กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการต้านโควิด19 ด้วย อสม.จิตอาสา บ้านปากคลอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเทศบาลตำบลบ้านสวน

1.นางจำปี วรรณะ ประธาน หมู่ที่ 5
2.นางบุญเรือน เกลี้ยงหวาน
3.นางพัศณุ ฤทธิรัตน์
4.นางเปรมปรีดา วรรณะ
5.นางดารา เกาะทอง อสม. 0935615515

เทศบาลตำบลบ้านสวน หมู่ที่ 1/2/3/5 และ7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มีผู้ป่วยยืนยันเเล้วเข้ารับการรักษา รพ.ควนขุนน จำนวน 61 ราย

 

61.00

ตามที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา พบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้น ภายในอำเภอและบริเวณใกล้เคียงจึงทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมกับยังทำให้มีรายได้ลดลงจากการประกอบอาชีพหรือบางคนก็ว่างงาน จากการดำเนินมาตรการควบคุมโรคอย่างเข้มข้น ตามมาตรการ การป้องกันโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ที่ดำเนินการโดย อสม. ในการรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชน ในการดำรงชีวิตประจำวัน ในการใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน หมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล ไม่จำเป็นไม่ต้องออกจากบ้านพร้อมกับติดตามสำรวจผู้ที่เดินทางเข้าออกจากต่างจังหวัดที่เข้ามาพักอาศัยในหมู่บ้านแล้วนั้น แต่ก็ยังทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความเสี่ยงจากโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในการลงพื้นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ อสม.ยังขาดอุปกรณ์ในการอำนวยความสะดวก เช่น เครื่องวัดความดันที่จะใช้ในการประเมินอาการคนไข้ที่เริ่มได้รับการฉีดวัคซีนเเล้ว ที่ต้องคอยติดตามอาการผลข้างเคียงของยาที่ได้รับ ขาดอุปกรณ์คัดกรองวัดอุณหภูมิเจลเเอลกอฮฮอล์ หน้ากากอนามัยที่จะใช้ในพื้นที่และสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานดังนี้ทางกลุ่มจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อจะได้มีอุปกรณ์ในการปฏิบัติหน้าที่และมีไว้เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านเขตเทศบาลบ้านสวน ม.1/2/3/5และ7ไว้ป้องกันโรคติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.ในพื้นที่มีอุปกรณ์ เครื่องมือไว้ใช้ในการป้องกันโรคระบาด COVID-19

ร้อยละ 80 ของอสม.ในพื้นที่มีอุปกรณ์ เครื่องมือไว้ใช้ในการป้องกันโรคระบาด COVID-19

60.00 60.00
2 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้มีอุปกรณ์เช่นหน้ากากอนามัย แอลกอออล์เจลไว้ใช้ป้องกันตัวเองทุกครัวเรือน

ร้อยละ 100 ของประชาชน(ทุกครัวเรือน)ในพื้นที่รับผิดชอบได้มีอุปกรณ์เช่นหน้ากากอนามัย แอลกอออล์เจลไว้ใช้ป้องกันตัวเอง

701.00 701.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน 1,600
กลุ่มผู้สูงอายุ 400
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน อสม ในเขตพื้นที่ ม.1/2/3/5 และ7

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงาน อสม ในเขตพื้นที่ ม.1/2/3/5 และ7
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงการทำงานของ อสม.

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2564 ถึง 5 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบหน้าที่การทำงานของ อสม แต่ละหมู่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เคาะประตูบ้านเน้นย้ำการปฏิบัติตัวแก่ประชาชนแต่ละครัวเรือนเรื่อง โรคระบาด COVID-19 ลงคัดกรองและประเมินอาการกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว

ชื่อกิจกรรม
เคาะประตูบ้านเน้นย้ำการปฏิบัติตัวแก่ประชาชนแต่ละครัวเรือนเรื่อง โรคระบาด COVID-19 ลงคัดกรองและประเมินอาการกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เเบ่งสายลงพื้นที่ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์และคัดกรองประชาชน
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าป่วยการ อสม คนละ 200 บาท จำนวน 28 คน เป็นเงิน 5600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 21 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่และประชาชนในพื้นที่ตระหนักการป้องกันโรคเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5600.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรคระบาด

ชื่อกิจกรรม
จัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรคระบาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย 1.ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 10 กล่องๆละ 60 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2.ค่าแอลกอฮอล์เจล จำนวน 701 ขวดๆละ 60  บาท เป็นเงิน 42060 บาท 3.เครื่องวัดอุณหภูมิแบบยิงหน้าผาก 6 เครื่องๆละ 1300 บาท เป็นเงิน  7800 บาท
4.เครื่องวัดความดัน จำนวน 8 เครื่องๆละ 1650 เป็นเงิน 13200 บาท 5.กระเป๋าใส่อุปกรณ์ลงพื้นที่ 2 ใบๆละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท 6.หน้ากาก Face shield จำนวน 60 ชิ้นๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2564 ถึง 14 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม มีอุปกรณ์ได้ใช้และประชาชนในพื้นที่มีอุปกรณ์ป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
66060.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 71,660.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้เเละเข้าใจในการดูแลตนเองมากขึ้น
2.ประชาชนลดรายจ่ายในการซื้ออุปกรณ์ป้องกันโรค
3.อสม. มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการลงพื้นที่มากขึ้น


>