กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านน่าอยู่ ผู้คนสุขภาพดี หน้าบ้านสวย หลังบ้านสวน หมู่ที่ 1,4,8,13 และ16

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 1,4,8,13 และ 16

1.นางดาราณี นาถนอม
2.นางวลีพรสุขสอนนาน
3.นางมุจรินทร์ทองโคตร
4.นางสมสุขหนวดตีบ
5.นางสาวธารวิมลพลสันต์

บ้านยางคำ หมูที่ 1 , บ้านโนนแพง หมู่ที่ 4 , บ้านโคกสำราญ หมู่ที่ 8 , บ้านคำหมูน หมู่ที่ 13 และบ้านคำเจริญ หมู่ที่ 16

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ทุกครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือน

 

500.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

500.00

เมืองน่าอยู่ ในแนวคิดขององค์การอนามัยโลก คือ
กระบวนการที่ทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสังคม
และพร้อมที่จะร่วมกันสรรค์สร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต และในขณะเดียวกัน เมืองน่าอยู่
ก็คือเมืองที่มีการสร้างสรรค์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพและสังคมอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งมีการขยายแหล่งทรัพยากรชุมชน
โดยให้ประชาชนในชุมชนนั้นมีส่วนร่วมและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต
เพื่อให้ได้ศักยภาพหรือคุณภาพของชีวิตที่ดีที่สุดการรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น
การจัดบ้านเรือนให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย การกำจัดขยะมูลฝอย การกำจัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล
จะเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคและทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรคติดต่อต่าง ๆ อีกทั้ง
การสุขาภิบาลอาหาร การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอีกด้วย การจัดการสุขาภิบาลในชุมชน
และการปรับปรุงอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชนสะอาดน่าอยู่ จะส่งผลให้การเกิดโรคระบาดต่างๆลดลงไปด้วย
โดยเฉพาะการจัดการขยะ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และสัตว์ต่างๆ
ที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อหากได้รับการจัดการที่ถูกต้อง จะทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆน้อยลง
ประกอบกับในปัจจุบันรัฐบาลภายใต้การนำของ คสช.
เน้นเรื่องการจัดการขยะซึ่งเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่ต้องช่วยกัน โดยให้ประชาชนร่วมกันคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
ตั้งแต่ในครัวเรือน เพื่อช่วยลดขยะที่เข้าสู่ระบบการกำจัด ให้น้อยลง
จากการสังเกตเห็นพฤติกรรมการทิ้งขยะและการจัดการขยะในครัวเรือนของประชาชน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยางคำ หมู่ที่ 1 ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส
จังหวัดสกลนคร จึงได้ให้ความสำคัญ ในการช่วยกันรณรงค์ทำความสะอาด จัดการขยะ เพื่อให้หมู่บ้าน
เป็นชุมชนสะอาด น่าอยู่ เพื่อป้องกันโรคติดต่อและมีการปลูกผักบริโภคเองในชุมชน ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี
ปลอดภัยจากโรค ได้อีกทางหนึ่งด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ให้ทุกครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคเอง ในครัวเรือน
  1. ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเอง
  2. ชุมชนมีการรณรงค์ทำความสะอาดทุกเดือน
  3. ชุมชนมีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน
500.00
2 ให้ชุมชนมีความน่าอยู่ สะอาด สวยงาม

ชุมชนมีความน่าอยู่ สะอาด สวยงาม จำนวน 5 ชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ปลูกผักปลอดสารพิษทุกครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
ปลูกผักปลอดสารพิษทุกครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการเพื่อจัดทำโครงการ 2. ประชุมคณะกรรมการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง 3. เขียนโครงการ และจัดเตรียมงบประมาณในการดำเนินโครงการ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และสถานที่ ขั้นดำเนินการ 5. แนะนำและขอความร่วมมือ ให้ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ 6. ชุมชนมีการรณรงค์ ทำความตามเส้นทางในหมู่บ้านและในครัวเรือน เดือนละ 1 ครั้ง 7. มีบ้านตัวอย่าง อย่างน้อย 10 หลังคาเรือนในชุมชน งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ.... จำนวน 8000 บาท/หมู่บ้าน รายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ร่วมประชุม ชี้แจงโครงการ และได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ ในการป้องกันและเลือกอาหารที่ถูกหลักสุขอนามัย จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท ต่อครั้ง จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม สำหรับผู้ที่ร่วมกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดชุมชนและคัดเลือกบ้านตัวอย่างจำนวน 10 หลังคาเรือน จำนวน 2 ครั้งๆละ 50 คนๆละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าวัสดุ 1. ป้ายไวนิล จำนวน 10 ป้ายๆละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 8,000 บาท ( แปดพันบาทถ้วน ) ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทุกครัวเรือนมีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเอง
2. ชุมชนมีการรณรงค์ทำความสะอาดทุกเดือน
3. ชุมชนมีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน


>