2562 โดยแบบ คัดกรอง พบจำนวนกลุ่มเสี่ยง 150 คน ผลการตรวจเลือดระดับปกติ จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 36 ระดับปลอดภัยจำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 52 ระดับมีความเสี่ยง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 8.67 และระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 3.33
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในอำเภอแว้ง ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยะหอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตรับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการโครงการเกษตรกรสุขภาพดี ชีวีมีสุข ไร้สารตกค้าง ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่าปริมารสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลง

5.00 3.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์ เพิ่มขึ้น

20.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คน1วัน ค่าใช้จ่าย 1.ค่าอาหารกลางวัน 50 x 70 คน x1วัน เป็นเงิน 3500 บาท 2.ค่าอาหารว่าง 25 x 70 คน x 2 มื้อ x1วัน เป็นเงิน 3500 บาท 3.ค่าวิทยากร 300x6 ชั่วโมงx1วัน เป็นเงิน 1800 บาท 4.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x3เมตร เป็นเงิน 750 บาท 5.ค่าวัสดุสำนักงา่น เป็นเงิน 2800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2564 ถึง 2 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายได้การอบรม จำนวน 70 คน 2.กลุ่มเป้าหมายได้ความรู้ ความเข้าใจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12350.00

กิจกรรมที่ 2 เจาะเลือดเกษตรกลุ่มเสี่ยงในการหาสารเคมีตกค้างในเลือด

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดเกษตรกลุ่มเสี่ยงในการหาสารเคมีตกค้างในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เจาะเลือดเกษตรกร จำนวน 70 คน เจาะเลือด 2 ครั้ง
ค่าใช้จ่าย 1.จัดซื้อชุดตรวจสารเคมีในเลือดจำนวน 2 ชุดๆละ 1400 บาท เป็นเงิน 2800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2564 ถึง 17 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายเกษตรกร จำนวน 70 คน ได้รับการเจาะเลือดตรวจค้นสารเคมีตกค้างในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติการครัวเรือนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการครัวเรือนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดตั้งกลุ่มการติดตามการดำเนินงานครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 10 คน ประชุม 3 ครั้ง 2.รับสมัครครัวเรือนเพื่อเข้าร่วมครัวเรือนต้นแบบ 3.จัดปฏิบัติการ เรื่องครอบครัวต้นแบบ เกษตรปลอดสารเคมี โดยใช้ปราชญ์ชุมชน ค่าใช้จ่าย 1.ค่าอาหารว่าง 25 x 10 คน x 1 มื้อ x 1วัน x 3 ครั้ง เป็นเงิน 750 บาท 2.ค่าจัดซื้อเมล็ดพันธุ์พืช เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2564 ถึง 17 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้คณะกรรมการ 2.ได้ครัวเรือนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 4 ถอดบทเรียนเกษตรต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียนเกษตรต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมถอดบทเรียน โดยเชิญเกษตรต้นแบบมาสัมภาษณ์และเยี่ยมพื้นตรอบครัวต้นแบบ ค่าใช้จ่าย 1.ค่าอาหารว่าง 25 บาท x70 คน x 1 มื้อ x 1วัน x 3 ครั้ง เป็นเงิน 5250  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้แนวทางการเรียนรู้เกษตรต้นแบบตามปราชญ์ชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน เพิ่มขึ้น
2.กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 70 คน ได้รับการเจาะเลือดตรวจค้นสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน2 ครั้ง พบสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง
3.ได้ครัวเรือนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหาร


>