กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัย COVID -19 ระดับพื้นที่ (LQ) เทศบาลตำบลปาเสมัส ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส ปี 2564

1. นายอับดุลเลาะสะแลแม
2. นางสุภัทรียายูโซ๊ะ
3. นางสาวนุรุลฮูดาราเซะ
4. นางสาวศรีสุดาธนูศิลป์
5. นางสาวโนรฮูดาสารีกะ
6. นายอิสมาแอบากา
7. นางสาวซารีแซอาแว
8. นางสาวนูรีแซสาและ
10. นางสาวนูรฮาฟีซาสาอิ

อาคารที่ทำการ อบต.ปาเสมัส (หลังเก่า) ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เดือนเมษายน 2464 ได้ขยายเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายพื้นที่ และการตรวจพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการติดเชื้อภายในประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน แม้การระบาดระลอกนี้เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นและกินเวลายังไม่ถึง 1 เดือน แต่จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมของการระบาดระลอกนี้ มากกว่าการระบาดในสองรอบแรกไปแล้ว กล่าวคือการระบาดระลอก ม.ค. 2563 (ระยะเวลาประมาณ 11 เดือน) ผู้เสียชีวิตสะสม 60 ราย และระลอก ธ.ค. 2563 (ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน) มีผู้เสียชีวิตสะสม 34 รายและระลอกสามนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ซึ่ง ศบค. นับเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดระลอกใหม่ จนถึงปัจจุบัน (1 พฤษภาคม 2564) มีผู้เสียชีวิตสะสม 224 คน คิดเป็น 0.33% การระบาดที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นนั้นทำให้การรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำได้ ตลอดจน อาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและนอกจากนี้ยังมีผู้มีเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือผู้ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งความจำเป็นจะต้องกักตัวเพื่อสังเกตอาการ
ตาม พรบ.เทศบาล พศ. 2466 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50(4) บัญญัติให้เทศบาลมีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับจังหวัดนราธิวาสได้มีคำสั่งฯ ที่2146/2564 ลงวันที่ 11 เมษายน 2564 ประกาศสถานที่กักกัน (Local Quarantine) จำนวน 34 แห่ง เพื่อเป็นสถานที่กักกัน และมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564ณ ศาลากลางมีมติให้เตรียมการจัดตั้งสถานทีกักกันในระดับท้องถิ่น ตำบลและชุมชน เพื่อรองรับผู้เข้ากักกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ภายในประเทศ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเตรียมสถานที่กักกันในระดับท้องถิ่น เพื่อให้พร้อมและสามารถรองรับผู้เข้ากักกันที่เป็นคนในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นได้ทันเมื่อเกิดเหตุการณ์
สถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอำเภอสุไหงโก-ลก ตั้งแต่การระบาดในระลอกใหม่จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 1 พ.ค. 2564) มีผู้ป่วยสะสม 5 ราย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้ออยู่แล้วโดยเฉพาะอำเภอสุไหโก-ลก เป็นพื้นที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา จึงมีความเสี่ยงที่จะพบผู้ป่วยที่ลักลอบเดินทางกลับเข้ามาโดยไม่เข้าระบบการกักตัวที่รัฐจัดให้ และเข้าไปอาศัยอยู่ร่วมกับผู้อื่นในชุมชนซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อเป็นอย่างมาก
สำนักงานเทศบาลตำบลปาเสมัสเล็งเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมป้องกันโรคดังกล่าว จึงได้จัดโครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัย COVID -19 ระดับพื้นที่ (LQ) เทศบาลตำบลปาเสมัส ปี 2564 เพื่อให้พร้อมและสามารถรองรับผู้เข้ากักกันที่เป็นคนในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทันเมื่อเกิดเหตุการณ์ ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้สนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้การสนับสนุนงบประมาณกองทุนฯ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฯ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ โดยให้พิจารณาใช้อำนาจตาม ประกาศ ฉ.3(โดยประธานกองทุนฯ)เพื่อสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นตลอดจนการดำเนินการต่างๆเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ในระดับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

 

0.00
2 เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงที่เดินทางจากนอกพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงได้รับการสังเกตอาการ ตลอดจนคัดกรอง เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 )

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 24
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) และจัดหาเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine)

ชื่อกิจกรรม
การจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) และจัดหาเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิล “ศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine)” ขนาด 1.2 X 2.5 เมตร จำนวน 1 ผืนๆ ละ 750.- บาท                                เป็นเงิน      750.- บาท
  • ป้ายไวนิล “ศูนย์อำนวยการสถานที่กักกัน (Local Quarantine)” ขนาด 1 X 1.8 เมตร จำนวน
    ผืนๆ ละ  450.- บาท                                                                 เป็นเงิน      450.- บาท
  • หน้ากากอนามัย N95 จำนวน 50 ชิ้นๆ ละ 29.- บาท                          เป็นเงิน   1,450.- บาท
  • เบาะที่นอนแบบพับ 3 ขนาด 3.5 ฟุต จำนวน  6 อันๆ ละ 1,880 .- บาท  เป็นเงิน 11,280.- บาท
  • สบู่เหลวล้างมือ 3,800 มล. จำนวน 4 แกลอนๆ ละ 245.- บาท             เป็นเงิน      980.- บาท
  • ขันน้ำพลาสติก  จำนวน 8 อันๆ ละ 15.-  บาท                                  เป็นเงิน      120.- บาท
  • ไม้แขวนเสื้อ  จำนวน 8 โหลๆ ละ 35.- บาท                                     เป็นเงิน      280.- บาท
  • สบู่ก้อน จำนวน  24 ก้อนๆ ละ 10.- บาท                                        เป็นเงิน      240.- บาท
  • ยาสระผม  จำนวน 24 ขวดๆ ละ 25 .- บาท                                     เป็นเงิน      600.- บาท
  • แปรงสีฟัน จำนวน 24 หลอดๆ ละ 15.- บาท                                    เป็นเงิน      360.- บาท
  • ยาสีฟัน  จำนวน  24 ชุดๆ ละ  20.- บาท                                        เป็นเงิน      480.- บาท
  • ไฮเตอร์ ขนาด 250 มล. จำนวน 24 ขวดๆ ละ 18 .-                           เป็นเงิน      432.- บาท
  • รองเท้าแตะ จำนวน 8 คู่ๆ ละ 65.- บาท                                          เป็นเงิน      520.- บาท

รวมเป็นเงิน 17,942.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงได้รับบริการกักตัวในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ในระดับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงที่เดินทางจากนอกพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงได้รับการสังเกตอาการ ตลอดจนคัดกรองเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17942.00

กิจกรรมที่ 2 การจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ดำเนินการคัดครอง สังเกตอาการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 3 รอบละไม่เกิน 8 คน

ชื่อกิจกรรม
การจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ดำเนินการคัดครอง สังเกตอาการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 3 รอบละไม่เกิน 8 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าอาหารและน้ำดื่มสำหรับผู้ที่ได้รับการสังเกตอาการ จำนวน 24 คนๆ ละ 3 มื้อ  ชุดละ 50 บาท
   จำนวน 14 วัน                                                                      เป็นเงิน   50,400 .- บาท -  อาหารและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล วันละจำนวน 3 ผลัดๆ ละ 5 คน  ผลัดละจำนวน
   1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 42 วัน                                             เป็นเงิน   31,500.-  บาท

                   รวมเป็นเงิน  81,400.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงได้รับบริการกักตัวในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ในระดับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 2.บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงที่เดินทางจากนอกพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงได้รับการสังเกตอาการ ตลอดจนคัดกรองเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
81400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,342.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงได้รับบริการกักตัวในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ในระดับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
2. บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงที่เดินทางจากนอกพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงได้รับการสังเกตอาการ ตลอดจนคัดกรองเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


>