2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากสภาพในปัจจุบันตำบลพนมวังก์มีร้านอาหารและแผงลอย จำหน่ายอาหารบริเวณเส้นทางสองข้างถนน รวมถึงตลาดประเภท 2ร้านชำ ร้านขายอาหารสด เป็นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด อาหารที่มีสารปนเปื้อน โดยการรณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้ให้สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ในการจัดการสุขาภิบาลอาหาร โดยเฉพาะเรื่องการจัดการคัดแยกขยะต้นทาง การใช้ขยะพลาสติก ภาวะมลพิษจากกลิ่นเหม็นฝุ่นควันละอองน้ำเสียตลอดจนการสุขาภิบาลอาหารน้ำดื่มน้ำใช้ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาของ พชอ.อำเภอควนขนุนในการขับเคลื่อน การจัดการขยะอาหารปลอดภัย และลดการเจ็บป่วยที่เกิดจากความบกพร่องจากการสุขาภิบาลอาหารและการคุ้มครองผู้บริโภค ในตำบลพนมวังก์ได้แก่ อุจจาระร่วงมะเร็งต่างๆและโรคอาหารเป็นพิษ
จากข้อมูลปี2563ตำบลพนมวังก์พบอัตราป่วยโรค อุจจาระร่วง246..35 ต่อแสนประชากร และอัตราตายด้วยมะเร็ง ร้อยละ 21.05 เป็นสาเหตุการตายอันดับสองและมีสถานประกอบการร้านอาหาร ที่มีสถานที่ปรุง จำนวน 6 ร้าน และแผงลอยที่วางจำหน่ายอาหารปรุงเสร็จ จำนวน6แผงตลาดประเภท2จำนวน 1 ตลาด ร้านขายของชำจำนวน 49 ร้านร้านขายอาหารสด จำนวน 8 ร้าน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการดังกล่าวยังไม่ขึ้นทะเบียน ขออนุญาตกับส่วนราชการท้องถิ่น (ในการใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535) ซึ่ง เป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมกำกับ และดำเนินงาน ในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัยร้านชำคุณภาพตลาดน่าซื้อ ทำให้ไม่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดในแต่ละประเภท
ในการนี้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนมวังก์จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ส่งเสริมการสุขาภิบาลอาหาร และการคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2564 โดยเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของพชต.ตำบลพนมวังก์ ในการขับเคลื่อน อาศัยความร่วมมือของประชาชนอสม.ผู้นำชุมชนวัดโรงเรียนสถานประกอบการร้านอาหารแผงลอย ตลาดร้านขายอาหารสด ในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัยร้านชำคุณภาพตลาดน่าซื้อ ให้สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์แต่ละประเภท ลดการป่วยด้วยโรค อุจจาระร่วงมะเร็งต่างๆและโรคอาหารเป็นพิษและส่งเสริมการท่องเที่ยว สนับสนุนเศรษฐกิจของพื้นที่
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 26/04/2021
กำหนดเสร็จ 30/09/2021
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ในการจัดการสุขาภิบาลอาหาร โดยเฉพาะเรื่องการจัดการคัดแยกขยะต้นทาง การใช้ขยะพลาสติก ภาวการใช้ขยะพลาสติก ภาวะมลพิษจากกลิ่นเหม็นฝุ่นควันละอองน้ำเสียตลอดจนการสุขาภิบาลอาหารน้ำดื่มน้ำใช้ ผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 90
2. ทุกภาคส่วนร่วมทำกิจกรรมอย่างจริงจัง สร้างความต่อเนื่องในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ
3. สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ในการจัดการสุขาภิบาลอาหาร ได้รับป้ายมาตรฐานท้องถิ่น อาหารปลอดภัย ร้านชำคุณภาพ ตลาดน่าซื้อ โดยที่มาตรฐานมีอายุ 1 ปีร้อยละ 90
4. ผู้ประกอบการร้านอาหารมีความรู้ และการปฏิบัติตามมาตรฐานจากการประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรค อุจจาระร่วงไข้เลือดออก และโรคอาหารเป็นพิษ ของผู้ประกอบการร้อยละ 801.