กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านปลอดโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลหนองแก

นายสมัยเกาะษา

ตำบลหนองแก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนทุกหมู่บ้านปลอดจากผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

 

11.00

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อสำคัญที่เป็นปัญหาของประชาชนในตำบลหนองแกทุกปี ซึ่งจะเห็นได้จากการที่มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เป็นประจำทุกปี การดำเนินงานเพื่อควบคุมป้องกันมิให้เกิดโรคนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่นงบประมาณที่จะดำเนินการความใส่ใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขความเข้มแข็งของอาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานด้านควบคุมพาหะนำโรคการให้ความสำคัญของผู้นำหมู่บ้านความร่วมมือของประชาชนในการดำเนินการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นประจำทุกสัปดาห์ เหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จปัจจัยสำคัญอีกประการที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้กิจกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จ คือการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของอสม. ในการควบคุมลูกน้ำยุงอย่างเข้มข้นกล่าวคือให้คณะกรรมการในแต่ละหมู่บ้านออกสำรวจลูกน้ำยุงในหมู่บ้านอื่นเป็นประจำทุกเดือนเพื่อยืนยันผลการปฏิบัติงานของอสม. ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้ได้เคยนำมาใช้แล้วตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบันซึ่งสามารถกระตุ้นและส่งผลให้การปฏิบัติงานของหมู่บ้านต่างๆมีความเข้มข้นจนส่งผลให้ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ในหลายๆหมู่บ้าน อีกมาตรการที่สำคัญคือการให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ทุกคนออกสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงเป็นประจำทุกเดือนตลอดโครงการก็เป็นการตรวจซ้ำเพื่อรับประกันว่าลูกน้ำยุงลายจะถูกกำจัดโดยปฏิบัติการนี้อีกครั้งซึ่งก็จะเป็นการกระตุ้นและสร้างกระแสให้ประชาชนตื่นตัวมากยิ่งขึ้นเหตุผลสำคัญอีกประการที่ทำให้การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้น มีความสำคัญต่อสุขภาพก็คือ นโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอศรีบุญเรือง ที่มีเป้าหมายให้คุณภาพชีวิตประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี และได้นำเอาตัวชี้วัดของงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก มาวัดและประเมินผลการพัฒนาตามนโยบายนี้ด้วยนั่นจึงทำให้โครงการหมู่บ้านปลอดไข้เลือดออก มีความสำคัญต่อการประเมินงานผลงานพัฒนาไปในตัว
ดังนั้น เพื่อให้งานควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกประจำปี 2564 นี้ ประสบความสำเร็จจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการตามแผนงาน กลวิธีต่างๆ ในโครงการหมู่บ้านปลอดโรคไข้เลือดออกของตำบลหนองแกเพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกหมู่บ้านในเขตตำบลหนองแก มีความปลอดภัยในชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปราศจากโรคไข้เลือดออกได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ทุกหมู่บ้านปลอดจากผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  1. การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประสบผลสำเร็จ
  2. ประชาชนตื่นตัวในการดูแลและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วม
11.00 11.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการตรวจลูกน้ำยุงลายและนับจำนวนผู้ป่วย  ทั้ง 11 หมู่บ้านในเขตตำบลหนองแก 1.  ตรวจบ้านตัวเอง   เป็นเวลา   7   เดือน  คือระหว่างเดือน   มีนาคม–กันยายน  2564 2.  ตรวจไขว้บ้านอื่นเป็นเวลา   6   เดือน  คือระหว่างเดือน   มีนาคม –สิงหาคม  2564 เกณฑ์การสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายหลังคาเรือน ก.  การตรวจลูกน้ำยุงลายโดยคณะกรรมการฯที่รับการแต่งตั้ง    โดยใช้เกณฑ์ -    สุ่มตรวจ  ไม่น้อยกว่า  30  หลังคาเรือน  สำหรับหมู่บ้านที่หลังคาเรือนไม่ถึง 100  หลังคา -    สุ่มตรวจ  ไม่น้อยกว่า  50  หลังคาเรือน  สำหรับหมู่บ้านที่หลังคาเรือนเกิน  100  หลังคา -    ผลการสุ่มสำรวจลูกน้ำยุง ให้ใช้ผลทั้งจากการสุ่มของระดับตำบลและระดับอำเภอ โดยยึด      ทั้งสองส่วนตามเจตนาที่มุ่งหวังให้ไม่มีลูกน้ำยุงเป็นสำคัญ     ข.  การตรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านตนเอง โดย อสม.     -  ให้ อสม.ทุกคน  วางแผนและร่วมกันสำรวจ/ทำลายลูกน้ำยุงลาย ทุกสัปดาห์     -  ให้ประธาน อสม. ส่งสรุปผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ทุกสิ้นเดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประสบผลสำเร็จ
  2. ประชาชนตื่นตัวในการดูแลและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
76400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 76,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประสบผลสำเร็จ
2. ประชาชนตื่นตัวในการดูแลและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วม


>