กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพประชาชนที่มีความเสี่ยง บ้านโคกยาง หมู่ที่ 6 ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรี ม.6 ต.พนมวังก์
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมศรี ดำช่วย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกชุมชนต่างมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตสืบทอดโดยคน รุ่นก่อนในชุมชน มีการสั่งสมภูมิปัญญาด้านต่างๆ และผ่านการพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร การดูแลรักษาสุขภาพและการบำบัดโรค ซึ่งผ่านการลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกัน โรคของชุมชน ตัวอย่างเช่น การรับประทานพืชผักเพื่อบำรุงร่างกาย การรักษาโรคด้วยสุมนไพรเป็นต้น ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากภูมิปัญญาทางอาหารของคนไทยจะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีแล้วยัง ช่วยลดปัญหาสาธารณสุขของประเทศชาติได้ โดยช่วยรัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล คณะกรรมการพัฒนาสตรี หมุ่ที่ ๖ ตำบลพนมวังก์อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงตามแผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง เบาหวาน ความดัน ปวดเหมื่อย น รวมถึงการพึ่งพาภูมิปัญญาของวิถีชุมชนที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ มาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกผักพื้นบ้านที่ส่งเสริมสุขภาพทางเลือก ตำบลละ 1 แห่ง

มีแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกผักพื้นบ้านที่ส่งเสริมสุขภาพทางเลือก

0.00 1.00
2 เพื่อส่งเสริมการใช้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพทางเลือก ลดการปนเปื้อนจากสารตกค้างที่ก่อให้เกิดโรค ต่าง ๆ ป้องกันโรค รักษาโรค โดยภูมิรู้จากชุมชน ลดการใช้สารเคมีทุกประเภทให้ได้ เกิดเป็นทุนของงบประมาณแผ่นดิน ไปพัฒนาด้านอื่นได้มากขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพทางเลือก ลดการปนเปื้อนจากสารตกค้างที่ก่อให้เกิดโรค ต่าง ๆ ป้องกันโรค รักษาโรค โดยภูมิรู้จากชุมชน ลดการใช้สารเคมีทุกประเภทให้ได้

0.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,100.00 0 0.00
26 - 30 เม.ย. 64 จัดกิจกรรมให้ความรู้ ในเรื่องสารตกค้าง สารปนเปื้อนในผัก ในอาหาร และ การผสมปุ๊ยจาก มูลสัตว์เว้นจากการใช้เคมี 0 6,400.00 -
5 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักปลดสารเคมี 0 21,700.00 -

1.จัดกิจกรรมให้ความรู้ ในเรื่องสารเคมีตกค้าง ปนเปื้อนในอาหาร ผัก ผลไม้ 2.การสาธิตการผสมปุ๊ยจากมูลสัตว์ที่ปลอดจากสารเคมี 3.จำนวนครัวเรือนท่ีเข้าร่วมกิจกรรม 40 ครัวเรือน
4.มอบกิ่งมะนาว และปุ๊ยหมักให้ครัวเรือนทั้ง 40 ครัวเรือน 5.ปุ๊ยหมักจะต้องหมักไว้ 15 วัน ถึง 1 เดือน แล้วนำมาใช้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีศูนย์เรียนรู้ด้านการส่งเสริมการปลูกผักพื้นบ้านไร้สารพิษ ตำบลละ 1 แห่ง 2.เป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยการลดการใช้สารเคมีทุกชนิด 3.ให้ความรู้การลดการใช้สารเคมี 4.การสาธืตการผสมปุ๊ยจากมูลสัตว์ท่ีไม่ปนเปื้อนสารเคมี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2564 00:00 น.