กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี2564
รหัสโครงการ 64-L2535-01-26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 69,340.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูรีตา ดาโอ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 320 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออก ไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา เทศบาลตำบลปาเสมัส เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก มาอย่างต่อเนื่องโดยพบผู้ป่วยกระจายทุกหมู่บ้านและมีแนวโน้มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยมียุงลายเป็นพาหะและอันตรายถึงแก่ชีวิตการระบาดของโรคไข้เลือดออก ส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – กันยายน ของทุกปี ซึ่งในปี 2563 ในอำเภอสุไหงโก-ลกมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 103 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 131.93 ต่อแสนประชากร สำหรับในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา พื้นที่หมู่ที่ 1,3,6,7 ตำบลปาเสมัส มีผู้ป่วยทั้งหมด 11 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 117.26 ต่อแสนประชากรและจำนวนผู้ป่วยส่งสัยโรคไข้เลือดออกจำนวน 71 คน รวมทั้งหมด 82 คน อัตราป่วยนี้สามารถชี้ได้ว่าเกิดการระบาดในพื้นที่ เพราะอัตราป่วยตามหลักวิชาการไม่เกินร้อยละ50/แสนประชากร โดยชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และการควบคุมโรคด้านอื่นๆ ให้ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงจากปัญหาโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยหรือไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยไม่เกินร้อยละ50ต่อแสนประชากร

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก แก่แกนนำนักเรียนโรงเรียนบ้านกวาลอซีราและโรงเรียนบ้านชรายอ 0 15,640.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 2. กิจกรรม Big cleaning day ในหมู่บ้านและโรงเรียน 0 13,500.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 3. กิจกรรมควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน 0 40,200.00 -
รวม 0 69,340.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและพร้อมที่จะให้
    ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
  4. หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 10:30 น.