กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด
ชื่อนางรอซีดาแหล่ทองคำ
เบอร์โทรศัพท์ 098-0101397
ที่อยู่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด หมู่ที่ 2ตำบลคลองขุดอำเภอเมืองสตูล
จังหวัด สตูล๙๑๐๐๐

หมู่ที่ 1,2,5,6 ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

90.00

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบ และมีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิต ประเทศไทยได้มีการระบาดของโรคนี้เป็นวงกว้างในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนมิถุนายน 2563 และเริ่มควบคุมได้ โดยไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศจนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ได้พบการระบาดระลอกใหม่ ในจังหวัดสมุทรสาคร และกระจายไปในพื้นที่หลายจังหวัด ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ Covid-19 ในประเทศไทยของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2563 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 6,020 ราย โดยพบผู้ติดเชื้อภายในประเทศ และได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างรวดเร็ว และในส่วนประชาชนผู้เดินทางกลับมาจากต่างจังหวัดตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2564 เข้ามาในพื้นที่ตำบลคลองขุด มียอดรวมสะสมจำนวน 78 ราย และมารายงานตัวเพื่อกักตัวสังเกตอาการที่บ้าน 14 วัน ( Home Quarantine ) และกักตัวครบ 14 วัน จำนวน16ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2564 ) จากสถานการณ์ข้างต้น เพื่อการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญ คือ การให้องค์ความรู้ การสร้างสภาพแวดล้อมในชุมชน การสร้างมาตรการกับร้านค้า การเว้นระยะห่างทางสังคม การสนับสนุนการกักตัว และจัดให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเข้าไปดูแลวัดอุณหภูมิและส่งเสริมการป้องกันตนเองไม่ให้สัมผัสกับโรค โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย การปฏิบัติตนเองอย่างเคร่งครัดในการป้องกันโรค การเฝ้าระวัง การคัดกรองผู้ที่มารับบริการหรือประชาชน เป็นสิ่งสำคัญรวมทั้งเน้นย้ำตามมาตรการ โดยใช้หลัก D-M-H-T-T ในการป้องกันอย่างถูกต้อง
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด จึงดำเนินการจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และอยู่บนหลักการการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งนอกจากมุ่งส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแล้ว ยังรวมถึงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

90.00 97.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ/การใช้แอปติดตาม ให้แก่อสม.ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกัน เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ/การใช้แอปติดตาม ให้แก่อสม.ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกัน เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ/การใช้แอปติดตาม ให้แก่อสม.ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกัน เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน จำนวน 4 หมู่บ้าน หมู่ 1 จำนวน  21 คน, หมู่ 2 จำนวน 31 คน, หมู่ 5 จำนวน 22 คน, หมู่ 6 จำนวน 18 คน งบประมาณ กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการดูแลกลุ่มเสี่ยง/การใช้แอปติดตาม จำนวน 4 วัน (หมู่ละ 1 วัน) เป็นเงิน 17,320 บาท 1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  92 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 4,600 บาท 1.2 ค่าอาหารกลางวัน  92 คนๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 5,520 บาท 1.3 ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 4 วัน รวมเป็นเงิน 3,600 บาท 1.4 ไวนิลความรู้ (Rool Up) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2 ชุดๆละ 1,800 บาท
เป็นเงิน 3,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 15 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีความรู้ในการป้องกัน เฝ้าระวัง และสามารถใช้แอปติดตาม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17320.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมวางแผนรณรงค์เคาะประตูบ้าน/ติดตาม ดูแล เฝ้าระวังผู้ที่เดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่ตำบลคลองขุด (หมู่ที่1,2,5,6)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนรณรงค์เคาะประตูบ้าน/ติดตาม ดูแล เฝ้าระวังผู้ที่เดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่ตำบลคลองขุด (หมู่ที่1,2,5,6)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชุมวางแผนการออกรณรงค์เฝ้าระวัง เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน จำนวน 4 หมู่บ้าน  หมู่ 1 จำนวน  21 คน หมู่ 2 จำนวน 31 คน หมู่ 5 จำนวน 22 คน หมู่ 6 จำนวน 18 คน งบประมาณ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชุมวางแผนรณรงค์เคาะประตูบ้าน/ติดตาม ดูแล เฝ้าระวังผู้ที่เดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่ตำบลคลองขุด (หมู่ที่1,2,5,6) หมู่ละ 1 วัน เป็นเงิน 21,700 บาท 2.1 ค่าอาหารอาหารว่างและ เครื่องดื่ม  92 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,300 บาท 2.2 สเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด 100 ml จำนวน 92 ขวด ๆละ 150 บาท เป็นเงิน 13,800 บาท 2.3 เอกสารแผ่นพับความรู้ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2000 แผ่นๆละ 1 บาท
เป็นเงิน   2,000   บาท
2.4 ไวนิลความรู้การป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามหลัก D-M-H-T-T ขนาด 1*3 เมตรๆละ 120 บาท จำนวน 10 แผ่นๆละ 360 บาท เป็นเงิน  3,600   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 10 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการรณรงค์เฝ้าระวัง เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน จำนวน 4 หมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21700.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมสรุปรายงานติดตามการเฝ้าระวังและสถานการณ์ ผู้ที่เดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่ตำบลคลองขุด หมู่ที่1,2,5,6

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปรายงานติดตามการเฝ้าระวังและสถานการณ์ ผู้ที่เดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่ตำบลคลองขุด หมู่ที่1,2,5,6
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชุมสรุปผลรายงานการติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และรายงานกลุ่ม SRRT เมืองสตูล เดือนละ 1 ครั้ง ( พ.ค.-ก.ย.64) หมู่ละ 1 วัน งบประมาณ กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชุมสรุปรายงานติดตามการเฝ้าระวังและสถานการณ์ ผู้ที่เดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่ตำบลคลองขุด หมู่ที่1,2,5,6  (เดือนละ 1 ครั้ง มิ.ย. – ก.ย.64 ) หมู่ละ 1 วัน เป็นเงิน 9,200 บาท 3.1 ค่าอาหารว่างและ เครื่องดื่ม 92 คนๆละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ รวมเป็นเงิน 9,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถสรุปผลรายงานการติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และรายงานกลุ่ม SRRT เมืองสตูล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9200.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมคัดกรอง เฝ้าระวัง ดูแล ติดตามสังเกตอาการ ประชาชนที่เดินทางกลับมาในพื้นที่ และมารายงานตัว ณ สถานบริการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรอง เฝ้าระวัง ดูแล ติดตามสังเกตอาการ ประชาชนที่เดินทางกลับมาในพื้นที่ และมารายงานตัว ณ สถานบริการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.มีการเฝ้าระวัง คัดกรอง ติดตามประชาชนที่เดินทางกลับมาในพื้นที่ และมารายงานตัว ณ สถานบริการ (รพ.สต.คลองขุด)   พร้อมให้คำแนะนำ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส    โคโรนา 2019 (COVID-19) 2.ติดตามผู้เดินทางเข้าพื้นที่ ต.คลองขุด (หมู่ที่1,2,5,6) สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
งบประมาณ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมคัดกรอง เฝ้าระวัง ดูแล ติดตามสังเกตอาการ ประชาชนที่เดินทางกลับมาในพื้นที่ และมารายงานตัว ณ สถานบริการ เป็นเงิน 7,884 บาท
4.1 เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด (ปลายนิ้ว)  1 เครื่องๆละ 1,694  บาท เป็นเงิน 1,694 บาท 4.2 เครื่องจ่ายแอลกอฮอล์พร้อมที่วัดวัดอุณหภูมิอินฟาเรดอัตโนมัติ (แบบขาตั้ง) 1 เครื่องๆละ 3,990 บาท เป็นเงิน 3,990 บาท
4.3 เจลล้างมือแอลกอฮอล์ ขนาด 5,000 มิลลิลิตร 1 แกลลอนๆละ 2,200 บาท เป็นเงิน 2,200
บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เดินทางกลับมาในพื้นที่ และมารายงานตัว ณ สถานบริการ (รพ.สต.คลองขุด) (หมู่ที่1,2,5,6)  คัดกรอง เฝ้าระวัง ดูแล ติดตามสังเกตอาการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7884.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,104.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่าง ๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริง กิจกรรม สถานที่และเวลา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2.ประชาชนเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) รวมถึงการมารายงานตัวเพื่อกักตัวสังเกตอาการที่บ้าน 14 วัน(Home Quarantine) ในผู้ที่เดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่ต.คลองขุด( หมู่ที่1,2,5,6)


>