กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาพู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทศาสตร์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาพู่

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต.นาพุ่

จ่าเอกณัฐพงศ์สิงห์สาธร และเจ้าหน้าที่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.นาพู่

พื้นที่ตำบลนาพู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ

 

95.00
2 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

15.00

เนื่องจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลนาพู่ เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และเป็นกลไกในการเสริมพลังให้กับภาคท้องถิ่นและชุมชนรวมทั้งส่งเสริมและป้องกันด้านสุขภาพของชุมชน จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และบรรลุเป้าหมาย อีกทั้งสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน และสามารถส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความสามารถของท้องถิ่นชุมชนให้สามารถดำเนินการจัดการระบบสุขภาพชุมชนได้ ด้วยการสร้างกระบวนการจัดการสุขภาพและเพิ่มทักษะการใช้แผนที่ยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือการบริหารการเปลี่ยนแปลงส่งเสริมการสร้างและบริหารจัดการนวัตกรรมในทุกระดับหลากหลายรูปแบบที่ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ตอบสนองนโยบายสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการจัดให้มีหน่วยงานระดับท้องถิ่นมีกองทุนสุขภาพระดับตำบล ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชนซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาพดีโดยชุมชนเพื่อชุมชน เพื่อให้การพัฒนาสุขภาพของชุมชนเป็นไปตามเป้าประสงค์ จุดหมายปลายทางและทิศทางที่กำหนดไว้ และสอดคล้องธรรมนูญสุขภาพตำบลนาพู่ พ.ศ.2557 (ฉบับที่ 1 )หมวดที่ 2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพตำบลนาพู่ ข้อ 7
ตามที่กล่าวมาข้างต้น คณะกรรมการกองทุน ฯ แกนนำประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ภาคีและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ในการดำเนินงานกองทุนสุขภาพระดับตำบล โดยการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุนฯ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนา และร่วมรับผลประโยชน์ โดยเริ่มจากการทบทวนงานในอดีต กำหนดอนาคต และการประเมินศักยภาพชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเอง โดย คำนึงถึงศักยภาพ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชน กระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพ และร่วมติดตามประเมินผล โดยสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาพู่ บรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลนาพู่ (ปี 2563 -2568) มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุน เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

95.00 100.00
2 เพื่อให้มีแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล (ปี 2563 -2568 ) ในการเขียนแผนงานโครงการด้านสาธารณสุข

มีแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล (ปี 2563 -2568 ) ในการเขียนแผนงานโครงการด้านสาธารณสุข

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/12/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมการสร้างและการนำใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการสร้างและการนำใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นตำบลนาพู่  อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดธานี ประจำปีงบประมาณ  2563    จำนวน   5,000 บาท 1.  ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง               เป็นเงิน    2,500  บาท
( 25 คน x 100 บาท x 1 วัน)     2. ค่าวิทยากร   (2 คน x 300 บาท x 3 ชั่วโมง)                 เป็นเงิน 1,800  บาท     3. ค่าป้ายโครงการ                                                เป็นเงิน   300   บาท     4. ค่าวัสดุอุปกรณ์หรือเอกสารประกอบการอบรม          เป็นเงิน   300   บาท                                            รวมเป็นเงิน   5,000     บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 ธันวาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาพู่และแกนนำที่เกี่ยวข้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมได้มากขึ้น
คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาพู่และแกนนำที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและจิตสำนึกที่ดี เพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาด้านสุขภาพและมีศักยภาพในการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนฯ มีแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนฯ 5 ปีเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีของประชาชนในพื้นที่ (ปี 2563 -2568 )

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาพู่และแกนนำที่เกี่ยวข้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมได้มากขึ้น
2.คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาพู่และแกนนำที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและจิตสำนึกที่ดี เพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาด้านสุขภาพและมีศักยภาพในการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนฯ
3.มีแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนฯ 5 ปีเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีของประชาชนในพื้นที่ (ปี 2563 -2568 )


>