กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง

เขตพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ที่เริ่มการระบาดเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๓ ณสาธารณรัฐประชาชนจีนมีสาเหตุจากไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV)และพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓โดยมีอัตราความรุนแรงของโรคถึงขั้นเสียชีวิตค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มการระบาดต่อเนื่องซึ่งเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ได้มีการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยสถานการณ์ปัจจุบันมีผู้ป่วยในประเทศสะสมจำนวน ๑๒,๗๙๕ ราย รายใหม่ ๑๔๒ เสียชีวิต ๗๑ ราย (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๔)
รัฐบาลไทยได้มีมาตรการในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค โดยให้ทุกจังหวัดโดยเฉพาะหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ เป็นไปตามหนังสือกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๖๒๔ (บกปภ)/ว ๑๖ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๓ เรื่องเตรียมความพร้อมป้องกันกรณีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) และจังหวัดยะลาได้สั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ ตามหนังสือจังหวัดยะลา ด่วนที่สุด ที่ ยล ๐๐๑๘.๑/ว ๑๖๐ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) (ระลอกใหม่) ในพื้นที่จังหวัดยะลา
เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวงซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๑๔ พ.ศ.๒๕๖๒ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ และเป็นไปตามหนังสือสั่งการจังหวัดยะลา ดังนั้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง จึงจัดทำโครงการ “เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)”ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และสร้างความตระหนักการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) แก่นักเรียนและบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่

ร้อยละของผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก ได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

85.00
2 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ในเขตพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง

ร้อยละของประชาชนในพื้นที่ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และมีความตระหนักในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

85.00
3 เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

ร้อยละของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 250
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดพร้อมขาตั้ง จำนวน 2 เครื่อง X 2,500 บาท เป็นเงิน  5,000 บาท
  • ค่าเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ขนาด 500 ml จำนวน 10 ขวด X 150 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าถุงมือทางการแพทย์ 5 กล่อง X 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 10 กล่อง X 125 บาท เป็นเงิน  1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวงได้รับการเฝ้าระวัง และมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าหน้ากากอนามัยนักเรียนแบบผ้า 250 ชิ้น X 15 บาท  เป็นเงิน 3,750 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 250 คน X 35 บาท  เป็นเงิน 8,750 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 270 คน X 25 บาท  เป็นเงิน 6,750 บาท
  • ค่าเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ขนาด 500 ml จำนวน 5 ขวด X 150 บาท X 4 ศูนย์ เป็นเงิน  3,000 บาท
  • ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล จำนวน 4 เครื่อง X 2,500 บาท เป็นเงิน  10,000 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 X 2 เมตร เป็นเงิน 500 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 3 ชั่วโมง. x 1 คน = 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก ได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34550.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5 X 2 เมตร X 4  ป้าย เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าวัสดุในการทำแผ่นพับ เป็นเงิน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และมีความตระหนักในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ผู้ปกครอง ครูผู้สอน และประชาชนมีความเข้าใจ และตระหนักถึงการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
- มีระบบการคัดกรองเบื้องต้น คือ มีเครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิและหน้ากากผ้าให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่
- เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน


>