กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขยะในโรงเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

โรงเรียนวัดเลียบ

โรงเรียนวัดเลียบ หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สาเหตุและที่มาของขยะ! เกิดจากความมักง่ายและขาดจิตสำนึก ถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้นหรือแหล่งน้ำโดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ หรือแม้กระทั่งการซื้อของการใช้สิ่งของของนักเรียนเช่น ขนม กระดาษ แก้วน้ำ ขวดน้ำ โดยใส่ถุงพลาสติกหลายๆถุง ทำให้มีขยะเพิ่มในปริมาณมาก ในปัจจุบัน! ใครหลายๆคนอาจจะเคยชินกับการทิ้งขยะเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่ว่าจะเป็นที่สวนสาธารณะ ถนน ที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งโรงเรียน รอบๆที่ตนเองอยู่ตรงนั้น เช่น โต๊ะหินอ่อน โต๊ะนักเรียน บนพื้น ท่อระบายน้ำ หรือแม้แต่ต้นไม้ที่เป็นซอกเป็นรูก็ยังทิ้งไปได้มีแต่นักเรียนส่วนน้อยและคุณครูที่เห็นว่าการทิ้งขยะไม่ถูกที่ทำให้โรงเรียนไม่สะอาด ดูไม่งามตา และคุณครูทุกๆคน ก็สั่งสอนลูกของตนให้มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย และมีความรักษาความสะอาดอยู่แล้ว โดยการจัดกลุ่มรับผิดชอบตามจุดที่ได้รับมอบหมายทำความสะอาดทุกวันแต่เป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุและเพียงบรรเทาไม่ให้ขยะมันมากเกินไป เพราะฉะนั้นการสร้างวินัย และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องภัยร้ายที่เกิดจากขยะให้กับ นักเรียน ครูและผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองเองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งเพราะทุกฝ่ายต้องประสานความร่วมมือกันจึงจะประสบผลสำเร็จได้
โรงเรียนวัดเลียบตำบลคลองหลาอำเภอคลองหอยโข่งจังหวัดสงขลาตระหนักและเห็นปัญหาที่เกิดจากขยะจึงได้จัดทำโครงการขยะในโรงเรียน โดยใช้หลักการเกษตรอินทรีย์ที่บูรณาการกับการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนซึ่งโรงเรียนได้มีการคัดแยกขยะและจะใช้ขยะแห้งที่ย่อยสลายได้ทำปุ๋ยหมักและใช้ปุ๋ยหมักที่ได้นำมาปลูกผักและในแปลงผักส่วนขยะแห้งที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ก็นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่างๆตามสภาพของขยะแต่ละชนิดนอกจากนั้นยังใช้ขยะเปียกที่ได้จากโรงอาหารมาทำน้ำหมักชีวภาพแล้วนำน้ำหมักชีวภาพที่ได้มารดผักที่ปลูกแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อนักเรียนและยังอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากขยะและผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากพืชผักในท้องถิ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนสามารถคัดแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ Ego bit

ร้อยละ 90 นักเรียนสามารถคัดแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

50.00 90.00
2 2.เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียกในครัวเรือนและนำไปใช้ประโยชน์ได้

ร้อยละ 100 นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียกในครัวเรือนและนำไปใช้ประโยชน์ได้

40.00 100.00
3 3.เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้ในครัวเรือนและนำไปใช้ในการปลูกพืชผักได้

ร้อยละ 100 นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้ในครัวเรือนและนำไปใช้ในการปลูกพืชผักได้

65.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 72
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ Ego bit กิจกรรมที่ 2 การทำปุยหมักจากเศษขยะย่อยสลายได้ กิจกรรมที่3 การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน ประกอบด้วย - นักเรียนชั้น ป.1 จำนวน 10 คน - ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ Ego bit กิจกรรมที่ 2 การทำปุยหมักจากเศษขยะย่อยสลายได้ กิจกรรมที่3 การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน ประกอบด้วย - นักเรียนชั้น ป.1 จำนวน 10 คน - ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน  1  มื้อๆละ 50บาทจำนวน 68 คน  ( 72 x 50 )                                   เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 68 คน  (68 x 25 x 2)
                            เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน  6  ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท ( 6 x 600)  เป็นเงิน 3,600 บาท รวมค่าใช้จ่าย   10,800  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ๑. ร้อยละ 90 นักเรียนสามารถคัดแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
2. ร้อยละ 100 นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียกในครัวเรือนและนำไปใช้ประโยชน์ได้ 3. ร้อยละ 100 นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้ในครัวเรือนและนำไปใช้ในการปลูกพืชผักได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนและผู้ปกครองสามารถคัดแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
2. นักเรียนและผู้ปกครองสามารถบริหารจัดการขยะในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์โดยบูรณาการ
กับการทำเกษตรอินทรีย์ได้


>