กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการสุขาภิบาลอาหารและคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนมวังก์
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,369.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศริณยา อินแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5018 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพในปัจจุบันตำบลพนมวังก์มีร้านอาหารและแผงลอย จำหน่ายอาหารบริเวณเส้นทางสองข้างถนน รวมถึงตลาดประเภท 2ร้านชำ ร้านขายอาหารสด เป็นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด อาหารที่มีสารปนเปื้อน โดยการรณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้ให้สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ในการจัดการสุขาภิบาลอาหาร โดยเฉพาะเรื่องการจัดการคัดแยกขยะต้นทาง การใช้ขยะพลาสติก ภาวะมลพิษจากกลิ่นเหม็นฝุ่นควันละอองน้ำเสียตลอดจนการสุขาภิบาลอาหารน้ำดื่มน้ำใช้ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาของ พชอ.อำเภอควนขนุนในการขับเคลื่อน การจัดการขยะอาหารปลอดภัย และลดการเจ็บป่วยที่เกิดจากความบกพร่องจากการสุขาภิบาลอาหารและการคุ้มครองผู้บริโภค ในตำบลพนมวังก์ได้แก่ อุจจาระร่วงมะเร็งต่างๆและโรคอาหารเป็นพิษ จากข้อมูลปี2563ตำบลพนมวังก์พบอัตราป่วยโรค อุจจาระร่วง246..35 ต่อแสนประชากร และอัตราตายด้วยมะเร็ง ร้อยละ 21.05 เป็นสาเหตุการตายอันดับสองและมีสถานประกอบการร้านอาหาร ที่มีสถานที่ปรุง จำนวน 6 ร้าน และแผงลอยที่วางจำหน่ายอาหารปรุงเสร็จ จำนวน6แผงตลาดประเภท2จำนวน 1 ตลาด ร้านขายของชำจำนวน 49 ร้านร้านขายอาหารสด จำนวน 8 ร้าน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการดังกล่าวยังไม่ขึ้นทะเบียน ขออนุญาตกับส่วนราชการท้องถิ่น (ในการใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535) ซึ่ง เป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมกำกับ และดำเนินงาน ในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัยร้านชำคุณภาพตลาดน่าซื้อ ทำให้ไม่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดในแต่ละประเภท
ในการนี้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนมวังก์จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ส่งเสริมการสุขาภิบาลอาหาร และการคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2564 โดยเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของพชต.ตำบลพนมวังก์ ในการขับเคลื่อน อาศัยความร่วมมือของประชาชนอสม.ผู้นำชุมชนวัดโรงเรียนสถานประกอบการร้านอาหารแผงลอย ตลาดร้านขายอาหารสด ในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัยร้านชำคุณภาพตลาดน่าซื้อ ให้สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์แต่ละประเภท ลดการป่วยด้วยโรค อุจจาระร่วงมะเร็งต่างๆและโรคอาหารเป็นพิษและส่งเสริมการท่องเที่ยว สนับสนุนเศรษฐกิจของพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเก็บข้อมูลโรงเรียน วัด ตลาด ร้านอาหารและแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสด ในหมู่บ้าน

ตำบลพนมวังก์ มีข้อมูลโรงเรียน วัด ตลาดร้านอาหารและแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสดที่เป็นปัจจุบันในการดำเนินงาน1ชุด

1.00 1.00
2 เพื่อให้ความรู้แก่แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน โรงเรียน วัด ตลาด ร้านอาหารและแผงลอบ ร้านชำ ร้านขายอาหารสด และทำข้อตกลงร่วมกันในการรณรงค์ส่งเสริมการสุขาภิบาลอาหาร
  1. สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ทำข้อตกลงตามมาตรฐานท้องถิ่น  ร้อยละ  100
80.00 100.00
3 เพื่อพัฒนาโรงเรียน วัด ตลาด ร้านอาหารและแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสด ให้ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 90

โรงเรียน วัด ตลาดร้านอาหาร และแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสดผ่านเกณฑ์
ร้อยละ 90

80.00 90.00
4 เพื่อให้สถานประกอบการได้รับป้ายมาตรฐานท้องถิ่น

สถานประกอบการ ได้รับป้ายมาตรฐานท้องถิ่น
ร้อยละ90

80.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 31,369.00 0 0.00
26 - 30 เม.ย. 64 จัดประชุมแกนนำ อสม.ในการจัดเก็บขัอมูล โรงเรียน วัด ตลาดร้านอาหารและแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสดในหมู่บ้านตามแบบฟอร์มที่กำหนด 0 1,100.00 -
1 - 31 พ.ค. 64 ให้ความรู้ความเข้าใจ แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน โรงเรียน วัด ตลาด ร้านอาหารและแผงลอย ร้านชำ ร้านขายอาหารสด ทำข้อตกลงร่วมกันในการรณรงค์ส่งเสริมการสุขาภิบาลอาหาร และการคุ้มครองผู้บริโภค ตามเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่น 0 1,500.00 -
1 มิ.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 ประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารเก็บตัวอย่างอาหารตรวจสารปนเปื้อนตรวจร้านช 0 14,769.00 -
1 - 31 ส.ค. 64 มอบป้ายมาตรฐานท้องถิ่น โดยที่มาตรฐานมีอายุ 1 ปี (ต่ออายุ ทุก1ปี) 0 14,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ในการจัดการสุขาภิบาลอาหาร โดยเฉพาะเรื่องการจัดการคัดแยกขยะต้นทาง การใช้ขยะพลาสติก ภาวการใช้ขยะพลาสติก ภาวะมลพิษจากกลิ่นเหม็นฝุ่นควันละอองน้ำเสียตลอดจนการสุขาภิบาลอาหารน้ำดื่มน้ำใช้ ผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 90
  2. ทุกภาคส่วนร่วมทำกิจกรรมอย่างจริงจัง สร้างความต่อเนื่องในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ
  3. สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่าย ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ในการจัดการสุขาภิบาลอาหาร ได้รับป้ายมาตรฐานท้องถิ่น อาหารปลอดภัย ร้านชำคุณภาพ ตลาดน่าซื้อ โดยที่มาตรฐานมีอายุ 1 ปีร้อยละ 90
  4. ผู้ประกอบการร้านอาหารมีความรู้ และการปฏิบัติตามมาตรฐานจากการประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรค อุจจาระร่วงไข้เลือดออก และโรคอาหารเป็นพิษ ของผู้ประกอบการร้อยละ 801.
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 00:00 น.