กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสว่าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ในกลุ่มผลเลือดเสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสว่าง

รพสต.โคกสว่าง

ตำบลโคกสว่าง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลสุขภาพตำบลโคกสว่าง ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและป้องกันควบคุมโรค ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรหันมาใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชแทนการใช้พืชที่เป็นสมุนไพรหรือใช้วิธีชีวภาพปราบศัตรูพืชกันมากขึ้นทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจในการเลือกบริโภคอาหารประเภทผักและผลไม้ในเขตรับผิดชอบการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสว่าง ก็เป็นพื้นที่ที่ประชากรมีอาชีพเป็นเกษตรกรจากข้อมูลการดำเนินงานอาชีวอนามัย ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสว่างผู้บริโภคทั่วไปในเขตรับผิดชอบตำบลโคกสว่างข้อมูลการบริโภคผักผลไม้ของประชาชนในพื้นที่ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่นิยมซื้อผักที่แม่ค้าคนกลางนำมาขายตระเวนตามหมู่บ้านมากกว่าการปลูกผักกินเอง แต่มีประชาชนส่วนหนึ่งในพื้นที่ปลูกผักกินเอง และถ้าเหลือจากกินก็จะนำไปขายที่ตลาดใกล้บ้านหรือคลองถมจากการสอบถามผู้ปลูกผักก็ยังพบการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชอยู่ จากผลการดำเนินงานคัดกรองการตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกรประจำปีงบประมาณ 2563 พบว่า จากการคัดกรองทั้งหมด 362 คน ผลปกติ จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 20.71 ผลปลอดภัย จำนวน 107 คน คิดเป็นร้อยละ 29.55 ผลเสี่ยงจำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 27.62 และผลไม่ปลอดภัยจำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 22.09
ดังนั้นเพื่อเป็นการยับยั้ง และปลูกจิตสำนึกของเกษตรกรผู้ปลูกผักทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสว่างจึงได้ทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ในกลุ่มเสี่ยง และไม่ปลอดภัย ตำบลโคกสว่าง อำเภอปลาปากจังหวัดนครพนม ปีงบประมาณ ๒๕๖4 เพื่อตรวจหาสารพิษและสารเคมีตกค้างในเกษตรกรเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ปัญหาสารเคมีตกค้างในร่างกายของเกษตรกรและผู้บริโภคตั้งแต่ต้นทางโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกสว่าง เป็นเงิน 20,5๐๐บาท (สองหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมดังนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2. เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3. เพื่อเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง ว่าสารเคมีแต่ละชนิดส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
๒. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ก่อนใช้สารเคมี ขณะใช้ และหลังใช้สารเคมี
3. ประชาชนในเขตตำบลโคกสว่างมีการเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร


>