กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย (03-11)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะบิงติงงี

ม. 1 ต.ตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะบิงงีกลุ่มอายุระหว่าง 2 – 5 ปี เป็นวัยที่มักจะมีปัญหาสุขภาพและโรคติดต่อซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของนักเรียนและเด็กจะมีปัญหาในระยะยาวต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านร่างกายอารมณ์-จิตใจสังคม และสติปัญญา หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง โดยเฉพาะสุขภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต ถ้าเด็กมีสุขภาพดี จะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ.2546 ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ตามศักยภาพของเด็ก โดยผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิตทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจสามารถครองชีวิตอย่างเป็นสุข ในปัจจุบันการปฏิรูปการศึกษาได้ปฏิรูปไปสู่การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นมากเพราะการที่เด็กมีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจซึ่งเป็นสิทธิขั้นต้นของมนุษย์ ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ และเป็นหน้าที่ของคนทุกคนจะต้องแสวงหา สร้างเสริมให้เกิดกับตนเอง พร้อมทั้งช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิด
ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะบิงติงงีซึ่งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอด จึงร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชนในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนเพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง โดยจัดให้มีโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อในเด็กปฐมวัยขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย และส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อรักษาเป็นลำดับต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะบิงติงงี มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงตามวัย

ร้อยละ100 เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังสุขภาพ

100.00 100.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง และครู มีความรู้ ความเข้าใจ ในการกำจัดเหาและส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน

ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็ก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจการกำจัดเหาและส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน

100.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 32
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 32
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพนักเรียน จำนวน 2 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพนักเรียน จำนวน 2 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ 1 ป้าย (ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.) =  1,000 บาท

  2. ค่าตอบแทนวิทยากร (1 คน x 2 ชม.x2 รุ่นx300 บาท)
    =  1,200 บาท

  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (150 คน×1 มื้อx25บาท) =  3,750 บาท


  4. ค่าวัสดุ   ค่าวัสดุประกอบการอบรม (75 ชุด x 30 บาท)   ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์

-  หน้ากากอนามัย 2 กล่อง x 150 บาท

-  เจลล้างมือ ขนาด 250 มล.2 ขวด x 300 บาท

=

2,250 บาท 900 บาท

รวม    9,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง  32  คน  นักเรียน  32  คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

กิจกรรมที่ 2 สานสัมพันธ์ร่วมกันกำจัดเหาให้นักเรียน (เฉพาะผู้ปกครองที่มีบุตรสาว จำนวน 32 คน)

ชื่อกิจกรรม
สานสัมพันธ์ร่วมกันกำจัดเหาให้นักเรียน (เฉพาะผู้ปกครองที่มีบุตรสาว จำนวน 32 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ 1 ป้าย (ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.) =  1,000 บาท

2.  ค่าตอบแทนวิทยากร (1 คน x 2 ชม.x300 บาท)

600 บาท

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (64 คน ×1 มื้อ x25 บาท) =  1,600 บาท

  2. ค่าวัสดุ   ค่ายากำจัดเหา (32 ชุด x 60 บาท)   ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์

-  หน้ากากอนามัย 2 กล่อง x 150 บาท
เจลล้างมือ ขนาด 250 มล. 2 ขวดx 300 บาท

=


1,920 บาท 900 บาท

รวม      6,020 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง 32  คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6020.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,120.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อให้เด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะบิงติงงีมีสุขภาพและร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ตามวัย
2. เพื่อให้ ผู้ปกครองให้ความสนใจในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน
3. เพื่อให้ผู้ปกครองและครู มีความรู้ สามารถหาวิธีป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน


>