กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองหนองคาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเครือข่ายเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต ตำบลมีชัย ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองหนองคาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีชัย

นางภัชดา ทัพโพธิ์ และคณะ

พื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีชัยจำนวน10ชุมชน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวช

 

0.22

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน

 

0.00
2 2. เพื่อสร้างแกนนำการติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงซึมเศร้าและฆ่าตัวตายในชุมชน

แกนนำด้านสุขภาพจิตชุมชนละ 5 คนรวม จำนวน 50 คน

0.00
3 3. ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยซึมเศร้า ได้รับการออกติดตามเยี่ยม

ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการร้อยละ65

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยจิตเวช 14
แกนนำสุขภาพจิตชุมชน 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดการอบรมให้ความรู้สร้างแกนนำจิตอาสาด้านสุขภาพจิต ในการเฝ้าระวังติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มเสี่ยงซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย

ชื่อกิจกรรม
จัดการอบรมให้ความรู้สร้างแกนนำจิตอาสาด้านสุขภาพจิต ในการเฝ้าระวังติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มเสี่ยงซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดการอบรมให้ความรู้สร้างแกนนำจิตอาสาด้านสุขภาพจิต ในการเฝ้าระวังติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มเสี่ยงซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย 2.ประเมินคัดกรองภาวะซึมเศร้าด้วย 2Q ประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 15 ปีขึ้นไป 3.ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงไม่ผ่าน 2Qให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทุกราย 4.แกนนำด้านสุขภาพจิตสำรวจ ค้นหา รายงานผู้ป่วยจิตเวชที่อาการไม่คงที่ ผู้ป่วยรายใหม่ผู้ป่วยขาดยา ต่อรพ.สต.ทุกเดือน 5.แกนนำด้านสุขภาพจิต/จนท.ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยซึมเศร้า ผู้ป่วยเสี่ยงฆ่าตัวตายในชุมชนพร้อมให้ความรู้สุขศึกษาแก่อสม.และญาติผู้ดูแล

ค่าใช่จ่ายในการดำเนินกิจกรรม
1.ค่าป้ายโครงการขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน450บาท 2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คนx80 บาท เป็นเงิน4,000บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาทx2 มื้อx50 คน เป็นเงิน2,500บาท 4.ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน3,000บาท 5.ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 1 คนx2 ชั่งโมงx600 บาท เป็นเงิน1,200บาท รวมทั้งสิ้น 11,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปและกลุ่มเสี่ยง ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า /ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการสุขภาพจิต /ภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชน อสม. ญาติผู้ป่วยและแกนนำจิตอาสามีความรู้ด้านสุขภาพจิต ร่วมดำเนินงานส่งเสริม เฝ้าระวัง ป้องกันรักษาผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ปวยเข้าถึงบริการสุขภาพ/ กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า/ เกิดภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานส่งเสริม ป้องกัน เฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้


>