กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา

นายพิชิตชัยเจ๊ะมะ
นางสาวซูรีตาดาโอ๊ะ
นางสาวอารีซะเบญจมามาศ
นางณิชนันทน์สาแล๊ะ
นางสาวโนรียาบินอูเซ็ง

หมู่1,3,6,7ตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออก ไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
เทศบาลตำบลปาเสมัส เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก มาอย่างต่อเนื่องโดยพบผู้ป่วยกระจายทุกหมู่บ้านและมีแนวโน้มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยมียุงลายเป็นพาหะและอันตรายถึงแก่ชีวิตการระบาดของโรคไข้เลือดออก ส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – กันยายน ของทุกปี ซึ่งในปี 2563 ในอำเภอสุไหงโก-ลกมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 103 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 131.93 ต่อแสนประชากร สำหรับในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา พื้นที่หมู่ที่ 1,3,6,7 ตำบลปาเสมัส มีผู้ป่วยทั้งหมด 11 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 117.26 ต่อแสนประชากรและจำนวนผู้ป่วยส่งสัยโรคไข้เลือดออกจำนวน 71 คน รวมทั้งหมด 82 คน อัตราป่วยนี้สามารถชี้ได้ว่าเกิดการระบาดในพื้นที่ เพราะอัตราป่วยตามหลักวิชาการไม่เกินร้อยละ50/แสนประชากร โดยชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และการควบคุมโรคด้านอื่นๆ ให้ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงจากปัญหาโรคไข้เลือดออกต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยหรือไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยไม่เกินร้อยละ50ต่อแสนประชากร

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 320
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก แก่แกนนำนักเรียนโรงเรียนบ้านกวาลอซีราและโรงเรียนบ้านชรายอ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก แก่แกนนำนักเรียนโรงเรียนบ้านกวาลอซีราและโรงเรียนบ้านชรายอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 120 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 6,000.- บาท
    • ค่าอาหารกลางวันผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000.- บาท
    • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน เป็นเวลา 2 วัน วันละ 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 400 บาท เป็นเงิน 3,200.- บาท
    • ค่าวัสดุในการดำเนินงาน สมุด จำนวน 100 เล่มเล่มละ10 บาท เป็นเงิน 1,000.- บาท ปากกา จำนวน 100 ด้าม ด้ามละ 6 บาท เป็นเงิน 600.- บาท แฟ้มใส่เอกสาร จำนวน 100 แฟ้ม แฟ้มละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000.- บาท
    • ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับให้ความรู้โรคไข้เลือดออก จำนวน 100 แผ่น แผ่นละ 5 บาท เป็นเงิน 500.- บาท
    • ค่าไวนิลโครงการ 1 เมตร x 2 เมตร จำนวน 2 ผืนๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000.- บาท
    • ค่าไวนิล 80 ซม. X 180 ซม. จำนวน 4 ชุดๆ ละ 360บาท เป็นเงิน 1,440.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและพร้อมที่จะให้
    ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
  4. หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15640.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรม Big cleaning day ในหมู่บ้านและโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรม Big cleaning day ในหมู่บ้านและโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดกิจกรรม Big cleaning day ในหมู่บ้านจำนวน 4 หมู่ๆ ละ 50 คน    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับประชาชนทั่วไป จำนวน 200 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท                                                      เป็นเงิน 5,000.-    บาท    - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 เมตร x 2 เมตร จำนวน 5 ผืนๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,500.-    บาท                               
2.2 กิจกรรม Big cleaning day ในโรงเรียน จำนวน 2 โรงๆ ละ 100 คน    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับนักเรียน จำนวน 200 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท                                                    เป็นเงิน 5,000.-    บาท    -ค่าไวนิลโครงการ 1 เมตร x 2 เมตร จำนวน 2 ผืนๆ ละ 500 บาท        เป็นเงิน 1,000.-    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและพร้อมที่จะให้
    ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
  4. หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควันทำลายตัวแก่ยุงลาย จำนวน 800 หลังๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 12,000.- บาท
  • ค่าวัสดุน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล                        เป็นเงิน 5,000.-    บาท
  • ค่าวัสดุน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซิน                                                         เป็นเงิน 3,000.-    บาท
  • ค่าน้ำยาเคมีพ่นยุง (ขวดละ 1 ลิตร) จำนวน 2 ขวดๆ ละ 1,650 บาท                เป็นเงิน 3,300.- บาท
  • ค่าทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ขนาด 50 กรัม จำนวน 2 ถัง (500ซอง) ถังละ 3,500 บาท    เป็นเงิน 7,000.-    บาท
  • ค่าสเปรย์กระป๋องกำจัดยุงขนาด300ml จำนวน100 กระป๋องๆ ละ79 บาท              เป็นเงิน 7,900.-  บาท
  • ค่าโลชั่นป้องกันยุงแบบซองขนาด 8 ml จำนวน 250 ซองๆ ละ 8 บาท        เป็นเงิน 2,000.-    บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและพร้อมที่จะให้
    ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
  4. หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 69,340.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
2. ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
3. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและพร้อมที่จะให้
ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
4. หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่


>