กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านน่าอยู่ ผู้คนสุขภาพดี หน้าบ้านสวย หลังบ้านสวน หมู่ที่ 1,4,8,13 และ16
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 1,4,8,13 และ 16
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดาราณี นาถนอม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 31 ส.ค. 2564 40,000.00
รวมงบประมาณ 40,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ทุกครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือน
500.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
500.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมืองน่าอยู่ ในแนวคิดขององค์การอนามัยโลก คือ กระบวนการที่ทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสังคม และพร้อมที่จะร่วมกันสรรค์สร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต และในขณะเดียวกัน เมืองน่าอยู่ ก็คือเมืองที่มีการสร้างสรรค์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพและสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการขยายแหล่งทรัพยากรชุมชน โดยให้ประชาชนในชุมชนนั้นมีส่วนร่วมและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เพื่อให้ได้ศักยภาพหรือคุณภาพของชีวิตที่ดีที่สุดการรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น การจัดบ้านเรือนให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย การกำจัดขยะมูลฝอย การกำจัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล จะเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคและทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรคติดต่อต่าง ๆ อีกทั้ง การสุขาภิบาลอาหาร การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอีกด้วย การจัดการสุขาภิบาลในชุมชน และการปรับปรุงอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชนสะอาดน่าอยู่ จะส่งผลให้การเกิดโรคระบาดต่างๆลดลงไปด้วย โดยเฉพาะการจัดการขยะ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และสัตว์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อหากได้รับการจัดการที่ถูกต้อง จะทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆน้อยลง ประกอบกับในปัจจุบันรัฐบาลภายใต้การนำของ คสช. เน้นเรื่องการจัดการขยะซึ่งเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่ต้องช่วยกัน โดยให้ประชาชนร่วมกันคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ตั้งแต่ในครัวเรือน เพื่อช่วยลดขยะที่เข้าสู่ระบบการกำจัด ให้น้อยลง จากการสังเกตเห็นพฤติกรรมการทิ้งขยะและการจัดการขยะในครัวเรือนของประชาชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยางคำ หมู่ที่ 1 ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จึงได้ให้ความสำคัญ ในการช่วยกันรณรงค์ทำความสะอาด จัดการขยะ เพื่อให้หมู่บ้าน เป็นชุมชนสะอาด น่าอยู่ เพื่อป้องกันโรคติดต่อและมีการปลูกผักบริโภคเองในชุมชน ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรค ได้อีกทางหนึ่งด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ให้ทุกครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคเอง ในครัวเรือน
  1. ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเอง
  2. ชุมชนมีการรณรงค์ทำความสะอาดทุกเดือน
  3. ชุมชนมีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน
500.00
2 ให้ชุมชนมีความน่าอยู่ สะอาด สวยงาม

ชุมชนมีความน่าอยู่ สะอาด สวยงาม จำนวน 5 ชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,000.00 0 0.00
24 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 ปลูกผักปลอดสารพิษทุกครัวเรือน 0 40,000.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการเพื่อจัดทำโครงการ
2. ประชุมคณะกรรมการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง
3. เขียนโครงการ และจัดเตรียมงบประมาณในการดำเนินโครงการ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และสถานที่ ขั้นดำเนินการ 5. แนะนำและขอความร่วมมือ ให้ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ
6. ชุมชนมีการรณรงค์ ทำความตามเส้นทางในหมู่บ้านและในครัวเรือน เดือนละ 1 ครั้ง
7. มีบ้านตัวอย่าง อย่างน้อย 10 หลังคาเรือนในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเอง
  2. ชุมชนมีการรณรงค์ทำความสะอาดทุกเดือน
  3. ชุมชนมีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2564 10:07 น.