กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

จัดตั้งสถานที่และจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงโควิด-19 ระดับพื้นที่(LQ) อบต.บือมัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโครนา หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้
อำเภอรามันได้ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาร่วมกับปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล และกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ จัดให้มีสถานที่กักกันเพื่อสังเกตอาการระดับตำบล เพื่อเตรียมรองรับกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่และผู้ที่เดินทางผ่านแดนเข้าสังเกตอาการ
อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 มาตรา 67 ภายใต้บังคับกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบือมัง จึงจัดทำโครงการจัดตั้งสถานที่และ
จัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงโควิด-19 ระดับพื้นที่(LQ) อบต.บือมัง เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยง ตามมาตรการในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ

ผู้ที่มีเดินทางกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยงที่จังหวัดกำหนด ได้รับการกักตัวเพื่อสังเกตอาการ ร้อยละ 100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงฯ 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งสถานที่กักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงโควิด-19 ระดับพื้นที่(LQ) อบต.บือมัง

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งสถานที่กักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงโควิด-19 ระดับพื้นที่(LQ) อบต.บือมัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ใช้อาคารเอนกประสงค์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบือมังเพื่อการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงงเดินทางมาจากที่พื้นที่เสี่ยง
1.ค่าอาหารสำหรับบุคคลที่กักตัวที่มาจากพื้นที่เสี่ยง จำนวน 15 คน ๆ 3 มื้อ ๆ ละ 50 บาท
เป็นเวลา 16 วันเป็นเงิน 36,000 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จำนวน 6 คน ๆ 1 มื้อ ๆ ละ 50 เป็นเวลา 30 วัน
เป็นเงิน 9,000บาท
3.ค่าอาหารเย็นสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกลางคืน จำนวน 6 คน ๆ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท
เป็นเวลา 30 วัน เป็นเงิน 9,000 บาท
4.วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นเงิน 30,000 บาท 5.วัสดุอุปกรณ์สำหรับการดำเนินงานสำหรับสถานที่กักฯ สำหรับผู้กัก ในการปฏิบัติงาน เป็นเงิน 15,000 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 2.ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัวร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
99000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
2.ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัวร้อยละ 100


>