กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาพู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟื้นฟูสุขภาพผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาพู่

ชมชมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม)

1.นางสุดาพรสุขวงศ์
2.นางบรรจงจิตด่านพรม
3.นางอุไรวงหาริมาตย์
4.นางสอน หล้าสวย
5.นางสมยาชิยางคะบุตร

พื่นที่ตำบลนาพู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

15.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

28.00

เนื่องด้วยในปัจจุบัน การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในหลายๆโรคจะปรับเปลี่ยนไปตามภาวะเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิต และโรคที่มีการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอาทิเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเกิดความพิการได้ถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือขาดการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องนอกจากนี้ ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ ๒๐ ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเปราะบางด้านสุขภาพกาย การจัดระบบการดูแลเพื่อให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ (Active Aging) มีความรู้ความสามารถและความมั่นคงในชีวิต ที่ผ่านมาทำได้ในระยะสั้น อีกทั้งผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งปัญหาดังกล่าวทั้งในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุและผู้พิการ มักส่งผลกระทบต่อทั้งญาติผู้ดูแลและผู้ป่วย ในบางรายญาติไม่มีเวลาพอที่จะมาดูแล หรือบางรายก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ หวังพึ่งพิงจากบุคลากรสาธารณสุขเพียงอย่างเดียว แต่บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ และยังขาดการติดตามดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพโดยไม่มีขีดจำกัดด้านเศรษฐกิจก่อให้เกิดผลดีต่อประชาชนการมีสุขภาพดีเป็นต้นทุนของทุกคนดังนั้นจึงควรทำให้มีสุขภาพดีตลอดการสร้างนำซ่อมหรือที่เรียกว่าการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญแต่ปัจจุบันอัตราการรักษาพยาบาลสูงขึ้นค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมากขึ้นแต่ผลตอบแทนด้านสุขภาพน้อยเห็นได้จากอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้หรือโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนยังมีอัตราที่สูงเช่นเบาหวานความดันโลหิตสูง ฯลฯ
ตำบลนาพู่ พบว่าปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ไตวาย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ยังเป็นปัญหาของชุมชนจากการวิจัยชุมชนด้วยการวิจัยเชิงชาติพันธ์วรรณาตำบลนาพู่ปี ๒๕61 อนึ่งผู้ป่วยและประชาชนในชุมชน ตลอดจนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย และเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด อีกทั้ง อสม.เป็นเครือข่ายสุขภาพในระดับชุนชน ที่มีความรู้และมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน มีบทบาทหน้าที่กระจายความรู้ทางด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความสามารถในการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย หรือเมื่อมีการเจ็บป่วยก็สามารถรักษาเบื้องต้น ป้องกันและฟื้นฟูสภาพไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการได้ เพื่อเป็นการตอบสนองแผนปฏิบัติการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาพู่และธรรมนูญสุขภาพตำบลนาพู่พ.ศ.2557(ฉบับที่1) การแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ และตามนโยบายการบริหารงานกระทรวงสาธารณสุข ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เพื่อเร่งรัดมาตรการสร้างสุขภาพ และการจัดให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ การสร้างองค์ความรู้และมีเครือข่ายสุขภาพระดับชุมชนมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้ประสบผลสำเร็จ จึงต้องมีการดูแลสุขภาพที่บ้านแบบบูรณาการให้คำแนะนำ และความรู้แก่ญาติและผู้ป่วยที่บ้านจะก่อให้เกิดผลแบบองค์รวมทั้งกาย จิต สังคม และยังมีผลต่อกลุ่มเป้าหมาย ให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลงได้ด้วย และเพื่อให้ อสม. มีองค์ความรู้และทักษะการเยี่ยมบ้านที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุมและต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ได้รับการดูแลสุขภาพ การเฝ้าระวังป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการซ้ำซ้อน อยู่อย่างมีคุณภาพ และส่งผลให้ประชาชนในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

28.00 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

15.00 5.00
3 เพื่อให้ผู้ดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง ที่บ้านมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลถูกต้องเหมาะสม

ผู้ดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง ที่บ้านมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลถูกต้องเหมาะสมเพิ่มขึ้น

200.00 350.00
4 เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ที่นอนลมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยเรื้อรัง

สนับสนุนอุปกรณ์ที่นอนลมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยเรื้อรัง

11.00 11.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ฟื้นฟูสุขภาพผู้พิการ ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อเพิ่มทักษะการดูแล

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ ฟื้นฟูสุขภาพผู้พิการ ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อเพิ่มทักษะการดูแล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารและอาหารว่าในการอบรม      เป็นเงิน 10,000  บาท -ค่าวิทยากรให้ความรู้การฟื้นฟูสุขภาพ     เป็นเงอน  3,000 บาท         ร่วมเป็นเงิน 13,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2563 ถึง 18 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ดูแลและญาติมีความรู้ในการฟื้นฟูสุขภาพผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง มากกว่าร้อยละ 90
  2. ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือได้น้อยไม่เกิดแผลกดทับหรือข้อติด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนที่นอนลมให้แก้ผู้ที่ต้องการเพื่อฟื้นฟูสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนที่นอนลมให้แก้ผู้ที่ต้องการเพื่อฟื้นฟูสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอุปกรณืเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูสุขภาพ    เป็นเงิน  10,195  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 ธันวาคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2562
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับบริการอุปกรณ์ที่นอนลม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10195.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,195.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ดูแลและญาติมีความรู้ในการฟื้นฟูสุขภาพผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง มากกว่าร้อยละ 90
2. ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือได้น้อยไม่เกิดแผลกดทับหรือข้อติด
3. ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับบริการอุปกรณ์ที่นอนลมมากกว่าร้อยละ90


>