กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีไทยใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง

1.นางมรีหยำ หลังจิ
2.นางกฤตยา หลงหัน
3.นางสาวโสพินทร์ แก้วมณี
4.นายชัยวัฒน์ ทองฤทธิ์
5.นายยุทธนะ ละอองธรรม

หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสตรีอายุ 30-60ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น

 

90.00
2 ร้อยละของสตรีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง

 

96.00
3 ร้อยละของอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามลดลง

 

186.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 สตรีอายุ 30-60ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น

สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อย 80 (ในระยะเวลา 5 ปี)

96.00 1.00
2 สตรีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง

สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80

90.00 1.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม

สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม

186.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 186
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์ และรณรงค์โครงการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ และรณรงค์โครงการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์ และรณรงค์โครงการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก และแจ้งอสม.ติดตามสตรีกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้ารับการอบรมมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 2..ประสานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 2 ในการติดตามกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก สาเหตุและการป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก สาเหตุและการป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1.จัดทำโครงการตามแผน เพื่อเสนอพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติโครงการ 2.ประชุมเจ้าหน้าที่และ อสม.หมู่2 เพื่อชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงาน
3.ประสานทีมงานและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 4 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 4.ประสานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 2 ในการติดตามกลุ่มเป้าหมาย ขั้นดำเนินการ 1.อสม.ปฏิบัติการเชิงรุกโดยการลงพื้นที่ติดตามพร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2.รณรงค์ให้ความรู้เรื่องการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในหมู่บ้าน 3.อบรมให้เรื่องการตรวจมะเร็งเต้านมและการตรวจมะเร็งปากมดลูก
4.ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง 5.ติดตามประเมินผลระหว่างดำเนินโครงการ หลังดำเนินโครงการ และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อย 80 (ในระยะเวลา 5 ปี) 2.สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80 3.สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้สตรีอายุ30-60ปี เรื่องมะเร็งปากมดลูกแบบใหม่ (HPV DNA TEST ) และให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้สตรีอายุ30-60ปี เรื่องมะเร็งปากมดลูกแบบใหม่ (HPV DNA TEST ) และให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ          1.จัดทำโครงการตามแผน เพื่อเสนอพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติโครงการ          2.ประชุมเจ้าหน้าที่และ อสม.หมู่2 เพื่อชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงาน
         3.ประสานทีมงานและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก          4 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก          4.ประสานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 2 ในการติดตามกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นดำเนินการ         1.อสม.ปฏิบัติการเชิงรุกโดยการลงพื้นที่ติดตามพร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข         2.รณรงค์ให้ความรู้เรื่องการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในหมู่บ้าน         3.อบรมให้เรื่องการตรวจมะเร็งเต้านมและการตรวจมะเร็งปากมดลูก
        4.ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง         5.ติดตามประเมินผลระหว่างดำเนินโครงการ หลังดำเนินโครงการ และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อย 80 (ในระยะเวลา 5 ปี) 2.สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80 3.สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

จากรายงานข้อมูลข่าวสารสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ การเสียชีวิตของคนไทยนั้น เกิดจากโรคมะเร็งสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง โดยในปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้ชายไทยเป็นมะเร็งตับมากที่สุดส่วนผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด รองลงมาคือมะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด ตามลำดับ สาเหตุที่ทำให้สตรีเป็นโรคมะเร็งมีหลายสาเหตุด้วยกันไม่ว่าจะเป็น กรรมพันธุ์ วิถีชีวิต การบริโภค ผู้ป่วยที่มารับการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่มักจะมาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ซึ่งวิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุด คือการค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ เพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลาม โดยให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ ถ้าได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง การฝึกทักษะในการสังเกต และการตรวจคัดกรองด้วยตนเอง เพื่อค้นหาความผิดปกติ ทำให้สามารถได้รับการดูแล รักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ในขณะเดียวกัน กลุ่มสตรีสามารถดูแล และป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทุก ๆ 5 ปี กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการลดปัญหาสุขภาพ ได้แก่ สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพหามะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80ซึ่งการดำเนินงานโครงการมะเร็งปากมดลูกดังกล่าว ยังไม่บรรลุเป้าหมายเนื่องจากการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่ทั่วถึง กลุ่มเป้าหมายยังไม่ตระหนักถึงภัยของโรคมะเร็งปากมดลูก และยังไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเท่าที่ควร
ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับสตรี จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว เพื่อรณรงค์เร่งรัดให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม จัดให้มีการอบรมและสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายประชาชนมีสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป


>