กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรสุขภาพดี ชีวีสดใส ไร้สารเคมีตกค้าง หมูที่ 1และ 3 ตำบลแม่ดง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านยะหอ
วันที่อนุมัติ 20 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ดง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย
5.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อำเภอแว้ง เป็นอำเภอหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพารา ทำนา ทำไร่ข้าวโพด ทำสวนปลูกพืชผัก ผลกระทบจาการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง จากผลการคัดกรองภาวะเสี่ยงในเกษตรกรที่ใช้สารเคมีในปี 2562 โดยแบบ คัดกรอง พบจำนวนกลุ่มเสี่ยง 150 คน ผลการตรวจเลือดระดับปกติ จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 36 ระดับปลอดภัยจำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 52 ระดับมีความเสี่ยง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 8.67 และระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 3.33 จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในอำเภอแว้ง ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยะหอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตรับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการโครงการเกษตรกรสุขภาพดี ชีวีมีสุข ไร้สารตกค้าง ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่าปริมารสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลง

5.00 3.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์ เพิ่มขึ้น

20.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,150.00 0 0.00
2 มิ.ย. 64 อบรมส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน 0 12,350.00 -
2 มิ.ย. 64 - 17 ก.ย. 64 เจาะเลือดเกษตรกลุ่มเสี่ยงในการหาสารเคมีตกค้างในเลือด 0 2,800.00 -
2 มิ.ย. 64 - 17 ก.ย. 64 ปฏิบัติการครัวเรือนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน 0 3,750.00 -
1 - 30 ก.ย. 64 ถอดบทเรียนเกษตรต้นแบบ 0 5,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน เพิ่มขึ้น 2.กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 70 คน ได้รับการเจาะเลือดตรวจค้นสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน2 ครั้ง พบสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง 3.ได้ครัวเรือนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2564 00:00 น.