กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทนมีย์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังตำบลเทนมีย์ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทนมีย์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

นางจารุณี มณีรัตน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ
นางสาวกฤติกา สายธนู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางจิตราโพธิ์คำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางปรัศนีย์ วรรณมานะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางสาวอริสรา ไม้อ่อนดี เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน

หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ 14 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

40.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

30.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

10.00
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

20.00

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ เปิดให้บริการคลินิกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 483 ราย และความดันโลหิตสูง 923 รายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 324 ราย จำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการต่อเนื่องที่คลินิกโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 376 ราย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 10 ราย แยกเป็นป่วยด้วยโรคเบาหวาน 63 ราย โรคความดันโลหิตสูง 216 ราย ป่วยด้วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง 87 ราย พบว่าอัตราระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ ร้อยละ 77.78 อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ HbA1c น้อยกว่า 7 % ร้อยละ 70.00 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ < 140/90 มม.ปรอท ร้อยละ 73.56 และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2563 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 14 ราย โรคความดันโลหิตสูง 25 ราย ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 100 ราย แบ่งเป็น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ผู้ดูแลครอบครัว จำนวน 50 คน
จากข้อมูลข้างต้น เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน และผู้ดูแลเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการฝึกอบรม/ให้ความรู้ ปัญหาที่สำคัญต่อการดำเนินของโรค เสี่ยงต่อภาวะไตวาย หัวใจล้มเหลว หรือ ภาวะจอประสาทตาเสื่อมจากน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ส่งต่อแพทย์เพื่อรักษา ในกลุ่มป่วยดังกล่าว จึงมีความจำเป็นและควรเริ่มต้นจากการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยและครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังตำบลเทนมีย์ ปี 2564 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้ และมีความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน และเข้าถึงการรับบริการตามสิทธิประโยชน์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

30.00 25.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

40.00 30.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

10.00 5.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

20.00 10.00

เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการฝึกอบรม/ให้ความรู้ ปัญหาที่สำคัญต่อการดำเนินของโรค เสี่ยงต่อภาวะไตวาย หัวใจล้มเหลว หรือ ภาวะจอประสาทตาเสื่อมจากน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ส่งต่อแพทย์เพื่อรักษา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังตำบลเทนมีย์ ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังตำบลเทนมีย์ ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เทนมีย์ พร้อมชี้แจง อสม. วางแผนดำเนินงาน 3. จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ 5.จัดตั้งทีม ออกปฏิบัติงานการเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ  โดย อสม. มีส่วนร่วม 6.ให้ความรู้การออกกำลังกายและการป้องกันการพลัดตกหกล้ม การสาธิตจัดทำอาหารที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแล เยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ
7. จัดทำนวตกรรมโรคเรื้อรัง 8. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงาน
งบประมาณจากเงินบำรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ (งบกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ) จำนวน 24,800 บาท รายละเอียดดังนี้     กิจกรรม     1. การจัดอบรมให้ความรู้สาธิตและฝึกปฏิบัติแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและครอบครัว                                                                       
1.1) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ
                                    เป็นเงิน        5,000  บาท         1.2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน   2  มื้อ                                     เป็นเงิน        5,000  บาท         1.3) ค่าตอบแทนวิทยากร (วิทยากรจากสาธารณสุขอำเภอเมืองสุรินทร์)จำนวน 6 ชั่วโมงๆ          ละ 600 บาท จำนวน 2 วัน          เป็นเงิน        7,200  บาท         1.4) ค่าเครื่องเสียงและสถานที่จัดอบรม          เป็นเงิน        2,000  บาท         1.5) ค่าป้ายโครงการ                เป็นเงิน           600 บาท 2. จัดทำนวัตกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน  เป็นเงิน        5,000  บาท            รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 24,800 บาท (สองหมื่นสี่พันแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ร้อยละ 100 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ 2.ร้อยละ 90 ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการส่งต่อแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษา 3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน และผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ ร้อยละ 90 ผลลัพธ์ 1.ร้อยละ 100 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ 2.ร้อยละ 100 ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการส่งต่อแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษา 3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน และผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนและอัตราการควบคุมโรคได้ดีเพิ่มขึ้น


>