กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเกษตรแปลงใหญ่ตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ บ้านป่าศรี-ลุวง ตำบลตะโละ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรแปลงใหญ่ตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ บ้านป่าศรี-ลุวง ตำบลตะโละ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่บ้านป่าศรี

1. นายนรินทร์ นิลอินจันทร์
2. นายสุกิจ นิลอินจันทร์
3. นางอิทธิพร แววทองรักษ์
4. นางนันทิศาชูพันธ์
5. นางสรินยานิลวิเชียร

ม.3 บ้านป่าศรี ตำบลตะโละ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในหมู่บ้าน/ชุมชนบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ

 

50.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ

 

50.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้คนในหมู่บ้าน/ชุมชนบริโภคพืชผักปลอดสารพิษเพิ่มมากขึ้น

ร้อยละของคนในหมู่บ้าน/ชุมชนบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ

50.00 80.00
2 2.เพื่อให้ครัวเรือนได้รับความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ

ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพและการทำจุลินทรย์สังเคราห์แสง

ชื่อกิจกรรม
การให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพและการทำจุลินทรย์สังเคราห์แสง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน มื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
      -ไข่ไก่ จำนวน 2 แผงๆละ 100 บาทเป็นเงิน 200 บาท -กะปิ จำนวน 1 กิโลกรัมๆ 150 บาท เป็นเงิน 150 บาท -ผงชูรส จำนวน 5 ถุงๆละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ
2.สามารถทำจุลินทรีย์แสงเพื่อนำไปใช้รดน้ำพืชผักต่างๆ ในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10050.00

กิจกรรมที่ 2 การปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์
  • จอบเหล็กพร้อมด้ามจำนวน 5 ด้ามๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ส้อมพรวนดินจำนวน10 ด้ามๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • บัวรดน้ำขนาด 3 ลิตร 10 อันๆละ 120 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 50 กระสอบๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าสายยางรดน้ำ ขนาด 1.5 นิ้ว 1 ม้วนๆละ 50 เมตร 1,500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
    • ค่าเมล็ดพันธุ์พืชผัก
  • เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • เมล็ดพันธุ์พริกขี้หนูสวน จำนวน 10 ซองๆละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  • เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาง จำนวน 10 ซองๆละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  • เมล็ดพันธุ์แฟง จำนวน 10 ซองๆละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  • เมล็ดพันธุ์มะเขือ จำนวน 10 ซองๆละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  • เมล็ดพันธุ์บวบ จำนวน 10 ซองๆละ 15 บาทเป็นเงิน 150 บาท
    • ค่าไถพรวนดินยกร่อง 5,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ปลูกผักที่ปลอดสารพิษที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อนำไปบริโภคในครัวเรือน 2. เพื่อเป็นแปลงปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพตัวอย่างให้คนในหมู่บ้านสามารถมาเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15950.00

กิจกรรมที่ 3 การถอดบทเรียนในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
การถอดบทเรียนในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมกันถอดบทเรียนในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เพื่อนำไปปรับปรุงต่อยอดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในปีถัดๆไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลโครงการ/กิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในหมู่บ้านมีการปลูกพืชผักที่ปลอดสารพิษ เพื่อดูแลสุขภาพ ลดปัญหาด้านสุขภาพทางด้านร่างกาย
2. ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้ในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพสามารถนำความรู้ไปใช้ในระดับครัวเรือน


>