กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ผู้สูงอายุสุขกายสุขใจ ก้าวไปปด้วยธรรมะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

องค์กรประชาชน ฝ่ายงานสาธารณะสงเคราะห์คณะสงจังหวัดสตูล

พระปลัดธันวาคม สญฺญโม ประธานฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์คระสงค์จังหวัดสตูล
พระจักรกริช โชติวโร เลขานุการเจ้าคณะอำเภอทุ่งหว้า

คุณ วันเพ็ญ วัฒนธารากุล
คุณ มานีพรหมมาก

ตำบลทุ่งหว้าอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย

 

5.00

ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้มีแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2565) โดยมาตรการสำคัญที่ควรคำนึงถึงในลำดับต้นๆกล่าวคือ มาตรการการให้การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มาตรการการปลุกจิตสำนึกให้คนในสังคมตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ มาตรการส่งเสริมความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ดูแลตนเองเบื้องต้น มาตรการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันและสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้สูงอายุ มาตรการสนับสนุนผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ และปรับให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา สาธารณสุข ศาสนา วัฒนธรรม กีฬา และนันทนาการ จึงส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาให้ผู้สูงอายุให้มีขีดความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง และผู้สูงอายุด้วยกันให้ดีขึ้นด้วยผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งของสังคมและประเทศชาติ เป็นต้นทุนทางสังคมที่มีค่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยที่นับถือผู้สูงอายุในฐานะผู้มีประสบการณ์มาก่อน และเป็นผู้สั่งสมภูมิปัญญาของท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ เพื่อสืบทอดถึงบุคคลรุ่นหลัง นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของลูกหลานที่คอยให้ความอบอุ่น คำแนะนำสั่งสอนแก่บุคคลรุ่นหลังในครอบครัว โดยในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีตลอดจนวิทยาการสมัยใหม่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน ส่งผลให้ประชากรไทยมีอัตราการเจริญพันธุ์ลดลงและประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น ปัจจัยดังกล่าวทำให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง หากประชากรผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเหล่านี้สามารถพึ่งพาตนเองได้ดี และสามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองได้อย่างมีคุณค่าแม้ว่าจะอยู่ในวัยสุดท้ายของช่วงชีวิต ก็ตามผู้สูงอายุก็ยังจัดได้ว่าเป็นกลุ่มประชากรที่เป็น พลังสำคัญ แทนที่จะเป็นภาระของครอบครัว ชุมชนและสังคม เป็นผู้สูงอายุจำนวน 50 คน เป็นผู้สูงอายุติดสังคมซึ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาจภาวะแทรกซ้อน ทำให้กลายเป็นผู้สูงอ่ายุติดบ้าน หรือติดเตียงที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น ในปีงบประมาณ 2565 ชมรมผู้สูงเพื่อจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุที่สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมที่ได้มาเข้าร่วมกิจกรรม และส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เป็นภาระกับลูกหลาน ในปีงบประมาณ2565 จึงได้จัดทำโครงการสุขกายสุขใจ สุงวัยอย่างมีคุณค่าขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มาร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกันในชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง และสามารถดูแลตัวเองและเยี่ยมเยียนให้กำลังใจผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงได้ ทำให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อสังคมอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้

การ

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในครอบครัว และสังคมได้อย่างเป็นสุข

 

0.00

เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดีจากครอบครัวและชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2022

กำหนดเสร็จ 16/05/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมผุ้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งหว้า เตรียมข้อมูลเพื่อจัดทำโครงการ เสนอโครงการต่อคณะกรรมการ กองทุนฯ ตำบลทุ่งหว้า เพื่ออนุมัติ ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินงาน ดำเนินงานตามโครงการ - ประชาสัมพันธ์โครงการ/รับสมัครสมาชิกใหม่ - อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ด้านการป้องกันปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ/การส่งเสริมสุขภาพจิต จำนวน 50 คน - กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต ธรรมวิถี ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ เรื่อง ธรรมะกับการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขในวัยสูงอายุ กิจกรรมปฏิบัติธรรมส่งเสริมสุขภาพจิต เข้าวัดปฏิบัติธรรม 1 คืน 2 วัน เพื่อนำหลักของศาสนามาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต การดูแลสุขภาพจิตใจ - กิจกรรมพบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสุข 5 มิติในวัยผู้สูงอายุ สรุปผลการดำเนินโครงการ รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลฯทุ่งหว้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2565 ถึง 16 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดีจากครอบครัวและชุมชน ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในครอบครัว และสังคมได้อย่างเป็นสุข ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชุมชนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเองและเพื่อนสมาชิก เครือข่ายสุขภาพในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดีจากครอบครัวและชุมชน
ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในครอบครัว และสังคมได้อย่างเป็นสุข
ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชุมชนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเองและเพื่อนสมาชิก
เครือข่ายสุขภาพในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ


>