กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยะในโรงเรียน
รหัสโครงการ 64-L5166-3-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดเลียบ
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 10,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิลาวรรณ แก่นจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายอดินันต์ ยามาสัน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สาเหตุและที่มาของขยะ! เกิดจากความมักง่ายและขาดจิตสำนึก ถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้นหรือแหล่งน้ำโดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ หรือแม้กระทั่งการซื้อของการใช้สิ่งของของนักเรียนเช่น ขนม กระดาษ แก้วน้ำ ขวดน้ำ โดยใส่ถุงพลาสติกหลายๆถุง ทำให้มีขยะเพิ่มในปริมาณมาก ในปัจจุบัน! ใครหลายๆคนอาจจะเคยชินกับการทิ้งขยะเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่ว่าจะเป็นที่สวนสาธารณะ ถนน ที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งโรงเรียน รอบๆที่ตนเองอยู่ตรงนั้น เช่น โต๊ะหินอ่อน โต๊ะนักเรียน บนพื้น ท่อระบายน้ำ หรือแม้แต่ต้นไม้ที่เป็นซอกเป็นรูก็ยังทิ้งไปได้มีแต่นักเรียนส่วนน้อยและคุณครูที่เห็นว่าการทิ้งขยะไม่ถูกที่ทำให้โรงเรียนไม่สะอาด ดูไม่งามตา และคุณครูทุกๆคน ก็สั่งสอนลูกของตนให้มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย และมีความรักษาความสะอาดอยู่แล้ว โดยการจัดกลุ่มรับผิดชอบตามจุดที่ได้รับมอบหมายทำความสะอาดทุกวันแต่เป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุและเพียงบรรเทาไม่ให้ขยะมันมากเกินไป เพราะฉะนั้นการสร้างวินัย และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องภัยร้ายที่เกิดจากขยะให้กับ นักเรียน ครูและผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองเองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งเพราะทุกฝ่ายต้องประสานความร่วมมือกันจึงจะประสบผลสำเร็จได้ โรงเรียนวัดเลียบตำบลคลองหลาอำเภอคลองหอยโข่งจังหวัดสงขลาตระหนักและเห็นปัญหาที่เกิดจากขยะจึงได้จัดทำโครงการขยะในโรงเรียน โดยใช้หลักการเกษตรอินทรีย์ที่บูรณาการกับการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนซึ่งโรงเรียนได้มีการคัดแยกขยะและจะใช้ขยะแห้งที่ย่อยสลายได้ทำปุ๋ยหมักและใช้ปุ๋ยหมักที่ได้นำมาปลูกผักและในแปลงผักส่วนขยะแห้งที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ก็นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่างๆตามสภาพของขยะแต่ละชนิดนอกจากนั้นยังใช้ขยะเปียกที่ได้จากโรงอาหารมาทำน้ำหมักชีวภาพแล้วนำน้ำหมักชีวภาพที่ได้มารดผักที่ปลูกแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อนักเรียนและยังอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากขยะและผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากพืชผักในท้องถิ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนสามารถคัดแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ Ego bit

ร้อยละ 90 นักเรียนสามารถคัดแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

50.00 90.00
2 2.เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียกในครัวเรือนและนำไปใช้ประโยชน์ได้

ร้อยละ 100 นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียกในครัวเรือนและนำไปใช้ประโยชน์ได้

40.00 100.00
3 3.เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้ในครัวเรือนและนำไปใช้ในการปลูกพืชผักได้

ร้อยละ 100 นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้ในครัวเรือนและนำไปใช้ในการปลูกพืชผักได้

65.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,800.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ Ego bit กิจกรรมที่ 2 การทำปุยหมักจากเศษขยะย่อยสลายได้ กิจกรรมที่3 การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน ประกอบด้วย - นักเรียนชั้น ป.1 จำนวน 10 คน - ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป. 0 10,800.00 -

กิจกรรม ขยะในโรงเรียน       1. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต. คลองหลา 3. ประชุมสร้างความเข้าใจและกำหนดบทบาทตลอดจนเชิญวิทยากรให้ความรู้ 4. ประสานและเตรียมการประชุม อบรมทั้งด้านกระบวนการ เอกสารและวัสดุอุปกรณ์ 5. ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองโดยแบ่งเป็น 3 ฐาน ดังนี้       ฐานที่ 1 กิจกรรมการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ Ego bit       ฐานที่ 2 การทำปุยหมักจากเศษขยะย่อยสลายได้       ฐานที่ 3 การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน 6. ลงพื้นที่บริเวณโรงเรียนเพื่อฝึกปฏิบัติจริง
7. สรุปผลการจัดกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและผู้ปกครองสามารถคัดแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
  2. นักเรียนและผู้ปกครองสามารถบริหารจัดการขยะในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์โดยบูรณาการ กับการทำเกษตรอินทรีย์ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2564 00:00 น.