กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รวมพลังป้องกัน COVID-19 (ระลอกใหม่)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ตุยง

หมู่ที่ 1-8 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

90.00
2 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

100.00

การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในเวลานี้ มีการระบาด ติดต่อกันอย่างรวดเร็วมาก เนื่องจากมีการติดต่อของคนในประเทศกันเอง ต่างกับในช่วงแรกๆที่เชื้อมาจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวันของจังหวัดปัตตานีโดยผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2564 จนถึง วันที่ 26 เมษายน 2564 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในจังหวัดขณะนี้ จำนวน 50 ราย กำลังรักษา 47 ราย และรักษาหาย 4 ราย ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าเป็นห่วงและต้องมีการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ปัจจุบันการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ 10 เมษายน 2564 ที่ผ่านมาจนถึง 26 เมษายน 2564 พบมีผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมดจำนวน 4 ราย
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนัก มีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) องค์การบริหารส่วนตำบลตุยงโดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาตามมติของคณะกรรมกองทุนฯที่ได้มีการจัดทำแผนงานไว้แล้ว ในช่วงแรกๆหรือต้นปีงบประมาณ 2564 (ธันวาคม 2563 - มกราคม 2564 ) ได้มีการทำโครงการเฝ้าระวัง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปแล้วแต่เน้นในเรื่องการจัดทำสื่อไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล แต่การระบาดระลอกใหม่มีการระบาดที่รวดเร็ว และร้ายแรงมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบูรณาการร่วมกับส่วนราชการอื่นๆในอำเภอหรือองค์กรภาคเอกชนต่างๆในพื้นที่ เพื่อที่จะควบคุมการระบาดในพื้นที่หรือไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และต้องมีกิจกรรม งบประมาณ เพิ่มขึ้นเพื่อการเฝ้าระวังท่ี่ดีจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้แก่ประชาชนในพื้นที่

ร้อยละของประชาชนในพื้นที่มีความรู้ด้านการเฝ้าระวัง การป้องกันตนเองที่เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 19 (covid 19)

100.00 95.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ เพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

ลดอัตราการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (covid 19)

4.00 0.00

เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,929
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ทางการแพทย์ เพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงหรือผู้สัมผัสสูงในพื้นที่ที่ต้องกักตัวเองในบริเวณบ้าน หรือสถานที่ราชการจัดให้ จำนวน 14 วัน สนับสนุนให้หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน หรือศาสนสถาน หรือสถานที่สาธารณะต่างๆที่มีอยู่ในพื้นที่เพื่อใช้ในการเฝ้าระวัง ควบคุมการระบาดของโรค ดังนี้
- แอลกอฮอร์ ชนิดน้ำ(ขนาด 450 ml) จำนวน 12 ขวด x 50 บาทเป็นเงิน600 บาท - แอลกอฮอร์เจล (ขนาด 450 ml) จำนวน 6 โหล x 1020 บาทเป็นเงิน6,120 บาท
- หน้ากากอนามัย(ชิดสีเขียว 50 ชิ้น ลังละ 20 กล่อง)จำนวน2 ลัง x 2,500 บาทเป็นเงิน5,000 บาท - ถุงมืออนามัย ไซด์ Mจำนวน 8 กล่อง x 260 บาทเป็นเงิน2,080บาท - ถุงมืออนามัย ไซด์ L จำนวน 4 กล่อง x 260 บาทเป็นเงิน1,040บาท - เครื่องสแกนอุณหภูมิร่างกาย (พร้อมเจลล้างมือ)จำนวน 2 เครื่อง x 2,500 บาท เป็นเงิน5,000บาท - ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลจำนวน 10 ตัว x 180บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังโรคแก่ประชาชนหรือหน่วยงานต่างๆในพื้นที่และให้บริการแก่กลุ่มเสี่ยงต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21640.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์และการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ ในลักษณะเชิงรุกในพื้นที่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์และการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ ในลักษณะเชิงรุกในพื้นที่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ ในเรื่องแนวทางการป้องกันโรคและมาตรการต่างๆตามที่ ผู้ว่าราชการจังหวัด และศคบ.ประกาศ ประกาศ
- ค่าจ้างเหมารถประชาสัมพันธ์เชิงรุกในพื้นที่ ครั้งละ 8 ชั่วโมง จำนวน 8 ครั้ง x 1,500 บาทเป็นเงิน1,200 บาท - ค่าทำสื่อข้อความ 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกทุกหมู่บ้านและประชาชนเกิดความตระหนัก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งศูนย์กักกัน(Local Quarantine)เพื่อสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงที่กลับมาจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือจุดคัดกรองบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งศูนย์กักกัน(Local Quarantine)เพื่อสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงที่กลับมาจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือจุดคัดกรองบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การบูรณาการร่วมเพื่อจัดตั้งสถานที่กักกันสังเกตอาการ(Local Quarantine) หรือตั้งจุดคัดกรองบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ร่วมกับทางอำเภอหนองจิก

- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ของใช้ส่วนตัวสำหรับกลุ่มเสี่ยง เช่น ที่นอน ผ้าห่ม มุ้ง รองเท้าแตะ ตะกร้า กะลามัง ฯลฯ - ค่าอาหารและน้ำ สำหรับกลุ่มเสี่ยง จำนวน 14 วัน
2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่อยู่เวรเพื่อบริการประจำสถานที่กักกันหรือจุดคัดกรองในแต่ละวันที่ได้รับมอบหมาย - ค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทางแก่เจ้าหน้าที่ที่ต้องไปปฏิบัติหน้าที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการบูรณาการร่วมเพื่อจัดตั้งสถานที่กักกัน และดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่กลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือพื้นที่เสี่ยงต่างๆ อย่างเป็นระบบและลดการแพร่เชื้อก่อนกลับคืนสู่ชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปรายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปรายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 90,640.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีการดำเนินงาน
1. จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารและคณะกรรมการกองทุนฯตามลำดับ
2. บูรณาการโครงการกับกิจกรรมหรือโครงการอื่นๆตามความเหมาะสม
3. ดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้ระบุในโครงการโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการหรือองค์กรชุมชนในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ศพด. ชมรมอสม. ผู้นำชุมชน เป็นต้น
4. สรุปรายงานผลกิจกรรมให้คณะกรรมการกองทุนฯรับทราบเมื่อดำเนินการเสร็จตามระยะเวลา

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคไวรัสโคโรนา(COVID-19)ได้
2. ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ ในการให้บริการ การป้องกันการ การเฝ้าระวังการติดเชื้อจากโรคไวรัสโคโรนา(COVID-19) ได้เป็นอย่างดี
3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
4. สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา(COVID-19) ได้
5. แกนนำสุขภาพในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการพัฒนา
6. ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน ในพื้นที่มีการบูรณาการร่วมในการแก้ปัญหา


>