กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ในกลุ่มผลเลือดเสี่ยง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.โคกสว่าง
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.โคกสว่าง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสว่าง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลสุขภาพตำบลโคกสว่าง ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและป้องกันควบคุมโรค ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรหันมาใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชแทนการใช้พืชที่เป็นสมุนไพรหรือใช้วิธีชีวภาพปราบศัตรูพืชกันมากขึ้นทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจในการเลือกบริโภคอาหารประเภทผักและผลไม้ในเขตรับผิดชอบการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสว่าง ก็เป็นพื้นที่ที่ประชากรมีอาชีพเป็นเกษตรกรจากข้อมูลการดำเนินงานอาชีวอนามัย ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสว่างผู้บริโภคทั่วไปในเขตรับผิดชอบตำบลโคกสว่างข้อมูลการบริโภคผักผลไม้ของประชาชนในพื้นที่ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่นิยมซื้อผักที่แม่ค้าคนกลางนำมาขายตระเวนตามหมู่บ้านมากกว่าการปลูกผักกินเอง แต่มีประชาชนส่วนหนึ่งในพื้นที่ปลูกผักกินเอง และถ้าเหลือจากกินก็จะนำไปขายที่ตลาดใกล้บ้านหรือคลองถมจากการสอบถามผู้ปลูกผักก็ยังพบการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชอยู่ จากผลการดำเนินงานคัดกรองการตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกรประจำปีงบประมาณ 2563 พบว่า จากการคัดกรองทั้งหมด 362 คน ผลปกติ จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 20.71 ผลปลอดภัย จำนวน 107 คน คิดเป็นร้อยละ 29.55 ผลเสี่ยงจำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 27.62 และผลไม่ปลอดภัยจำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 22.09 ดังนั้นเพื่อเป็นการยับยั้ง และปลูกจิตสำนึกของเกษตรกรผู้ปลูกผักทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสว่างจึงได้ทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ในกลุ่มเสี่ยง และไม่ปลอดภัย ตำบลโคกสว่าง อำเภอปลาปากจังหวัดนครพนม ปีงบประมาณ ๒๕๖4 เพื่อตรวจหาสารพิษและสารเคมีตกค้างในเกษตรกรเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ปัญหาสารเคมีตกค้างในร่างกายของเกษตรกรและผู้บริโภคตั้งแต่ต้นทางโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกสว่าง เป็นเงิน 20,5๐๐บาท (สองหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมดังนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) สำรวจ/ติดตามกลุ่มเกษตรกรที่มีผลเลือดเสี่ยง และ ไม่ปลอดภัย ในชุมชน
2)ถ่ายทอดความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเกษตรกร 3)จัดกิจกรรมเชิงรุก ตรวจคัดกรองซ้ำแก่ผู้ที่มีผลเลือดเสี่ยงและไม่ปลอดภัยต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4) อบรมให้ความรู้กับเกษตรกรที่มีภาวะผลเลือดเสี่ยง ไม่ปลอดภัย 5) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต 6) ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน 7). สรุป ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง ว่าสารเคมีแต่ละชนิดส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ๒. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ก่อนใช้สารเคมี ขณะใช้ และหลังใช้สารเคมี 3. ประชาชนในเขตตำบลโคกสว่างมีการเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 15:32 น.