กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเราชวนเลิกบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า

ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน 11.4 ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.7 ต่อประชาการพันคนในกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6 และกลุ่มอายุ 15-24 ปีร้อยละ 14.7 ตามลำดับเป็นผู้ชายร้อยละ 40.5 และผู้หญิงร้อยละ 2.2โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.2 ล้านคน และทั้งบุหรี่โรงงาน/บุหรี่มวนเอง 1.9 ล้านคน และมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านร้อยละ 28.1 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว2-3 แสนคนต่อปีคนไทยเสียชีวิตจาการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คนและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมดผู้สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคนใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในระยะเวลา 3 ปี(ปี2560-2562)จะดำเนินการเพื่อลดอัตราจำนวนประชากรผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จากปัจจุบันร้อยละ 19.9 ให้เหลือร้อยละ 16.7 ลดอัตราการรับควันบุหรี่มือสองให้เหลือร้อยละ 25
สำหรับพื้นที่ตำบลเกาะสะบ้าที่ผ่านมา ได้มีการจัดทำโครงการห่วงใยสุขภาพ ลด ละ เลิกบุหรี่ ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยในปี 2562 โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน มีผู้สามารถเลิกบุหรี่ติดต่อกันนาน 6 เดือนจำนวน 4 คน แต่กลับไปสูบซ้ำอีกจำนวน 3 คน มีผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่เกิน 6 เดือน โดยไม่กลับไปสูบซ้ำจำนวน 1 คน
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้าได้เล็งเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากพอสมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไข จึงได้จัดทำโครงการเราชวนเลิกบุหรี่ขึ้น เนื่องจากบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทยที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบและป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากบุหรี่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1 เพิ่มร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ข้อที่ 2 เพิ่มมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ
ข้อที่ 3 เพิ่มจำนวนผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ (เลิกติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน โดยไม่กลับไปสูบซ้ำ)เพิ่มขึ้น
ข้อที่ 4 เพิ่มจำนวนบุคคลคนต้นแบบในชุมชนที่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมประชาคมเพื่อนำเสนอปัญหาและหาแนวทางแก้ไข กำหนดมาตรการในชุมชน สถานที่ปลอดบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมประชาคมเพื่อนำเสนอปัญหาและหาแนวทางแก้ไข กำหนดมาตรการในชุมชน สถานที่ปลอดบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

•  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คน× 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท •  ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์การประชุมประชาคม ขนาด 1.2*2.4 เมตร จำนวน 1 แผ่น× 518 บาทเป็นเงิน 518 บาท •  เอกสารแผ่นพับความรู้เรื่องบุหรี่ 40 ชุด×6 บาทเป็นเงิน       240 บาท •  ค่าหลอดเป่าเครื่อง Smokertyzer จำนวน(100 ชิ้น) × 2 กล่อง ×350 บาทเป็นเงิน 700 บาท •  ค่าตอบแทนบุคคลต้นแบบ จำนวน 1 ชม.×600 บาท เป็นเงิน 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,058 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มีนาคม 2564 ถึง 26 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3058.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ร้านค้า ประชาชนที่เกี่ยวข้องถึงโทษและอันตรายจากบุหรี่/สาธิตการนวดฝ่าเท้าเพื่อลดความอยากบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ร้านค้า ประชาชนที่เกี่ยวข้องถึงโทษและอันตรายจากบุหรี่/สาธิตการนวดฝ่าเท้าเพื่อลดความอยากบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

•  ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้จำนวน 3 ชม.×600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท •  หญ้าดอกขาวแห้งจำนวน 2 กิโลกรัม × 100 บาท    เป็นเงิน       200 บาท •  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คน×25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท •  ป้ายไวนิลการจัดอบรมเรื่องบุหรี่ขนาด 1.2*2.4 เมตร จำนวน 1 แผ่น× 518 บาทเป็นเงิน 518 บาท •  ค่าเอกสารแบบสอบถามก่อน-หลังเกี่ยวกับความรู้เรื่องบุหรี่ 80 ชุด × 3 บาท เป็นเงิน 240 บาท •  แฟ้มเอกสารสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 40 ชุด× 30 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 4,958 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2564 ถึง 9 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4958.00

กิจกรรมที่ 3 จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง ค้นหาทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง ค้นหาทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

•  ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองผู้สูบบุหรี่(ตรวจหาปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกใซด์ในปอด) เป็นเงิน 600 บาท •  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คน ×25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท •  ป้ายไวนิลคัดกรองก่ารสูบบุหรี่ ขนาด 1.2*2.4 เมตร จำนวน 1 แผ่น× 518 บาทเป็นเงิน 518 บาท •  ค่าหลอดเป่าเครื่อง Smokertyzer จำนวน(100 ชิ้น)  2 กล่อง ×350 บาทเป็นเงิน 700 บาท รวมเป็นเงิน 2,818 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 เมษายน 2564 ถึง 12 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2818.00

กิจกรรมที่ 4 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

•  ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์การเลิกบุหรี่ขนาด 1.22.4 เมตร จำนวน 9 แผ่น× 518 บาทเป็นเงิน 4,662 บาท •  ค่าป้ายไวนิลห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ขนาด 1.01.2 เมตร จำนวน 14 แผ่น× 216 บาทเป็นเงิน 3,024 บาท รวมเป็นเงิน 7,686 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กันยายน 2564 ถึง 23 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7686.00

กิจกรรมที่ 5 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถอดบทเรียนความสำเร็จ

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถอดบทเรียนความสำเร็จ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

•  ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชม.×600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท •  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คน ×25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท •  กระดาษทำเกียรติบัตร จำนวน 1 รีม×220 บาท เป็นเงิน 220 บาท •  ซองแข็งใส่เกียรติบัตร จำนวน 50 แผ่น× 22 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท •  ป้ายไวนิลถอดบทเรียนเรื่องบุหรี่ขนาด 1.2*2.4 เมตร จำนวน 1 แผ่น× 518 บาทเป็นเงิน 518 บาท รวมเป็นเงิน 4,638 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กันยายน 2564 ถึง 23 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4638.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,158.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใน ถึงโทษภัยบุหรี่เพิ่มขึ้น
2. มีร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่ปฏิบัติตามกฎหมายได้ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น
3. มีผู้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จเพิ่มขึ้น
4. เพิ่มบุคคลคนต้นแบบในชุมชนที่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ


>