กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยโรคอื่นๆ เขต อบต.ท่าพุทรา เพื่อเข้าถึงบริการสาธารณสุขและปลอดภัยจากโรคติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าพุทรา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยโรคอื่นๆ เขต อบต.ท่าพุทรา เพื่อเข้าถึงบริการสาธารณสุขและปลอดภัยจากโรคติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าพุทรา

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลท่าพุทรา

อบต.ท่าพุทรา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมจัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมจัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายได้รับวัสดุ/อุปกรณ์ ในการป้องกันโรคโควิด 19 ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์วันเวลาการดำนินโครงการให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทราบ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯตามวันเวลาที่กำหนด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 4.กิจกรรมลงพื้นที่ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยโรคอื่นๆ

ชื่อกิจกรรม
4.กิจกรรมลงพื้นที่ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยโรคอื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ลงพื้นที่เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยโรคอื่นๆได้สำรวจไว้และสร้างช่องทางการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่น Line หรือช่องทางอื่นๆ เพื่อบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติตนเองในชีวิตประจำวัน รวมถึงประเมินอาการ ให้ความรู้ คำแนะนำ ตามแนวทางของกรมอนามัยหรือกรมการแพทย์และติดตามอาการผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ และรับส่งยาตามช่วงเวลาที่กำหนดในโครงการ
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการ     เป็นเงิน 5,600 บาท (ภาชนะพลาสติกมีฝาปิด ใส่ยาเวชภัณฑ์ จำนวน 35 ชิ้นๆละ 160 บาท)
  • ค่าใช้จ่ายถอดบทเรียนผลการดำเนินงาน     เป็นเงิน  2,975  บาท (ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 60 บาท อาหารว่าง 1 มื้อๆละ 25 บาท แกนนำ อสม. จำนวน 35 คน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ได้ลงพื้นที่ดูแลผู้ป่วยตามที่สำรวจผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยโรคอื่นๆ
  • เพิ่มช่องทางการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่น Line หรือช่องทางอื่นๆ
  • เรียนรู้การปฏิบัติตนเองในชีวิตประจำวัน รวมถึงประเมินอาการ ตามแนวทางของกรมอนามัยหรือกรมการแพทย์และติดตามอาการผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ
  • การรับยาตามช่วงเวลาที่กำหนดในโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8575.00

กิจกรรมที่ 4 5.การสรุปผลการบันทึกข้อมูลตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
5.การสรุปผลการบันทึกข้อมูลตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำสรุปผลการบันทึกข้อมูลในการดูแลสุขภาพของตนเองของแต่ละราย และจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ
  • ค่าเอกสารที่ใช้ในกิจกรรมตามโครงการ   เป็นเงิน  1,000  บาท (ค่าถ่ายเอกสาร แบบรายงานผลการดำเนินกิจกรรม ค่าจัดทำรูปเล่มสรุปผลการดำเนินโครงการ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำสรุปรายงานโครงการที่สำเร็จส่งให้คณะกรรมการกองทุนทราบ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 5 3.กิจกรรมสำรวจผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผูป่วยโรคอื่นๆ

ชื่อกิจกรรม
3.กิจกรรมสำรวจผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผูป่วยโรคอื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สำรวจผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยโรคอื่นๆ ร่วมกับโรงพยาบาลในพื้นที่ เพื่อวางแผนการดูแลในชุมชน และแบ่งกลุ่มผู้ป่วยแยกตามโรค โดยคัดเลือกเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงเป็นการรักษาต่อเนื่องและสามารถดูแลที่บ้านได้
  • ค่าเอกสารที่ใช้ในกิจกรรมตามโครงการ   เป็นเงิน  1,000 บาท (สมุดบันทึกผลการตรวจสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 100 คนๆละ 10 บาท)
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม   เป็นเงิน  1,050  บาท (วัสดุ/อุปกรณ์ อสม.บันทึกผลการตรวจสุขภาพ จำนวน 35 คนๆละ 30 บาท)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ลงพื้นที่สำรวจผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยโรคอื่นๆ ร่วมกับโรงพยาบาลในพื้นที่
  • แบ่งกลุ่มผู้ป่วยแยกตามโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,625.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยโรคอื่นๆได้รับการประเมินสุขภาพเบื้องต้น
2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยโรคอื่นๆ เกิดการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม
3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยโรคอื่นๆได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขในชุมชนและได้รับยาต่อเนื่อง
โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ คือ ร้อยละของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเป็นการรักษาต่อเนื่องและสามารถดูแลได้ที่บ้าน ที่เข้าร่วมโครงการมีความดันโลหิตและสามารถควบคุมระดับนำตาลในเลือดได้ดีเพิ่มขึ้นอย่างน้อย10%


>