กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรควัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร ต.ละงูอ.ละงู จ.สตูล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร ต.ละงูอ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

 

0.00

เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง สภาพอากาศแปรปรวน ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ จากพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในช่วงนี้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ซึ่งในบางพื้นที่อาจมีสภาพอากาศแปรปรวน อากาศร้อนสลับฝนตก ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน ทำให้ประชาชนอาจเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ พบผู้ป่วย ๑๐๖,๙๔๓ ราย เสียชีวิต ๓ ราย ส่วนจังหวัดที่อัตราป่วยสูงสุด ๕ อันดับแรก คือ พะเยา เชียงใหม่ หนองคาย ระยอง และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ รายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ยังพบผู้ป่วยต่ำกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลัง สำหรับในปี ๒๕๖๒ ช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม พบผู้ป่วย ๒๒๓,๒๒๘ ราย เสียชีวิต ๑๕ ราย จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในปี ๒๕๖๓ มีจำนวนผู้ป่วยลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด ๑๙ ที่มีการติดต่อในลักษณะเดียวกัน ทำให้ประชาชนดูแลตนเองและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด ๑๙ โดยการสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง แยกของใช้ และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ซึ่งมาตรการป้องกันโรคโควิด ๑๙ ดังกล่าว ยังส่งผลให้พบผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อจากการไอ จามรดกัน หรือจากการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อโรค เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู เป็นต้น สำหรับอาการของโรคจะคล้ายไข้หวัด แต่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ อ่อนเพลีย แต่สามารถหายเองได้ใน ๕-๗ วัน ดังนั้นหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน ๔๘ ชั่วโมงหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรรีบพบแพทย์ทันที อย่างไรก็ตามในประเทศไทยมีรายงานพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี โดยพบมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ให้สังเกตอาการของโรคโควิด ๑๙ หากมีอาการไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ เพราะคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งนี้ยึดหลัก “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ปิด คือ ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม โดยใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูทุกครั้ง หากเจ็บป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ ควรใส่หน้ากากอนามัย ล้าง คือ ล้างมือบ่อยๆ เมื่อสัมผัสสิ่งของ เช่น ลูกบิด ราวบนรถโดยสาร เลี่ยง คือ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือในสถานที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น และ หยุด คือเมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรม แม้ผู้ป่วยมีอาการไม่มาก ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ มากกว่าร้อยละ ๘๐ หลังการอบรม    ซักถามโดยวิธีการ การถามตอบ

0.00
2 เพื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่

กลุ่มเป้าหมายได้รับภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ ๑๐๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 490
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมย่อย ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ประจำปีและบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำนวน ๗ วัน (หมู่บ้านละ ๑ วัน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อย ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ประจำปีและบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำนวน ๗ วัน (หมู่บ้านละ ๑ วัน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ
ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x 490 คน
= 25,500 บ. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ (มื้อละ 25 บาท) (มื้อที่1 25x490 = 11,250บาท) (มื้อที่๒ 25x490 = 11,250บาท) รวม 50 บ.x 490 คน
ค่าสมนาคุณวิทยากร 400 บาท/ชม. x3 ชม./คน (1,200x7วัน) =8,400 บ. =57,400 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ มากกว่าร้อยละ ๘๐ หลังการอบรมซักถามโดยวิธีการ การถามตอบ กลุ่มเป้าหมายได้รับภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ ๑๐๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>