กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพประชาชนที่มีความเสี่ยง บ้านโคกยาง หมู่ที่ 6 ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพประชาชนที่มีความเสี่ยง บ้านโคกยาง หมู่ที่ 6 ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

คณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีหมู่ที่ ๖

1. นางสมศรี ดำช่วย
2. นางอนงค์ ชูปู
3. นางประคองศรี จิตรรักษ์
4. นางจำปา ด้วงชู
5. นางกัลยา เพรชรักษ์

บ้านโคกยาง หมู่ที่ 6 ต. พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ทุกชุมชนต่างมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตสืบทอดโดยคน รุ่นก่อนในชุมชน มีการสั่งสมภูมิปัญญาด้านต่างๆ และผ่านการพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร การดูแลรักษาสุขภาพและการบำบัดโรค ซึ่งผ่านการลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกัน โรคของชุมชน ตัวอย่างเช่น การรับประทานพืชผักเพื่อบำรุงร่างกาย การรักษาโรคด้วยสุมนไพรเป็นต้น
ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากภูมิปัญญาทางอาหารของคนไทยจะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีแล้วยัง ช่วยลดปัญหาสาธารณสุขของประเทศชาติได้ โดยช่วยรัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล คณะกรรมการพัฒนาสตรี หมุ่ที่ ๖ ตำบลพนมวังก์อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงตามแผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง เบาหวาน ความดัน ปวดเหมื่อย น รวมถึงการพึ่งพาภูมิปัญญาของวิถีชุมชนที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ มาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกผักพื้นบ้านที่ส่งเสริมสุขภาพทางเลือก ตำบลละ 1 แห่ง

มีแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกผักพื้นบ้านที่ส่งเสริมสุขภาพทางเลือก

0.00 1.00
2 เพื่อส่งเสริมการใช้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพทางเลือก ลดการปนเปื้อนจากสารตกค้างที่ก่อให้เกิดโรค ต่าง ๆ ป้องกันโรค รักษาโรค โดยภูมิรู้จากชุมชน ลดการใช้สารเคมีทุกประเภทให้ได้ เกิดเป็นทุนของงบประมาณแผ่นดิน ไปพัฒนาด้านอื่นได้มากขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพทางเลือก ลดการปนเปื้อนจากสารตกค้างที่ก่อให้เกิดโรค ต่าง ๆ ป้องกันโรค รักษาโรค โดยภูมิรู้จากชุมชน ลดการใช้สารเคมีทุกประเภทให้ได้

0.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้ ในเรื่องสารตกค้าง สารปนเปื้อนในผัก ในอาหาร และ การผสมปุ๊ยจาก มูลสัตว์เว้นจากการใช้เคมี

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้ ในเรื่องสารตกค้าง สารปนเปื้อนในผัก ในอาหาร และ การผสมปุ๊ยจาก มูลสัตว์เว้นจากการใช้เคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน (40 คน x 50 บาท) เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง (40 x 50 บาท) เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าวิทยากร (4 ชม. x 600 บาท)เป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในเรื่องสารตกค้าง สารปนเปื้อนในผัก ในอาหาร และการผสมปุ๋ยจากมูลสัตว์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักปลดสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักปลดสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าพันธ์ุผักต่าง ๆ คะน้า,กว้างตุ้ง,ผักชี,ผักกาดขาว (160 ซอง * 25 บาท) เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ขี้วัว (80 กระสอบ * 40 บาท ) เป็นเงิน   3,200  บาท
  • ค่าอีเอ็ม (60 กิโลกรัม * 60 บาท) เป็นเงิน   3,600  บาท
  • ค่ากากน้ำตาล  (60 กิโลกรัม *  10 บาท) เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าขุยมะพร้าว (80 กระสอบ* 40 บาท) เป็นเงิน    3,200  บาท
  • ค่าแกลบดำ (40 กระสอบ* 60 บาท) เป็นเงิน  2,400 บาท
  • ค่าขี้แพะ (20 กระสอบ* 40 บาท ) เป็นเงิน  800บาท
  • ค่าขี้หมู (40 กระสอบ*50 บาท)  เป็นเงิน  2,000 บาท
  • ค่าปุยยูเรีย (1 กระสอบ * 900 บาท ) เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าดินร่วนผสมปุ๋ย (4 คิว * 250 บาท) เป็นเงิน  1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการสนับสนุนให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีศูนย์เรียนรู้ด้านการส่งเสริมการปลูกผักพื้นบ้านไร้สารพิษ ตำบลละ 1 แห่ง
2.เป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยศาสตร์การใช้ธรรมชาติ


>