กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเยาวชนรักษ์สุขภาพ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
3.
หลักการและเหตุผล

พระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในปีเด็กสากล พุทธศักราช 2522 พระราชดํารัสวา “เด็กเป็นผูที่รับชวงทุกสิ่งทุกอยางจากผูใหญ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการธํารงรักษา ความสุขสงบของประชากรโลก” จากพระราชดำรัสมองเห็นได้ว่า เด็กและเยาวชนเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อจากผู้ใหญ่ ในฐานะครู ผู้ปกครองเด็กเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ ในการปลูกฝังและเตรียมความพร้อมให้เด็กทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา เด็กและเยาวชนควรได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของตนเอง การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การเสริมสร้างสุขภาพ การออกกำลังกาย การดูแลให้ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและส่วนร่วม ตลอดจนเป็นบุคคลที่สามารถเป็นตัวอย่างมีภาวะการเป็นผู้นำในเรื่องการปฏิบัติตามสุขบัญญัติที่ดีได้ เด็กต้องได้รับการส่งเสริมการการดำเนินชีวิตและการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและถูกต้อง ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ากระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การสื่อสารและการคมนาคมตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา ซึ่งทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของเราเปลี่ยนไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สมดุล การขาดความสนใจและละเลยต่อการดูแลสุขภาพ ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) กระจายไปทั่วโลก เช่น การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย การสัมผัสเชื้อโรคร้าย ดังนั้นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการดูแลสุขภาพ โดยให้ประชาชนสามารถสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยตนเองเป็นเพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคนเริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงตาย การมีสุขภาพที่ดีย่อมก่อให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ มีประสิทธิภาพและคุณภาพงานเต็มที่ และการมีสุขภาพดีเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยประกอบกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนา ทุกคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้า ด้วยความมั่นใจ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2545) ได้กำหนดแนวการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เป็นการพัฒนาที่มีความครอบคลุมทุกมิติด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกคนทั้งในโรงเรียนและชุมชน ให้สามารถนำความรู้ และทักษะด้านสุขภาพมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสามารถตัดสินใจในการควบคุมสภาวการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะนักเรียนจะได้รับการปลูกฝังทัศนคติ ฝึกทักษะและพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสมาชิกในชุมชนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย ทำให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขสถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ส่งเสริมการมีสุขนิสัยที่ดีของเด็กวัยเรียน ฉะนั้นการสร้างตระหนักถึงความสำคัญในดูแลตามสุขบัญญัติ สุขภาพทันตของตนเอง ทักษะในการแปรงฟัน ต้องอาศัยการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมทั้งจากคณะครู ผู้ปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (วิยดา ล้อมทอง) การที่เด็กวัยเรียนในสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ตระหนักถึงเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการบริโภคอาหาร มารวมกลุ่มกัน ตั้งเป็นชมรมอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค อย.น้อย เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมนักเรียนที่เป็นอาสาสมัครในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน การรณรงค์การให้ความรู้และความเข้าใจมองเห็นความสำคัญการดูแลทันตสุขภาพที่ดี การออกกำลังกาย การรู้จักเลือกบริโภคการรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ มีส่วนให้เกิดพัฒนาการทางด้านสมอง มีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด อารมณ์แจ่มใส กระตือรือร้น ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ง่าย ผิดกับผู้ที่รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ พัฒนาการทางด้านสติปัญญาลดน้อยลง อารมณ์หดหู่ ไม่แจ่มใส จนบางครั้งอาจไม่สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข การสร้างความตระหนักถึงการดูแลสุขภาพให้แก่เด็กวัยเรียน ผู้ปกครอง ด้วยสิ่งเหล่านี้มุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนแบบองค์รวม ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ประกอบกับกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ สนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพตนเอง การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ ตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการดำรงชีวิต สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (2557) กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มคนพิการกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่
โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ในฐานะสถาบันที่พัฒนาเด็กและเยาวชนเล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557 กองทุนหลักประกันสุขภาพ ที่ต้องการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย กระบวนการเรียนรู้ ความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์ การป้องกันและลดปัญหาด้านสารเสพติด ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ฝึกอบรม ให้ความรู้ ในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพสุขบัญญัติที่ดีและพัฒนาการของเด็กวัยเรียน การปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง ความสะอาดของสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนเองได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือการส่งเสริมให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนเด็กในฐานะผู้ปกครอง เด็กและเยาวชนปฏิบัติตนเองและถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนรักษ์สุขภาพเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู เพื่อดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพของโรงเรียนด้านการจัดการสุขภาพนำมาซึ่งการผ่านการประเมินและรับรองการเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในโอกาสต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อสร้างจิตสำนึกการส่งเสริมการป้องกันโรคภัยของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2519 (โควิด-19)อย่างปลอดภัย
    ตัวชี้วัด : โรงเรียนสามารถดำเนินการส่งเสริมการป้องกันโรคภัยของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2519 (โควิด-19)ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคอย่างปลอดภัย ร้อยละ 80 ของนักเรียน ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคภัยของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2519 (โควิด-19อย่างปลอดภัย
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและป้องกันโรค ได้
    ตัวชี้วัด : นักเรียนและผู้ปกครองร้อยละ 90 มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร นักเรียนและผู้ปกครองร้อยละ 80 สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและป้องกันโรคจากสมุนไพรได้
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กวัยเรียนระดับนักเรียนประถมศึกษามีสุขภาพช่องปากที่ดีและฟันที่แข็งแรง
    ตัวชี้วัด : นักเรียนวัยเรียนระดับประถมศึกษา ร้อยละ 90 มีสุขภาพช่องปากที่ดีและฟันที่แข็งแรง
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษาที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ
    ตัวชี้วัด : นักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 80 มีภาวะโภชนาการสมส่วน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. 1 หยุดเชื้อรักษาสุขภาพ
    รายละเอียด

    1.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียน 1.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง 1.3 กิจกรรมหน้ากากหยุดเชื้อด้วยมือหนู งบประมาณ 1.ค่าอาหารเที่ยง อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองนักเรียนผู้เข้าร่วมอบรม
    ค่าอาหารเที่ยงจำนวน 57คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2850 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 57 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2850 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับนักเรียนผู้เข้าร่วมอบรม ค่าอาหารว่าง จำนวน 57 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2850 บาท 3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำหน้ากากสาธิตการทำหน้ากาก
    (ผ้ามัสลิน, ยางยืด, เข็ม-ด้าย, กรรไกร) ชุดละ 50 บาท จำนวน 57 ชุด เป็นเงิน 2850 บาท 4.ค่าตอบแทนวิทยากร
    วิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 400 บาท เป็นเงิน 1600 บาท 5.ค่าเอกสารให้ความรู้จำนวน 57 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1710 บาท ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.20×2.40ตารางเมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 432 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,242 บาท

    งบประมาณ 15,142.00 บาท
  • 2. 2.สมุนไพรลูกประคบเพื่อสุขภาพ
    รายละเอียด

    2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียน 2.2 กิจกรรมแปรรูปสมุนไพรลูกประคบ งบประมาณ
    1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับนักเรียนผู้เข้าร่วมอบรม ค่าอาหารว่าง จำนวน 45 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2250 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร วิทยากร จำนวน 2 คน จำนวนคนละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 400 บาท เป็นเงิน 1600 บาท 3.ค่าวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการสาธิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ - ชุดส่วนผสมลูกประคบสมุนไพรแบบสด เป็นเงิน 3000 บาท - ผ้าดิบบรรจุส่วนผสมสมุนไพร หลาละ 45 บาท จำนวน 10 หลา เป็นเงิน 450 บาท - ชุดผสมสูตรลูกประคบสมุนไพรแบบแห้ง เป็นเงิน 3000 บาท - ผ้าดิบบรรจุส่วนผสมสมุนไพร หลาละ 45 บาท จำนวน 10 หลาเป็นเงิน 450 บาท 4.ค่าเอกสารให้ความรู้จำนวน 45 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1350 บาท ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.20×2.40ตารางเมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 432 บาท รวมเป็นเงิน 12,532 บาท

    งบประมาณ 12,532.00 บาท
  • 3. ฟันแข็งแรงสร้างยิ้มสวย*
    รายละเอียด

    3.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียน 3.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง 3.3 กิจกรรมประกวดหนูมะพร้าวยิ้มสวย งบประมาณ 1.ค่าอาหารเที่ยง อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองนักเรียนผู้เข้าร่วมอบรม ค่าอาหารเที่ยง จำนวน 80 คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4000 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4000 บาท 2.ค่าอุปกรณ์ในการแปรงฟันสาธิตการแปรงฟัน (แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน,แก้วน้ำ) ชุดละ 60 บาท จำนวน จำนวน 102 ชุด เป็นเงิน 6120 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร วิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 400 บาท เป็นเงิน 1600 บาท 4.ค่าเอกสารให้ความรู้จำนวน 80 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 1600 บาท ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.20×2.40ตารางเมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 432 บาท
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 17,752 บาท

    งบประมาณ 17,752.00 บาท
  • 4. 4 คีตะมวยไทยสร้างสุขภาพ
    รายละเอียด

    4.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการโดยใช้โปรแกรม kiddiary 4.2 กิจกรรมอบรมแกนนำต้นแบบ งบประมาณ 1.ค่าตอบแทนวิทยากร วิทยากรจำนวน 1 คนจำนวน 4ชั่วโมง ชั่วโมงละ 400 บาทเป็นเงิน 1600 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับนักเรียนผู้เข้าร่วมอบรม ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 102 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5100 บาท รวมเป็นเงิน 6700 บาท

    งบประมาณ 6,700.00 บาท
  • 5. รายงานผลการประเมินโครงการ
    รายละเอียด

    5.1 กิจกรรมจัดซื้อกระดาษเพื่อจัดทำรายงานผลโครงการ 5.2 จัดทำรูปเล่ม รายงานผลโครงการ งบประมาณ 1.ค่ากระดาษ A4 จำนวน 2รีม ราคา รีมละ 130 บาท เป็นเงิน 260 บาท 2.จัดทำรูปเล่ม รายงานผลโครงการ จำนวน 2 เล่ม เล่มละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท
    รวมเป็นเงิน 460 บาท

    งบประมาณ 460.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 52,586.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1 : เด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษามีความรู้และได้ตระหนักถึงความสำคัญการปฏิบัติตน ด้านสุขภาพอนามัย จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2519 (โควิด-19)
2 : เด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและป้องกันโรค 3 : เด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษามีสุขภาพช่องปากที่ดีและฟันที่แข็งแรง 4 : เด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษานำเอากีฬามวยไทยมาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกายสร้างสุขภาพ เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน ให้ร่างกายแข็ง สุขภาพดีปลอดภัยจากโรคภัยต่าง ๆ

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 52,586.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................