กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย (03-11)
รหัสโครงการ 64-l4123-03-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะบิงติงงี
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 31 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 15,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรูฮานี มะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะบิงงีกลุ่มอายุระหว่าง 2 – 5 ปี เป็นวัยที่มักจะมีปัญหาสุขภาพและโรคติดต่อซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของนักเรียนและเด็กจะมีปัญหาในระยะยาวต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านร่างกายอารมณ์-จิตใจสังคม และสติปัญญา หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง โดยเฉพาะสุขภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต ถ้าเด็กมีสุขภาพดี จะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ.2546 ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ตามศักยภาพของเด็ก โดยผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิตทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจสามารถครองชีวิตอย่างเป็นสุข ในปัจจุบันการปฏิรูปการศึกษาได้ปฏิรูปไปสู่การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นมากเพราะการที่เด็กมีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจซึ่งเป็นสิทธิขั้นต้นของมนุษย์ ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ และเป็นหน้าที่ของคนทุกคนจะต้องแสวงหา สร้างเสริมให้เกิดกับตนเอง พร้อมทั้งช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะบิงติงงีซึ่งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอด จึงร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชนในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนเพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง โดยจัดให้มีโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อในเด็กปฐมวัยขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย และส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อรักษาเป็นลำดับต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะบิงติงงี มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงตามวัย

ร้อยละ100 เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังสุขภาพ

100.00 100.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง และครู มีความรู้ ความเข้าใจ ในการกำจัดเหาและส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน

ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็ก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจการกำจัดเหาและส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,120.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 31 พ.ค. 64 ตรวจสุขภาพนักเรียน จำนวน 2 รุ่น 0 9,100.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 พ.ค. 64 สานสัมพันธ์ร่วมกันกำจัดเหาให้นักเรียน (เฉพาะผู้ปกครองที่มีบุตรสาว จำนวน 32 คน) 0 6,020.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์คณะครูผู้ดูแลเด็กฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณารายละเอียด และแนวทางการจัดโครงการเข้าแผนสุขภาพ
2. จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน
3. เสนอโครงการ 4. ประชุมร่วมกันวางแผนงาน/ โครงการ / กิจกรรม
5. ประสานวิทยากร สถานที่และอื่น ๆ ในการจัดการฝึกอบรม 6. ประชาสัมพันธ์โครงการ
7. ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย 8. ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
8.1 กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
- ตรวจสุขภาพฟัน ตา หู ผิวหนังเสื้อผ้า ฯลฯ
- ให้ความรู้ คำแนะนำแก่ ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองนักเรียนที่เด็กมีปัญหาแจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ
8.2 กิจกรรมสานสัมพันธ์ร่วมกันกำจัดเหาให้นักเรียน
- ตรวจสุขภาพศีรษะและเส้นผม
- สาธิตการใช้ยากำจัดเหา
- ร่วมกันกำจัดเหาให้นักเรียน 9. เตรียมแบบบันทึกสุขภาพ
10. ประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการเพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เพื่อให้เด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะบิงติงงีมีสุขภาพและร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ตามวัย 2. เพื่อให้ ผู้ปกครองให้ความสนใจในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน
3. เพื่อให้ผู้ปกครองและครู มีความรู้ สามารถหาวิธีป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2564 14:26 น.