แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์ รหัส กปท. L3322
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นางศริณยา อินแก้ว
นางเพ็ญศรีไชยเพชร
นางสุดาวดี จู้สิ้ว
นางธัญญา หนูรอด
นางอุบลชูช่วย
จากสภาพในปัจจุบันตำบลพนมวังก์มีร้านอาหารและแผงลอย จำหน่ายอาหารบริเวณเส้นทางสองข้างถนน รวมถึงตลาดประเภท 2ร้านชำ ร้านขายอาหารสด เป็นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด อาหารที่มีสารปนเปื้อน โดยการรณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้ให้สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ในการจัดการสุขาภิบาลอาหาร โดยเฉพาะเรื่องการจัดการคัดแยกขยะต้นทาง การใช้ขยะพลาสติก ภาวะมลพิษจากกลิ่นเหม็นฝุ่นควันละอองน้ำเสียตลอดจนการสุขาภิบาลอาหารน้ำดื่มน้ำใช้ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาของ พชอ.อำเภอควนขนุนในการขับเคลื่อน การจัดการขยะอาหารปลอดภัย และลดการเจ็บป่วยที่เกิดจากความบกพร่องจากการสุขาภิบาลอาหารและการคุ้มครองผู้บริโภค ในตำบลพนมวังก์ได้แก่ อุจจาระร่วงมะเร็งต่างๆและโรคอาหารเป็นพิษ
จากข้อมูลปี2563ตำบลพนมวังก์พบอัตราป่วยโรค อุจจาระร่วง246..35 ต่อแสนประชากร และอัตราตายด้วยมะเร็ง ร้อยละ 21.05 เป็นสาเหตุการตายอันดับสองและมีสถานประกอบการร้านอาหาร ที่มีสถานที่ปรุง จำนวน 6 ร้าน และแผงลอยที่วางจำหน่ายอาหารปรุงเสร็จ จำนวน6แผงตลาดประเภท2จำนวน 1 ตลาด ร้านขายของชำจำนวน 49 ร้านร้านขายอาหารสด จำนวน 8 ร้าน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการดังกล่าวยังไม่ขึ้นทะเบียน ขออนุญาตกับส่วนราชการท้องถิ่น (ในการใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535) ซึ่ง เป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมกำกับ และดำเนินงาน ในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัยร้านชำคุณภาพตลาดน่าซื้อ ทำให้ไม่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดในแต่ละประเภท
ในการนี้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนมวังก์จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ส่งเสริมการสุขาภิบาลอาหาร และการคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2564 โดยเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของพชต.ตำบลพนมวังก์ ในการขับเคลื่อน อาศัยความร่วมมือของประชาชนอสม.ผู้นำชุมชนวัดโรงเรียนสถานประกอบการร้านอาหารแผงลอย ตลาดร้านขายอาหารสด ในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัยร้านชำคุณภาพตลาดน่าซื้อ ให้สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์แต่ละประเภท ลดการป่วยด้วยโรค อุจจาระร่วงมะเร็งต่างๆและโรคอาหารเป็นพิษและส่งเสริมการท่องเที่ยว สนับสนุนเศรษฐกิจของพื้นที่
-
1. เพื่อเก็บข้อมูลโรงเรียน วัด ตลาด ร้านอาหารและแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสด ในหมู่บ้านตัวชี้วัด : ตำบลพนมวังก์ มีข้อมูลโรงเรียน วัด ตลาดร้านอาหารและแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสดที่เป็นปัจจุบันในการดำเนินงาน1ชุดขนาดปัญหา 1.00 เป้าหมาย 1.00
-
2. เพื่อให้ความรู้แก่แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน โรงเรียน วัด ตลาด ร้านอาหารและแผงลอบ ร้านชำ ร้านขายอาหารสด และทำข้อตกลงร่วมกันในการรณรงค์ส่งเสริมการสุขาภิบาลอาหารตัวชี้วัด : 1. สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ทำข้อตกลงตามมาตรฐานท้องถิ่น ร้อยละ 100ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 100.00
-
3. เพื่อพัฒนาโรงเรียน วัด ตลาด ร้านอาหารและแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสด ให้ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 90ตัวชี้วัด : โรงเรียน วัด ตลาดร้านอาหาร และแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสดผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 90ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 90.00
-
4. เพื่อให้สถานประกอบการได้รับป้ายมาตรฐานท้องถิ่นตัวชี้วัด : สถานประกอบการ ได้รับป้ายมาตรฐานท้องถิ่น ร้อยละ90ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 90.00
- 1. จัดประชุมแกนนำ อสม.ในการจัดเก็บขัอมูล โรงเรียน วัด ตลาดร้านอาหารและแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสดในหมู่บ้านตามแบบฟอร์มที่กำหนดรายละเอียด
1.ค่าอาหารว่างในการจัดประชุม จำนวน 40 คน x 25บาทจำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน1,000บาท 2.ค่าแบบฟอร์มในการจัดเก็บข้อมูลจำนวน 200 หน้า x 0.50 บาท เป็นเงิน 100 บาท
งบประมาณ 1,100.00 บาท - 2. ให้ความรู้ความเข้าใจ แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน โรงเรียน วัด ตลาด ร้านอาหารและแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสด ทำข้อตกลงร่วมกันในการรณรงค์ส่งเสริมการสุขาภิบาลอาหาร และการคุ้มครองผู้บริโภค ตามเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่นรายละเอียด
1.ค่าอาหารว่าง ในการประชุม จำนวน 50 คน x 25 บาท จำนวน1 ครั้ง เป็นเงิน1,250บาท 2.ค่าเอกสารให้ความรู้จำนวน500หน้า ๆละ 0.50 บาทเป็นเงิน 250บาท
งบประมาณ 1,500.00 บาท - 3. ประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารเก็บตัวอย่างอาหารตรวจสารปนเปื้อนตรวจร้านชรายละเอียด
- ค่าเอกสารแบบประเมิน ตามเกณฑ์มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารเก็บตัวอย่างอาหารตรวจสารปนเปื้อน ตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียตรวจร้านชำ
จำนวน100 หน้า x 0.5 บาท เป็นเงิน 500บาท - ค่าชุดตรวจสารปนเปื้อนในอาหารร้านขายอาหารสด (บอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง) จำนวน 1 ชุด ราคา 3,690 บาท (แนบท้ายภาคผนวก)
- ค่าชุดตรวจอาหารร้านอาหาร แผงลอย (โคลิฟอ์มในน้ำและน้ำแข็งคลอรีนอิสระในน้ำ โคลิฟอร์มในอาหาร) จำนวน 1 ชุด ราคา 3,599 บาท (แนบท้ายภาคผนวก)
- ค่าชุดตรวจ ยาแผนโบราณและเครื่องสำอาง ในร้านชำ (สเตียรอยด์ในยาสเตียรอยด์เครื่องสำอางปรอท แอมโมเนียกรดวิตามินเอ) จำนวน 1 ชุด ราคา 4,980 บาท (แนบท้ายภาคผนวก)
- ค่าตอบแทนของทีมตรวจประเมินมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร (10 คน x 100 บาท x 2 วัน) เป็นเงิน 2,000 บาท
งบประมาณ 14,769.00 บาท - ค่าเอกสารแบบประเมิน ตามเกณฑ์มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารเก็บตัวอย่างอาหารตรวจสารปนเปื้อน ตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียตรวจร้านชำ
- 4. มอบป้ายมาตรฐานท้องถิ่น โดยที่มาตรฐานมีอายุ 1 ปี (ต่ออายุ ทุก1ปี)รายละเอียด
1.ค่าป้ายร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่นจำนวน10ป้ายๆละ 300 บาท
เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าป้ายแผงลอยผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่นจำนวน10ป้ายๆละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าป้ายผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัย ร้านขายอาหารสด จำนวน 10 ป้ายๆละ 300 บาท
เป็นเงิน 3,00 0บาท 4.ค่าป้ายผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพจำนวน 50 ป้ายๆละ 100บาท เป็นเงิน 5,000 บาทงบประมาณ 14,000.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 26 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ตำบลพนมวังก์
รวมงบประมาณโครงการ 31,369.00 บาท
- สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ในการจัดการสุขาภิบาลอาหาร โดยเฉพาะเรื่องการจัดการคัดแยกขยะต้นทาง การใช้ขยะพลาสติก ภาวการใช้ขยะพลาสติก ภาวะมลพิษจากกลิ่นเหม็นฝุ่นควันละอองน้ำเสียตลอดจนการสุขาภิบาลอาหารน้ำดื่มน้ำใช้ ผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 90
- ทุกภาคส่วนร่วมทำกิจกรรมอย่างจริงจัง สร้างความต่อเนื่องในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ
- สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ในการจัดการสุขาภิบาลอาหาร ได้รับป้ายมาตรฐานท้องถิ่น อาหารปลอดภัย ร้านชำคุณภาพ ตลาดน่าซื้อ โดยที่มาตรฐานมีอายุ 1 ปีร้อยละ 90
- ผู้ประกอบการร้านอาหารมีความรู้ และการปฏิบัติตามมาตรฐานจากการประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรค อุจจาระร่วงไข้เลือดออก และโรคอาหารเป็นพิษ ของผู้ประกอบการร้อยละ 801.
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์ รหัส กปท. L3322
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์ รหัส กปท. L3322
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................