กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยนาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกำจัดเหาเด็กในวัยเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนาง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยนาง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนาง สังกัดเทศบาลตำบลห้วยนาง

นางสาวรสสุคนธ์เมืองราช

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนาง ตำบลห้วยนาง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลห้วยนาง ได้จัดตั้งกองทุนฯ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กในชุมชน ในปัจจุบันการดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะทั้งนี้ เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะ และดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 4-14 ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย โดยมากนักเรียนที่เป็นเหามักเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง
ประกอบกับมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่าง
สม่ำเสมอแต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนาง คือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนาง ได้เห็นความสำคัญที่ต้องกำจัดเหา และให้นักเรียนเพื่อสุขภาอนามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการกำจัดเหาเด็กในวัยเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขึ้นเพื่อรณรงค์กำจัดโรคเหาให้นักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดของโรคเหาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเหา การกำจัดเหา และการสร้างพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
๒. เพื่อลดอัตรานักเรียนที่เป็นเหาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนาง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 71
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก 2. กำจัดเหาให้นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนาง

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก 2. กำจัดเหาให้นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑ จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ๒. ประชุม วางแผน ดำเนินงานและมอบหมายผู้เกี่ยวข้อง ทุกระดับ ๓. ประสานงาน และส่งแผนการดำเนินงานแก่ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกแห่ง ๔. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ความรู้ในเรื่องเหาและวิธีการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพอนามัยที่ ถูกต้อง ๕. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดเหาในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ ๖. ทำหนังสือแจ้งการเป็นเหา และขออนุญาตผู้ปกครองกำจัดเหา (โดยให้นักเรียนนำไปให้ผู้ปกครอง) ๗. จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องเหาและวิธีการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
๘. ดำเนินการตามแผนดำเนินงานโครงการ โดยใช้ยากำจัดเหาในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ
จำนวนทั้งหมด 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 ใส่ยากำจัดเหาในวันที่จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ครั้งที่ 2 ห่างกัน 2 สัปดาห์) ๙. สรุปและประเมินผลเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนที่เป็นเหา ก่อนและหลังดำเนินโครงการ ๑๐. รวบรวมปัญหา/อุปสรรค รายงานคณะกรรมการผู้เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. เป้าหมายเชิงปริมาณ     ๑.๑ ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนางเข้าร่วมอบรม ร้อยละ ๑๐๐     ๑.๒ ผู้ปกครองนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนางเข้าร่วมอบรม ร้อยละ ๗๐
    ๑.๓ นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนางไม่มีเหา ร้อยละ ๘๐ ๒. เป้าหมายเชิงคุณภาพ     ๒.๑ ครู และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเหา การกำจัดเหา และการสร้างพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง     ๒.๒ นักเรียนที่เป็นเหาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนางมีจำนวนน้อยลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9375.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,375.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ปกครองและครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเหา การกำจัดเหา และการสร้างพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
๒. อัตราการเป็นเห่าของนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนางลดลงอย่างต่อเนื่อง


>