กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ตำบลแค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านพะเนียด หมู่ที่ 4 ตำบลแค

1.นางปรีดา หัสเอียด
2.นางมูรินา หวังเก็ม
3.นางฮาลิเม๊าะ เด็นสว่าง
4.นางสมนึก หัสเอียด
5.นางสุนิสา พุทธพิม

ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

 

20.00
2 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่ตรวจพบสารเคมีอันตรายในเลือด

 

10.00
3 จำนวนประชาชนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ

 

30.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

20.00 15.00
2 เพื่อลดแรงงานนอกระบบที่มีการตกค้างของสารเคมีในเลือด

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่ตรวจพบสารเคมีในเลือดลดลง

10.00 5.00
3 เพิ่มจำนวนประชาชนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ

จำนวนประชาชนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ (ร้อยละ)

30.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครอาชีวอนามัย 22

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจและสามารถวางแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับอาชีวอนามัยในการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ (JSA) การทำระบบอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ (JSA) การทำระบบอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครอาชีวอนามัย ในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง พร้อมสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในชุมชน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 22 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,100 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 22 คนๆละ ๑ ชุด ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์และเอกสารการประชุม เป็นเงิน 1,400 บาท 5.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อาสาสมัครอาชีวอนามัยในพื้นที่มีความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ มีความพร้อมในการดำเนินการในพื้นที่ต่อไป 2.มีข้อมูลและการวิเคราะหืการดำเนินงานอาชีวอนามัยในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7700.00

กิจกรรมที่ 3 การเก็บข้อมูลของอาสาสมัครอาชีวอนามัย

ชื่อกิจกรรม
การเก็บข้อมูลของอาสาสมัครอาชีวอนามัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อาสาสมัครอาชีวอนามัย ลงพื้นที่ตำบลแค เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการประกอบอาชีพ และรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ปัญหาของพื้นที่ ซึ่งมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าแบบสำรวจจำนวน 50 ชุด  ชุดละ 5 บาท เป็นเงิน 250 บาท 2.ค่าตอบแทนการลงเก็บข้อมูล  จำนวน 50 ชุด ๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท 3.ค่าตอบแทนการบันทึกข้อมูลในระบบ จำนวน 50 ชุด ๆละ 15 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีฐานข้อมูลการประกอบอาชีพและปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ตำบลแค 2.สามารถวิเคราะห์ปัญหาและโรคจากการประกอบอาชีพได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกร (วิเคราะห์ความเสี่ยงและตรวจเลือด)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกร (วิเคราะห์ความเสี่ยงและตรวจเลือด)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ และมีการวิเคราะห์หาสารเคมีตกค้างในเลือด ด้วยวิธีการเจาะเลือด โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าชุดตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด เป็นเงิน 4,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจากการประกอบอาชีพและความเสี่ยงของตนเอง 2.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการประกอบอาชีพเพื่อลดความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง 3.มีฐานข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7050.00

กิจกรรมที่ 5 อบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดอันตรายจาการประกอบอาชีพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการปัญหาความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ ลดการใช้สารเคมีโดยการใช้น้ำหมักชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดอันตรายจาการประกอบอาชีพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการปัญหาความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ ลดการใช้สารเคมีโดยการใช้น้ำหมักชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ในการประกอบอาชีพ โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 50 คนๆละ ๑ ชุด ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4.เอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน 1,800 บาท 5.ชุดสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นเงิน 1,350 บาท ประกอบด้วย     5.1 ถังน้ำขนาด 30 ลิตร จำนวน 5 ใบ ใบละ 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท     5.2 จุลินทรีย์ขนาด 1 ลิตร จำนวน 5 ขวด ขวดละ 70 บาท เป็นเงิน 350 บาท     5.3 กากน้ำตาลขนาด 1 ลิตร จำนวน 5 ขวด ขวดละ 50 บาท เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายของการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ 2.ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นความสำคัญของการใช้สารชีวภาพ และสามารถผลิตใช้เองในครัวเรือน 3.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นเกษตรกรตัวอย่างที่ลดการใช้สารเคมี เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11750.00

กิจกรรมที่ 6 อบรมเชิงปฏิบัติการ เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างครั้งที่ 2 พร้อมสรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างครั้งที่ 2 พร้อมสรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

หลังจากการอบรมให้ความรู้และเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างครั้งที่ 1 แล้วให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยน ลดการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ จึงจัดการเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอีกครั้ง พร้อมสรุปผลการดำเนินโครงการ โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 3.ค่าเอกสารสรุปผลโครงการ เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของการลดปริมาณการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ 2.สามารถสรุปผลโครงการ พร้อมทั้งมีฐานข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักเห็นความสำคัญของการใช้สารชีวภาพแทนการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ
2.สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ฐานข้อมูลเกษตรกรและแรงงานนอกระบบในพื้นที่ตำบลแค
3.เกิดอาสาสมัครอาชีวอนามัยในพื้นที่


>